เกี่ยวกับงาน
หลักการและเหตุผล
1) ความเสี่ยงสูง คือ ประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือเป็นด่านหน้า หรือเป็นผู้ที่สัมผัสกับสาธารณะเป็นหลัก จึงส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นจากโรคระบาด สภาวะสิ่งแวดล้อม และสุขอนามัย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพผ่านแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะในปัจจุบันจำนวน 9 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้บ้าน แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้ต้องขัง และมุสลิม ตลอดจนประเด็นร่วมเช่น ความรุนแรงบนฐานเพศ การส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชาสังคม การออกแบบเพื่อทุกคน เป็นต้น โดยมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพในประชากรกลุ่มเฉพาะอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย การพัฒนาระบบกลไกเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในประชากรกลุ่มเฉพาะ ซึ่งมีผลงานเชิงประจักษ์ในหลายประเด็นที่สามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนทำงาน จนถึงภาคีเครือข่าย องค์กรที่เกี่ยวข้องได้
วัตถุประสงค์การจัดงาน
1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสื่อสารประเด็นการดำเนินงานในแต่ละด้าน รวมถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงาน เครื่องมือ กระบวนการทำงานที่ผ่านมา ที่สะท้อนถึงพัฒนาการในการดำเนินงานในอดีต และประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. สื่อสารสังคมถึงนโยบายที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ซึ่งได้มาจากความรู้ และปฏิบัติการจริงของเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ
4. แสวงหาโอกาส และสานพลังเพื่อยกระดับการทำงานและขับเคลื่อนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ
เป้าหมาย/ความคาดหวัง
1.
พัฒนา ต่อยอดกระบวนการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ และทำให้เกิดประเด็นการทำงานร่วมที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนการรวบรวมและแลกเปลี่ยนงานวิชาการระหว่างกลุ่มตามประเด็น เพื่อให้ได้องค์ความรู้/ชุดความรู้สำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ
2.
ภาคีเครือข่ายได้รับทราบข้อมูล และสถานการณ์การดำเนินงานที่สำคัญๆ ตลอดจนทราบถึงประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นที่ควรให้ความสนใจ
3.
เกิดการเสริมพลังใจในการขับเคลื่อนงาน มีพันธมิตรที่ร่วมดำเนินงานไปด้วยกัน เห็นถึงผลสำเร็จที่เป็นที่ประจักษ์ และได้รับการยกย่องเชิดชูความสำเร็จ
4.
เกิดการวางเป้าหมายทิศทางการดำเนินงานในอนาคต ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่จะก่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนนโยบายสู่สาธารณะ และเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะในระยะต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
1) ภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ
2) ผู้แทน แกนนำกลุ่มประชากรเฉพาะต่าง ๆ
3) คณะกรรมการผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ หน่วยงานภาคธุรกิจ เป็นต้น
4) คณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เจ้าหน้าที่ สสส. และคณะทำงาน
5) สื่อมวลชน
6) ผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบการประชุม
2. ห้องประชุมย่อยตามกลุ่มประชากร และงานเชื่อมโยงระหว่างประเด็น
3. การมอบรางวัล Voice of the Voiceless Award
4. กิจกรรมและการแสดงจากภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ
5. นิทรรศการแสดงผลงาน นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ ของภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ