ส่งเสริมอาชีพคนพิการ สถานประกอบการทำอะไรได้อีกบ้าง?
ในปี 2565 มีการจ้างงานคนพิการทั้งสิ้น 3.2 แสนคน ในขณะที่คนพิการทั่วประเทศนั้นมีมากถึง 2.1 ล้านคน และ 8.5 แสนคนนั้นอยู่ในวัยทำงาน จากสถานการณ์ดังกล่าวพบว่า ยังมีคนพิการพร้อมทำงานอีกมาก และความเป็นไปได้ในการส่งเสริมอาชีพด้วย ‘พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550’
✅เป็นที่รู้กันว่า ในมาตรา 33 หากสถานประกอบการไม่ว่ารัฐหรือเอกชน มีพนักงาน 100 คน จะต้องจ้างงานคนพิการ 1 คน
และมีมาตรา 35 ที่เปิดทางเลือกให้สถานประกอบการส่งเสริมอาชีพคนพิการได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
ว่าแต่มาตรา 35 จะมีรูปแบบอะไรบ้างนั้น วันนี้แอดมินจะมาชวนทุกคนค้นหาคำตอบกัน ‘ด้วยการวงข้อความที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอาชีพคนพิการตามมาตรา 35’ ในตารางด้านล่างนี้ 👇
📌หากท่านใดตอบถูกครบ 5 ข้อ ลุ้นรับของรางวัล ‘ผ้าขนหนูอเนกประสงค์’ จาก สสส.จำนวน 5 รางวัล
หากดูแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มวงจากตรงไหน เรามี ‘คำใบ้’ มาให้ไว้เป็นแนวทางดังนี้
❓ข้อความที่ 1 – จัดให้มีพื้นที่ประกอบอาชีพของคนพิการ ได้รับการยกเว้นค่าเช่าและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
❓ข้อความที่ 2 – การจ้างให้รับผิดชอบงานได้ทั้งหมดตามกำหนด เช่น จ้างทำของที่ระลึกจำนวน 1,000 ชุด
❓ข้อความที่ 3 – เพิ่มความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้
❓ข้อความที่ 4 – เพิ่มเติมเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพแก่คนพิการ
❓ข้อความที่ 5 – อำนวยความสะดวกแก่คนพิการทางการได้ยิน เพื่อให้บริการด้านการสื่อความหมาย
หากพร้อม พอได้แนวทางกันแล้ว เตรียมปากกามาวงกันเลย! 🖋️⭕
📃ที่มา:
– การปฏิบัติตามกฎหมาย เรื่องการจ้างงานคนพิการ, กรมการจัดหางาน, https://bit.ly/3VBM2W1
– 108 ทางเลือก มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550, กรมการจัดหางาน
– คนพิการต้องมีงานทำ, มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม, https://www.facebook.com/konpikanthai/
#สสส #นับเราด้วยคน #Vov2 #เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน #voiceofthevoiceless #ประชากรกลุ่มเฉพาะ