ตัวช่วยการเข้าถึง

ขนาดตัวอักษร
ความตัดกันของสี
ปกติ
ขาว-ดำ
ดำ-เหลือง

นิทรรศการ 9 การเปลี่ยนเเปลง

9 การเปลี่ยนเเปลง สู่การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ

การเปลี่ยนเเปลง

สู่การลดความเหลื่อมล้ำ

และสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ

ทำให้ทุกคนบนเเผ่นดินไทย มีขีดความสามารถ

สังคม สิ่งเเวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ

              คือ เป้าหมายในการทำงานตลอด 12 ปีที่ผ่านมาของสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพราะเชื่อว่าการมีสุขภาวะที่ดีทุกมิติทั้งกาย จิต ปัญญา สังคมจะเป็นพลังสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานนอกระบบ ชาติพันธุ์ ประชากรข้ามชาติ มุสลิม ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิง ผู้ต้องขัง และคนไร้บ้าน ซึ่งปลายทาง คือ 9 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับทุกกลุ่มประชากร ได้แก่
เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน

การเปลี่ยนเเปลง

สู่การลดความเหลื่อมล้ำ

และสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ

              ทั้งหมดนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการร่วมทุกข์ ร่วมสุข และร่วมสร้าง อย่างเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนนิทรรศการ 9 การเปลี่ยนแปลงต่อจากนี้ คือ การหันกลับไปมองเส้นทางที่ผ่านมา เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง เข้าใจ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และฟังทุกเสียงอย่างเคารพด้วยหัวใจ

การเปลี่ยนเเปลงที่ 1

การเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม

              แม้จะมีสิทธิบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค (ระบบหลักประกันสุขภาพ) สิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือสิทธิประกันสังคมเข้ามาดูแล ภายใต้หลักคิดว่า การเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน แต่ยังคงมีอีกหลายกลุ่มที่ยังไม่ได้รับสิทธิหรือเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว อันได้แก่ คนไทยไร้สิทธิ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แรงงานข้ามชาติและคนไร้บ้าน

กระบวนการพิสูจน์สิทธิ

กระบวนการพิสูจน์สิทธิ

สำนัก 9 จึงเข้าไปหนุนเสริมเพื่อให้ประชากรกลุ่มนี้เข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม โครงการที่ดำเนินการและมีผลสำเร็จแล้ว ได้แก่ ‘การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการพิสูจน์สิทธิด้วยการตรวจ ดีเอ็นเอ’ เพื่อให้คนไทยไร้สิทธิมีบัตรประชาชนเวลาป่วยก็เข้ารับการรักษาด้วยสิทธิขั้นพื้นฐาน


‘โครงการล่ามชุมชน’ เพื่อทำหน้าที่แปลภาษาสำหรับสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการและกลุ่มผู้ป่วยชาติพันธุ์ รวมถึงให้คำปรึกษาสิทธิและบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานเพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์รู้ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและกล้าไปโรงพยาบาลถ้าตัวเองไม่สบายควบคู่กับ โครงการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต) ที่ทำหน้าที่เดียวกันนี้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

โครงการล่ามชุมชน

โครงการล่ามชุมชน

รวมถึงผู้ต้องขังมี ‘โครงการเรือนจำสุขภาวะ’ เพื่อขับเคลื่อนเรือนจำจากการเป็น’พื้นที่ของการลงโทษ’ ไปสู่การเป็น ‘พื้นที่สุขภาวะ ซึ่งประกอบ ด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก คือ สนับสนุนให้เรือนจำเป็นพื้นที่ซึ่งผู้ต้องขังได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เข้าถึงการมีบริการสุขภาพไม่ต่างจากประชาชนทั่วไป มีพลังสร้างสรรค์ มีกำลังใจที่จะออกไปใช้ชีวิตภายนอกเมื่อพันโทษไม่กระทำผิดซ้ำ และส่วนที่สองคือการเตรียมให้ผู้พ้นโทษ ได้รับการยอมรับจากสังคมและลดอคติที่สังคมมีต่อผู้ต้องขัง

รวมถึงการทำงานกับ
LGBTIQN+ ที่มีอัตลักษณ์เชิงซ้อน (พิการทางการได้ยินแรงงานข้ามชาติ และพนักงานบริการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ) และ sex worker ให้เข้าถึงบริการสุขภาพโดยคลินิกที่ดูแลและบริการอย่างเพื่อนที่เข้าใจเพื่อนโดยกลุ่ม SWING กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ควรมีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังเพราะต่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และโอกาสเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเข้าถึง

LGBTIQN+

โครงการล่ามชุมชน

การเปลี่ยนเเปลงที่ 2

การสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต

‘ความมั่นคงในการดำรงชีวิต’
คือ สิ่งที่ทุกคนพยายามไขว่คว้า เพราะมันไม่ใช่แค่ความรู้สึก แต่หมายถึง ปัจจัยพื้นฐานที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ในการดำรงชีวิต รวมถึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพด้วย หากต้องการความมั่นคงทางรายได้ เราก็ต้องมีอาชีพที่เป็นหลักเป็นฐาน หากต้องการความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย เราก็จะพยายามหาที่พักอาศัยเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าก็ตาม แต่สำหรับบางคน ความมั่นคงต่าง ๆ เป็นความฝันและต้องใช้ความพยายามที่มากกว่าคนอื่น เพราะถูกสังคมมองข้ามไป

การจ้างงานเชิงสังคม

การจ้างงานเชิงสังคม

โครงการบ้านคนละครึ่ง

โครงการบ้านคนละครึ่ง

สำนัก 9 จึงขับเคลื่อนงานเพื่อสนับสนุนให้ทุกคนเข้าถึง ‘หลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต’ ซึ่งจะช่วยให้เขามีความมั่นใจและวางแผนชีวิตตนเองในอนาคตได้ ทั้งเรื่องการจ้างงานเชิงสังคม โดยมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมที่ช่วยสร้างโอกาสให้คนพิการได้แสดงศักยภาพ เรียนรู้ และมีรายได้ของตัวเองเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างยั่งยืน อีกทั้งร่วมพัฒนาโครงการบ้านคนละครึ่ง โดยชวนคนไร้บ้านมาแชร์ค่าห้องพัก ออมเงิน และหางานเพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่มีที่พักอาศัยชัดเจนไม่ใช่คนที่สังคมมองว่าไม่น่าเชื่อถือและสนับสนุน ให้เกิดโครงการ ‘วัยนี้วัยดี’ เปิดพื้นที่ให้ผู้สูงวัยมาเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการจากสิ่งที่สนใจและสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้

เมื่อมีความมั่นคงในชีวิต เราจะใช้ชีวิตอย่างอิสระ มั่นใจ และกล้าเดินหน้าต่อในชีวิตที่ไม่แน่นอน และเต็มไปด้วย ความเสี่ยงต่าง ๆ รอบด้านด้วยตัวเขาเอง

"บางคนไม่มีงาน พอได้ทำงาน เขาอยากบอก สำหรับคนอื่นอาจดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับคนไร้บ้าน มันเป็นสิ่งที่พวกเขาภูมิใจและอยากบอกใครสักคน"

แทน (นามสมมติ)
แกนนำคนไร้บ้านโครงการบ้านคนละครึ่ง

การเปลี่ยนเเปลงที่ 3

การจัดสวัสดิการถ้วนหน้า

สวัสดิการขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรได้รับแต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงและขาดการคุ้มครอง ทำให้พวกเขาต้องแบกรับความเสี่ยงจากการทำงานและใช้ชีวิต
ประชาชนจำนวนมากยังต้องพิสูจน์สถานะทางเศรษฐกิจเพื่อให้ได้รับสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐ กลุ่มแรงงานนอกระบบยังต้องทำงานมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง หรือแรงงานข้ามชาติยังไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้ รวมถึงคนไทยไร้สิทธิที่ต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีสำหรับการพิสูจน์สถานะของตนเอง และตลอดเวลาที่ผ่านมาต้องถูกจำกัดพื้นที่การใช้ชีวิตไว้เพียงอำเภอที่อาศัยอยู่

เเรงงานข้ามชาติ

สำนัก 9 จึงเข้ามาสนับสนุนการจัดทำ ข้อเสนอนโยบายสวัสดิการสังคมและสุขภาวะ “รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าจากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”เพื่อให้สวัสดิการขั้นฟื้นฐานเป็นสิทธิของทุกคนอีกทั้งข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและปฏิบัติการ ให้เกิดการคุ้มครองกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้รับการคุ้มครอง ผลักดันให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงหลักประกันสุขภาพและการคุ้มครองทางสังคม รวมถึงข้อเสนอเชิงนโยบายต่อคุณภาพชีวิตของคนทำงานแพลตฟอร์ม ยื่นข้อเสนอเพื่อให้แรงงานนอกระบบได้รับสวัสดิการที่เป็นธรรม และร่วมขับเคลื่อนการพิสูจน์ตัวดนของคนไทยไร้สิทธิ์เพื่อให้มีชีวิตอย่างอิสระเพื่อให้ข้อเสนอต่าง ๆ เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำควบคู่ไปกับการทำงานเชิงข้อมูลเพื่อให้สังคมมองเห็นปัญหาร่วมกันและได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเป็นธรรมและได้รับสวัสดิการอย่างเท่าเทียม

เเรงงานข้ามชาติ

เเรงงานข้ามชาติ

การเปลี่ยนเเปลงที่ 4

การเตรียมความพร้อมสังคมสูงวัย

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยเเละกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ปี 2564 ประเทศไทยมีประชากรวัยเด็ก(0-14 ปี) 10.4 ล้านคน หรือร้อยละ 15.8 และมีผู้สูงอายุ 13.4 ล้านคน หรือร้อยละ 19.6 ของประชากรทั้งหมด ขณะเดียวกัน และอัตราการเกิดก็น้อยลง ซึ่งสะท้อนว่าบ้านหนึ่งหลังจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น เพราะวันหนึ่งญาติผู้ใหญ่ในบ้านก็จะกลายเป็นผู้สูงอายุ และเด็กที่กำลังจะเติบโตก็จะเป็นคนแบกภาระดูแล รวมถึงเป็นเสาหลักของครอบครัวในอนาคต ซึ่งอาจมากกว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่วันนี้กำลังแบกรับไว้ แต่ภาระนี้จะเบาลงได้ หากคนทุกวัยเตรียมพร้อมไปทุกด้าน

 


สำนัก 9 จึงเข้ามาสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบรองรับสังคมสูงวัย การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุใน 4 มิติ ได้แก่ สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ผ่านโครงการต่างๆ จำนวนมาก รวมถึงโครงการเราต่างเหมือนกัน เปิดพื้นที่ให้คนต่างวัยได้คุยกัน

โครงการเราต่างเหมือนกัน

โครงการเราต่างเหมือนกัน

ขับเคลื่อนสังคมสูงวัยระดับพื้นที่

ขับเคลื่อนสังคมสูงวัยระดับพื้นที่

งานที่เราทำ ไม่ใช่การทำงานกับ
ผู้สูงอายุเพียงกลุ่มเดียว
แต่ทำงานกับกลุ่มเยาวชนและ
วัยทำงานในการเตรียมพร้อมที่จะเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพให้
ผู้สูงอายุพึ่งตัวเองให้ได้นานที่สุด

กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
ผู้จัดการสำนักประสานนโยบาย
รองรับสังคมสูงวัย (สปสว.)

การเปลี่ยนเเปลงที่ 5

การออกเเบบเพื่อคนทุกคน (Universal Design)

บ้าน เมือง และระบบขนส่งสาธารณะ คือ พื้นที่ที่ทุกคนต่างต้องใช้ชีวิตร่วมกัน แต่หลายครั้ง พื้นที่เหล่านื้อาจไม่เอื้อต่อการใช้งานของประชากรบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ หรือคนพิการพวกเขาจึงมีอุปสรรคในการเข้าถึงหรือถูกกีดกันออกไป ‘การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design)’ หลักคิดของการออกแบบและปรับสภาพแวดล้อมที่คำนึงความเหมาะสม ความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกของทุกคน จึงถูกนำมาใช้ในโครงการต่างๆ เช่น โครงการขนส่งมวลชนทุกคนขึ้นได้ T4A การเดินทางไร้รอยต่อ ล้อ ราง เรือ, โครงการการจัดการและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเมืองเก่าที่เอื้ออต่อการเข้าถึงโดยทุกคน จ.สกลนคร ที่ผู้คนในชุมชนร่วมกันออกแบบ และทดลองใช้ จนเกิดเป็นเมืองสามารถเดินและทำกิจกรรมร่วมกันได้ โครงการประชาคมบางกะปิร่วมพื้นฟูกรุงเทพมหานคร ที่ปรับพื้นที่ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งให้คนพิการสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โครงการการปรับสภาพบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการและผู้สูงอายุ จ.ร้อยเอ็ด จ.ขอนแก่น จ.มหาสารคาม และจ.กาฬสินธุ์. เพื่อให้คนพิการสามารถพื้นฟูสมรรถนะร่างกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน(Universal Design Center: UDC) 12 มหาวิทยาลัย ที่เชื่อมต่อเครือข่ายของภาควิชาการ สถาปนิก ท้องถิ่น ที่สนใจด้าน Universal Design เพื่อส่งเสริมการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทุกคน ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
โครงการการปรับสภาพบ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการเเละผู้สูงอายุ

โครงการการปรับสภาพบ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตผู้พิการเเละผู้สูงอายุ

โครงการการจัดการเเละปรับปรุงสภาพเเวดล้อมในเมืองเก่า

โครงการการจัดการเเละปรับปรุงสภาพเเวดล้อมในเมืองเก่า

Universal Design
คือ การออกแบบสำหรับทุกคนให้เข้าใจ และคำนึงถึงข้อจำกัดของคนที่หลากหลาย เป็นการทำให้กลุ่มคนที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ
โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ มีศักดิ์ศรีในการดำรงชีวิต สามารถใช้ชีวิตภายในบ้าน และออกเดินทางได้ด้วยตัวเอง

ภรณี ภู่ประเสริฐ
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะ
ประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส.

การเปลี่ยนเเปลงที่ 6

การลดความรุนเเรงบนฐานเพศ

1.6 คนต่อชั่วโมง
คือ ตัวเลขของผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง มารับบริการศูนย์พึ่งได้และโรงพยาบาลตลอด 14 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนคนที่ถูกใช้ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ


ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้ กองบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 – 2563

 

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ เป็นหนึ่งสาเหตุที่กระทบกับการมีสุขภาวะที่ดีของผู้หญิง ทำให้สำนัก 9 สนับสนุนการทำงานของแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ และภาคีเครื่อข่าย เพื่อให้ผู้หญิงทุกคนมีสุขภาวะที่ดี เริ่มจากสิทธิขั้นพื้นฐานทางสุขภาพในมิติต่างๆ เช่น สิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ สิทธิในการปกป้องคุ้มครองตัวเองให้รอดพ้นจากความรุนแรง เป็นต้น

โครงการปักหมุด จุดเผือก

โครงการปักหมุด จุดเผือก

เป้าหมายในการทำงานนี้ นอกจากผู้หญิงทุกคนมีสุขภาวะที่ถื คือสร้างสังคมที่ไม่เพิกเฉยต่อเหตุการณ์ความรุนแรง


ตัวอย่างการทำงาน เช่น การลงไปทำงานกับชุมชพ ผ่านโครงการพัฒนาแกนนำและกลไกชุมชนเพื่อป้องกันและช่วยเหลือผู้หญิงและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว โดย รศ.ดร.สุขาดา ทวีสิทธิ์ แก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศและในครอบครัวที่หญิงมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มักประสบพบเจอ โดยไปทำงานกับแกนนำชุมชนและอาสาสมัครที่สนใจ ตั้งทีมงานสำรวจวางแผนป้องกัน และรับมือกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง


งานรณรงค์สื่อสารกับสังคมให้เข้าใจปัญหาการคุกคามทางเพศ ผ่านโครงการปักหมุด จุดเผือก โดย เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง เพื่อแก้ไขปัญหาการคุกคามในพื้นที่สาธารณะ โดยชวนประชาชนที่สนใจมาร่วมเป็น ‘ทีมเผือก’ ปักหมุดจุดเสี่ยงในพื้นที่กรุงเทพฯ และการเพิ่มช่องทางออนไลน์ให้สามารถระบายแลกเปลี่ยน ได้อย่างปลอดภัย

โครงการเเกนนำ เเละกลไกชุมชน เพื่อป้องกันเเละช่วยเหลือผู้หญิงเเละผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนเเรงในครอบครัว

โครงการเเกนนำเเละกลไกชุมชน เพื่อป้องกันเเละช่วยเหลือผู้หญิง
เเละผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนเเรงในครอบครัว

การเปลี่ยนเเปลงที่ 7

การมีส่วนร่วมของชุมชน

ชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุในสังคมไทยยังถูกดีกรอบด้วยทัศนคติบางอย่าง เช่น ควรอยู่แต่ในบ้าน ออกมานอกบ้านมันลำบาก แต่ทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้ใช้ชีวิต แบบที่ตัวเองต้องการ และความแตกต่างไม่ควรเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต เป็นที่มาของการทำงานโดยสำนัก 9 เพื่อสนับสนุนให้คุณภาพชีวิตของคนพิการ ผู้สูงอายุ และคนชายขอบกลุ่มอื่น ๆ ดีขึ้นไปด้วยกัน

 

‘การสนับสนุน’ นี้ไม่ได้แปลว่าช่วยเหลือ หรือสงเคราะห์ หากเป็นการใช้ ‘ชุมชน’ ให้เป็นคนสร้าง ‘สังคม’ ที่โอบรับวิถีชีวิตและความแตกต่างของทุกคน บนแนวคิด ‘การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน’ หรือ CBID (Community-based Inclusive Development)

หน้าตาของสังคมที่ดำเนินงานตามแนวคิด CBID คือ การที่ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใคร มีสภาพร่างกาย อายุ หรือฐานะเป็นแบบไหน ก็สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองอย่างมีศักดิ์ศรี ได้รับการมองเห็น เป็นสมาชิกคนหนึ่งที่อยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ อย่างมีความหมาย

ตำบลชมภู จังหวัดเชียงใหม่

เราเชื่อในเรื่องการให้อิสระในการใช้ชีวิตของคนคนหนึ่งต้องเริ่มที่ทำให้จุดเริ่มต้นทุกคนเท่ากันก่อน

เช่น เด็กตาบอด เราจะต้องหาวิธีการยังไงก็ได้ที่ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ได้อาจจะไม่ต้องเหมือนคนอื่น เเต่ทำให้เด็กคนนี้สามารถสอบได้เท่ากับเด็กอีก 30 คน หรือโตไปเขาสามารถเป็นยูทูบเบอร์ทำงานที่ประสบความสำเร็จได้

รศ.ดร.พญ.ศิรินาถ ตงศิริ
รองคณบดีฝ่ายวิจัยเเละประกันคุณภาพการศึกษา
คณะเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ตำบลชมภู จังหวัดเชียงใหม่

ตำบลชมภู จังหวัดเชียงใหม่

ปัจจุบันแนวคิด CBID ถูกทำให้เห็นเป็นตัวอย่างใน 5 พื้นที่ ได้แก่

การเปลี่ยนเเปลงที่ 8

การเสริมพลังประชากรกลุ่มเฉพาะ

การเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยลำพัง
การที่ประชากรกลุ่มเฉพาะ ถูกสังคมและสภาพแวดล้อมกีดกันและตีตรา ทำให้หลายครั้งที่พวกเขาลุกขึ้นสู้จึงถูกแรงต้านของสังคมสู้กลับ เครื่องมือเพื่อ ‘เสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)’เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มประชากรเฉพาะในการจัดการกับปัญหาที่ตนกำลังเผชิญ จึงถูกนำมาใช้โดยสำนัก 9

 

จึงเกิดเป็น โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำและหนุนเสริมปฏิบัติการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (นธส.) เพื่อจัดกระบวนการให้ประชากรกลุ่มเฉพะได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในด้านที่ตนเองสนใจโดยให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายของแต่ละกลุ่มประชากร

 

หลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ (นสส.) ซึ่งจัดให้คนทำงานด้านคนพิการได้เรียนรู้ความพิการผ่านสุนทรียสนทนา และจำลองความพิการ โครงการโรงเรียนผู้นำสุขภาวะมุสลิมไทย ที่สร้างแกนนำในการพัฒนาสุขภาวะของชุมชนผ่านอัตลักษณ์มุสลิม และโครงการหลักสูตรฐานคิดสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ซึ่งช่วยเสริมพลังให้ชุมชนเรียนรู้ เฝ้าระวัง และช่วยเหลือผู้ประสบกับความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศด้วยตัวเอง

โครงการสุนทรียสนทนา

โครงการสุนทรียสนทนา

โครงการ นธส.

โครงการ นธส.

Empowerment
ไม่ใช่แค่การทำงานเชิงปัจเจก
แต่มันพูดเรื่องวัฒนธรรมที่ทำให้เขารู้สึกตัวเล็ก จึงต้องเน้นสร้างการปรับเปลี่ยนเชิงความคิด ของสังคม
การทำให้คนหนึ่งคนมีคุณค่าและปลอดภัย ในสังคม สังคมต้องมีพื้นที่ให้คนทุกกลุ่ม ได้ดำรงชีวิต และฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้เท่าเทียมกับคนอื่น ด้วยนโยบายที่รองรับ และสิทธิต่างๆ

ชีวิน อริยสุนทร
ผู้ดูเเลโครงการ นธส.

การเปลี่ยนเเปลงที่ 9

การสานพลังภาคประชาสังคม

                        การที่สังคมจะพัฒนาหรือคุณภาพชีวิตของพลเมืองจะดีขึ้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาครัฐเท่านั้น เเต่หมายถึง “ประชาชน” รวมถึงภาคประชาสังคมในฐานะ “อำนาจที่สาม” ด้วยภายใต้ความเชื่อว่า ทุกคนมีอำนาจเเละศักยภาพที่จะทำงานขับเคลื่อนสังคมเเละพัฒนาความเป็นอยู่ของทุกคน สำนัก 9 จึงสนับสนุนให้เกิดการ “สานพลังภาคประชาสังคม” ผ่านการทำงาน 4 รูปเเบบ ดังนี้

เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเฉพาะ

การพัฒนาศักยภาพ
ของคนทำงาน
ภาคประชาสังคม

เครือข่ายภาคประชาสังคมกับการขับเคลื่อนสวัสดิการ
ถ้วนหน้า

การสร้างระบบ
เพื่อเสริมความเข้มเเข็ง
ของภาคประชาสังคม

เป้าหมายในการทำงานสนับสนุนการเกิดขบวนของภาคประชาสังคมโดยสำนัก 9 เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของประชาชนในการร่วมกลุ่มทำงานพัฒนาสังคม และให้เกิดความยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐต่อภาคประชาสังคมอย่างเป็นระบบมากขึ้น ชวนพวกเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานพัฒนาประเทศ
ตัวอย่างผลงานจากการทำงนสานพลังภาคประชาสังคมที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม คือ การจ้างงานคนพิการ โดย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นภาคประชาสังคมที่สำนัก 9 ให้การสนับสนุน มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพิ่มมากขึ้นผ่านการตั้งคณะทำงานร่วมกับภาครัฐ

สสส. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมให้เป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศร่วมกับภาครัฐ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวทาง
SDGs (Social Development Goals)
ของสหประชาชาติ


ภรณี ภู่ประเสริฐ
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

บอกเราหน่อย

คุณรู้สึกอย่างไรหลังได้ร่วมงาน…
เราอยากฟังเสียงของคุณ

ฟังเสียง

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า .

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า