ตัวช่วยการเข้าถึง

ขนาดตัวอักษร
ความตัดกันของสี
ปกติ
ขาว-ดำ
ดำ-เหลือง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภารกิจเเละยุทธศาสตร์

สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

1) ผู้สูงอายุ
                          สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานโยบาย ระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่างๆ ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ตลอดจนการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเองในเครือข่ายและผู้สูงอายุที่มีความยากลำบาก หรือมีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตเช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง ผ่านการใช้เทคโนโลยีและรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ดำเนินชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นพลังของสังคมชุมชนอย่างต่อเนื่อง


2) คนพิการ
                          สนับสนุนให้คนพิการเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพในทิศทางที่ดีขึ้น ผ่านรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับคนพิการในแต่ละประเภท โดยให้ความสำคัญกับการเสริมความเข้มแข็งของศูนย์บริการคนพิการทั่วไปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบครบวงจรสามารถให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกที่มีคุณภาพและคนพิการเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งการสานต่อกลไกการบริหารระบบการจ้างงานและสร้างโอกาสการมีงานทำที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน


3) คนไร้บ้าน
                          สนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบาย การรับรองสิทธิและแนวทางการดำเนินงานให้คนไร้บ้านสามารถเข้าถึงระบบการสนับสนุนฟื้นฟู สิทธิสุขภาพ สวัสดิการพื้นฐานของรัฐ และมีศักยภาพในการจัดการตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนในชุมชนและสังคมได้ มีความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนากลไกบนฐานชุมชนในการป้องกันความเสี่ยงจากการเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน จากการบูรณาการงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่


4) แรงงานนอกระบบ
                          ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ทั้งกลุ่มอาชีพเดิมและอาชีพรูปแบบใหม่ในพื้นที่ปฏิบัติการ โดยให้ความสำคัญกับนวัตกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านการพัฒนาความรู้และข้อมูลทางวิชาการ การพัฒนากลไกและรูปแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิต การลดความเหลื่อมล้ำเพื่อเพิ่มจำนวนการเข้าถึงบริการทางสังคมและสุขภาพของแรงงานนอกระบบ


5) กลุ่มชาติพันธุ์และประชากรข้ามชาติ
                         ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงสิทธิทางสังคมและสุขภาพ หลักประกันในการดำรงชีวิต รวมไปถึงกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นมิตร ผ่านการพัฒนาความรู้และข้อมูลทางวิชาการ การพัฒนากลไกและรูปแบบบริการสุขภาพ รวมไปถึงการผลักดันนโยบาย โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม สถาบันทางวิชาการ และกลุ่มเป้าหมายอย่างบูรณาการ และการเชื่อมโยงความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน


6) ผู้มีความหลากหลายทางเพศ
                         สนับสนุนการเข้าถึงความเป็นธรรมทางสุขภาพ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยอัตลักษณ์ทางเพศภาวะและเพศวิถี ตลอดจนปัจจัยการกดขี่ทับซ้อน ได้รับการปกป้องคุ้มครองในสิทธิทางสุขภาวะ โดยการพัฒนาชุดความรู้ งานวิชาการ กลไกและรูปแบบเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับความละเอียดอ่อนต่อความหลากหลายทางเพศ


7) ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง
                         สนับสนุนการลดความรุนแรงอันเนื่องจากเหตุแห่งเพศและความรุนแรงในครอบครัว และผลักดันประเด็นความรุนแรงเป็นประเด็นสาธารณะที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ผ่านการพัฒนาต้นแบบกระบวนการ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะผู้หญิง การพัฒนาศักยภาพแกนนำ จากฐานงานวิชาการองค์ความรู้ และการเชื่อมโยงเครือข่ายคนรุ่นใหม่ในการร่วมออกแบบนวัตกรรมการป้องกันและลดความรุนแรงในระดับต่างๆด้วย


8) ผู้ต้องขัง
                          สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังโดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาเรือนจำสุขภาวะใน 7 ด้าน ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงานและการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องถึงแนวทางที่จำเป็นและเหมาะสมในการกำหนดนโยบายและพัฒนาเรือนจำให้เป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ที่ต้องขังมีสุขภาวะที่ดี ภายใต้หลักการที่ว่า สุขภาวะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับ และผู้อยู่ในเรือนจำต้องไม่เป็น “ข้อยกเว้น” ของการมีสุขภาวะที่ดี


9) มุสลิมไทย
                          มุสลิมไทยในพื้นที่ดำเนินงานมีคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี ลดความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพและทางสังคม มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภายใต้แนวทางการดำเนินงานโดยมีศาสนาอิสลามเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนากลไกทางสังคมและสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทสังคมมุสลิมไทย

                         กลุ่มเป้าหมายที่แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะสนับสนุนการดำเนินงานจำนวน 10 กลุ่มประชากรประกอบด้วย 1) คนพิการ 2) ผู้สูงอายุ 3) คนไร้บ้าน 4) แรงงานนอกระบบ 5) กลุ่มชาติพันธุ์ 6) ประชากรข้ามชาติ 7) ผู้มีความหลากหลายทางเพศ 8) ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง 9) ผู้ต้องขัง และ 10) มุสลิมไทย

                          1. พัฒนานวัตกรรม กลไก และนโยบายสาธารณะ เพื่อการมีสุขภาวะ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ โดยสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพอย่างก้าวกระโดด และยกระดับการขยายผลต้นแบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ


                          2. สนับสนุนการเตรียมความพร้อมและปรับตัวของประชากรกลุ่มเฉพาะ ต่อผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยเสี่ยงอุบัติใหม่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชากรกลุ่มเฉพาะสามารถดำเนินชีวิต หรือได้รับการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเองได้อย่างเหมาะสม


                          3. สนับสนุนและเสริมศักยภาพการใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระดับการสร้างเสริมสุขภาพและมีสุขภาวะที่ดีของประชากรกลุ่มเฉพาะต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำจากการใช้เทคโนโลยี


                             4. พัฒนาต้นแบบและยกระดับการขยายผลการดำเนินงานในระดับพื้นที่ โดยมีพื้นที่เป้าหมายทั้งบริบทเขตเมือง และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีจุดเน้นแตกต่างกันตามความเหมาะสม และบริบทของประชากรกลุ่มเฉพาะนั้น ๆ


                             5. พัฒนาศักยภาพแกนนำประชากรกลุ่มเฉพาะ คนทำงานกับประชากรกลุ่มเฉพาะ และเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ ให้มีความสามารถจัดการตัวเอง เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ


                          6. สนับสนุนการดำเนินงานของแผนกลุ่มพื้นที่ องค์กร กลุ่มประชากร ของ สสส. ในการดำเนินการพัฒนาสุขภาวะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเขตเมืองใหญ่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ส่งเสริมความเข้มแข็งและเปิดโอกาสการเข้าถึงบริการสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ

                        ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของทุกกลุ่มประชากรเฉพาะมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไตรพลัง คือ ความรู้ นโยบาย สื่อสารและขับเคลื่อนสังคม โดยเพิ่มเรื่องการพัฒนาศักยภาพภาคีและแกนนำกลุ่มประชากรเฉพาะ เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มและการพัฒนาภาคีและองค์กรตัวแทนกลุ่มประชากรเฉพาะให้เข้มแข็ง โดยยุทธศาสตร์ 6 ข้อ ดังนี้


                       1) พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนการทำงาน เสริมสร้างสุขภาวะ และลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะ ให้เกิดความยั่งยืน ต่อเนื่อง และต่อยอดการทำงานในระยะยาวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


                       2) ออกแบบการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการมีส่วนร่วม อันนำไปสู่การปรับเจตคติของสังคมสู่สังคมที่ยอมรับความหลากหลายและให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการทางสุขภาพในระดับที่สูงขึ้น


                       3) เสริมสร้างพื้นที่หรือโมเดลต้นแบบ เพื่อการขยายผลในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น


                       4) ส่งเสริมศักยภาพของกลไกการทำงานของภาคีเครือข่าย ให้สามารถขับเคลื่อนการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น


                       5) ขับเคลื่อนนโยบายที่มีเป้าหมายในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีและลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น


                       6) สร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะให้สอดรับกับตัวชี้วัดตามห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Chain of Outcome) ของกองทุนฯ สสส.


เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า .

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า