VOV AWARD
ขอเชิญชวนบุคคลหรือองค์กรที่ขับเคลื่อน
ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ
สมัครเพื่อรับรางวัล VOV AWARD
รับสมัครตั้งเเต่วันนี้ ถึง 21 พฤศจิกายน 2565
คุณสมบัติ เเละเกณฑ์การคัดเลือก
รางวัลบุคคลขวัญใจประชากรกลุ่มเฉพาะ
รางวัลองค์กรขวัญใจประชากรกลุ่มเฉพาะ
รางวัลบุคคลกลุ่มเฉพาะต้นแบบ
รางวัลบุคคลขวัญใจประชากรกลุ่มเฉพาะ
คุณสมบัติ
- เป็นบุคคลที่ทำงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ (เจ้าหน้าที่สังกัดองค์กร/บุคลากรอิสระ)
- เป็นบุคคลที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (ด้านสังคมและสุขภาพ) มีจิตสาธารณะ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ของงานที่รับผิดชอบ
- มีผลงานดีเด่นเป็นรูปธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชากรกลุ่มเฉพาะ
- มีผลงานที่เกิดจากการทำงานร่วมกับเครือข่าย ได้แก่ ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาสังคม เอกชน สถาบันการศึกษา และชุมชน เป็นต้น
- มีความมุ่งมั่นหรือความทุ่มเทในการทำงาน ถึงแม้ว่าต้องเผชิญกับความเสี่ยง และความยากลำบาก และมีแผนการพัฒนางานให้เกิดความยั่งยืน
- มีความคิดสร้างสรรค์หรือพัฒนานวัตกรรม มีกระบวนการทำงานที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการทำงานลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต นอกเหนือ ภาระงานปกติ
- สามารถนำผลงาน ความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม มาขยายผลการดำเนินงาน ในระดับปฏิบัติการหรือระดับนโยบายและกฎหมายได้
- มีระยะเวลาทำงานร่วมกับภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาสังคม เอกชน สถาบันการศึกษา หรือชุมชน มากกว่า 2 ปีขึ้นไป (นับย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2565)
- ข้อมูลทั่วไป
- ประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
- ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
- ผู้รับรอง
- โล่ประกาศเกียรติคุณ จำนวน 10 รางวัล ในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ “Voice of the voiceless: the vulnerable populations” ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
- ประชากรกลุ่มเฉพาะ หมายถึง ประชากรบางกลุ่มที่มีทั้งความเปราะบาง (Vulnerability)
มีความเสี่ยง (Risk) หรือต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ
สุขภาวะ อันถือเป็นปัจจัยส่งผ่านสังคมกำหนดสุขภาพ (Intermediary Determinants)
ที่ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงบริการ และไม่ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมสุขภาพตามนโยบายในภาพรวม แบ่งเป็น 10 กลุ่มประชากร ดังนี้
- ผู้สูงอายุ
- คนพิการ
- กลุ่มชาติพันธุ์ (ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ไทยพลัดถิ่น ไร้รัฐไร้สัญชาติ)
- ประชากรข้ามชาติ
- แรงงานนอกระบบ
- คนไร้บ้าน
- ผู้ต้องขัง
- ผู้หญิง
- ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
- มุสลิมไทย
- ภารกิจของแผนสน. 9
- ความเป็นธรรมทางสุขภาพ หมายถึง ความเสมอภาค เท่าเทียมด้านสิทธิและโอกาส ที่จะเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดีตามความจาเป็นทางสุขภาพ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากความแตกต่างของลักษณะประชากร อาทิ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดระบบสุขภาพและบูรณาการแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับในระดับสากล
- ความเป็นธรรมทางสังคม หมายถึง ความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคมที่มนุษย์ พึงได้รับตามมาตรฐานทางสากล และหลักมนุษยธรรม โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ มีความเสมอภาค เท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิ โอกาส และทรัพยากรต่าง ๆ ที่พึงได้รับ การปฏิบัติจากรัฐ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมเพื่อสร้างโอกาสในการมีสุขภาวะที่ดี
- ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ หมายถึง ความแตกต่างระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ ด้านสถานะสุขภาพ เช่น อายุคาดเฉลี่ย อัตราการเจ็บป่วย ภาระโรค ความเหลื่อมลาทางสุขภาพอาจมิได้เกิดจากความไม่เป็นธรรมทางสังคมและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพเสมอไป อาจมีปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้อง เช่น เพศ อายุ พันธุกรรม ซึ่งมีผลให้คนกลุ่มต่าง ๆ มีสถานะสุขภาพแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี แนวคิดเรื่อง SDH ชี ว่าความไม่เป็นธรรม ทางสังคมเป็นสาเหตุหลักของความความเหลื่อมลาทางสุขภาพในประเทศต่าง ๆ
- ความเหลื่อมล้ำทางสังคม หมายถึง ความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เช่น ความเหลื่อมลาทางรายได้ ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน ความเหลื่อมล้ำในด้านผลสัมฤทธิ์การศึกษา ความเหลื่อมล้ำด้านความเสี่ยงต่อภัยพิบัติความเหลื่อมล้ำทางสังคมอาจมิได้เกิดจากความไม่เป็นธรรมทางสังคมเสมอไป อาจมีปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้อง แต่สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงส่วนใหญ่มักมีสาเหตุสำคัญมาจากความเป็นธรรมทางสังคมในทางกลับกัน สังคมที่มีพื้นฐานความไม่เป็นธรรมในบางเรื่องสูง แต่มีนโยบายและมาตรการป้องกันมิให้ส่งผลกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในเรื่องอื่น ๆ ก็อาจทำให้เป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำได้
- นวัตกรรมสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ หมายถึง รูปแบบ วิธีการทำงานใหม่ การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางสังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากวิธีคิดใหม่ หรืออาจใหม่จากการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยมีโดยที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสถานะของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถนำไปใช้ขยายผลได้กว้างขวาง
- ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) หมายถึง การที่บุคคลมีความสามารถ ในการเข้าถึงข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย มีความเข้าใจในเนื้อหา ต่าง ๆ สามารถประเมินความน่าเชื่อถือและความเหมาะสมของเนื้อหากับตนเอง ใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลในการให้ความสำคัญกับข่าวสารความรู้นั้น ๆ ตลอดจนนำไปสู่การตัดสินใจนามาลองปฏิบัติและประเมินผลการทดลองจนสามารถเกิดการใช้ในชีวิตประจาวันได้
- บริการสุขภาพที่เป็นธรรม หมายถึง การจัดบริการด้านสุขภาพคำนึงถึงความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติจากความแตกต่างของเพศ เพศภาวะ สังคม และวัฒนธรรม เอื้อต่อการเข้าถึง และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
- ผู้นำการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ประชากรกลุ่มเฉพาะ หรือคนทางานเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะที่สร้าง ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ระดับ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงในตนเอง (Self-transformation) การเปลี่ยนแปลงองค์กรและชุมชน (Organization and Community Transformation) และการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social transformation) โดยผู้นาการเปลี่ยนแปลงจะมีคุณลักษณะสำคัญ ได้แก่ มีความสามารถสร้างความสมดุลในชีวิตและการทางาน มีความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ เข้าใจภาวะการนำร่วม และสามารถทางานแบบใช้อำนาจร่วม ให้ความสำคัญของการทางานที่เป็นเครือข่ายและการทางานขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
- สุขภาวะของคนพิการ หมายถึง สุขภาวะหรือสุขภาพที่เหมาะสมในการดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุข แบ่งเป็น 1) ทางกาย คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีระดับสมรรถนะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เต็มตามศักยภาพ ไม่เกิดโรคเพิ่มจากการทำงาน มีการตรวจสุขภาพประจาปี ลดปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย ได้แก่ บุหรี่ เหล้า เพิ่มกิจกรรมทางกาย เลือกรับประทานอาหารที่ไม่เป็นโทษต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 2) ทางสังคม คือ สามารถพึ่งพาตนเองได้(อาจต้องใช้อุปกรณ์หรือผู้ช่วยตามความเหมาะสม) และมีส่วนร่วมในชุมชน 3) ทางเศรษฐกิจ คือ การมีงานทำและมีรายได้ต่อเนื่อง สามารถลด/ปลดหนี้ได้ 4) ทางปัญญา คือ การเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง มีความสุขและภาคภูมิใจในตนเอง
- เรือนจำสุขภาวะ หมายถึง เรือนจำซึ่งมีสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ สังคม และวัฒนธรรมที่ผู้ต้องขังได้รับการปฏิบัติที่เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีองค์ประกอบอย่างน้อย 7 ด้าน ดังนี้ (1) ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ต้องขัง (Self-care) (2) ลดความเสี่ยงของโรคที่มักมีในเรือนจำ (3) เข้าถึงการบริการสุขภาพ (สุขภาพกาย สุขภาพจิต และทันตสุขภาพ) (4) ผู้ต้องขังมีพลังชีวิต คิดบวก และมีกาลังใจ(5) มีระบบความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและเอื้ออาทร (6) ผู้ต้องขังสามารถธำรงบทบาทของการเป็นแม่/ พ่อ/ ลูก/ และสมาชิกของครอบครัว และ (7) ผู้ต้องขังมีโอกาสสร้างที่ยืนในสังคม
- เพศภาวะ หมายถึง สิ่งที่ถูกประกอบสร้างทางวัฒนธรรมเพื่อกำหนดบทบาท พฤติกรรม การกระทำ และอัตลักษณ์พื้นฐานที่บ่งบอกถึงความเป็นหญิง ความเป็นชาย และความเป็นเพศอื่น ๆ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศที่ถูกกำหนดและควบคุมด้วยเงื่อนไขของบริบทสังคมวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ
- การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) หมายถึง การออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ บริการสาธารณะ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีความสามารถในการใช้ชีวิตประจาวันแตกต่างจากบุคคลทั่วไปด้วยข้อจำกัดทางร่างกาย
- กลไก หมายถึง คณะทำงาน คณะกรรมการ คณะทำงาน อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลอดจนกระบวนการ หรือเครื่องมือ ที่ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนทำงานของภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ ลดความเหลื่อมล้ำ และลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะ
- 9 การเปลี่ยนแปลงสู่การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ
- การเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม (เกิดการพัฒนาระบบ กลไกการเข้าถึง และบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ เหมาะสมกับบริบทสังคม วัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และเอื้อต่อการมีสุขภาวะสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ)
- การจัดสวัสดิการสังคมแบบถ้วนหน้า (เกิดการจัดสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมทุกคน และเอื้อต่อการดำเนินชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น บำนาญภาคประชาชน เงินเลี้ยงดูเด็ก)
- การเสริมพลังอำนาจของประชากรกลุ่มเฉพาะ (ประชากรกลุ่มเฉพาะได้รับการพัฒนาศักยภาพและเห็นความสำคัญของตัวตน ในการร่วมขับเคลื่อน เรียกร้อง พิทักษ์สิทธิของตนเอง นำไปสู่การเข้าถึงสิทธิและบริการที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม)
- เสริมพลังเครือข่ายภาคประชาสังคม (เกิดการรวมพลังและสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ในประเด็นที่หลากหลายภายใต้แนวคิดและกระบวนการที่เป็นทิศทางเดียวกันได้อย่างมีพลัง)
- การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟู (CBR : Community base rehabitation) (เกิดการฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งของประชากรกลุ่มเฉพาะในการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหา และดูแลประชากรกลุ่มเฉพาะในพื้นที่อย่างเหมาะสม)
- การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต (เกิดการส่งเสริม สนับสนุนศักยภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ เพื่อการดำเนินชีวิต เช่น การสร้างอาชีพสำหรับคนพิการ คนไร้บ้านให้มีงานทำ มีรายได้ การวางแผนการเงิน ส่งเสริมการออม และลดปัญหาหนี้สิน)
- การลดความรุนแรง (เกิดเครือข่าย กลไก ในการเฝ้าระวัง และกระบวนการที่นำไปสู่การลดการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัว และพื้นที่สาธารณะ)
- การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย (เกิดระบบ กลไก และเตรียมความพร้อมระดับปัจเจกบุคคลในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อรองรับสังคมสูงอายุระดับสุดยอด ที่มีผลกระทบต่อประชากรในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีความเปราะบาง มีความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ที่จะได้รับผลกระทบสูง)
- การเข้าถึงบริการสาธารณะที่เป็นมิตรสำหรับทุกคนตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน (เกิดระบบและกลไกสำหรับการเข้าถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ ตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ที่นำไปสู่ความตระหนักรับรู้ของสังคม และเกิดการปรับสภาพแวดล้อมและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนโดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุเข้าถึงได้อย่างสะดวก ปลอดภัย)
รางวัลองค์กรขวัญใจประชากรกลุ่มเฉพาะ
คุณสมบัติ
- เป็นองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม สถาบันการศึกษา ชุมชน ที่มีนโยบายและบทบาทในการทำงานลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี และมุ่งผลสัมฤทธิ์ในงานตามบทบาทและนโยบายที่รับผิดชอบ
- เป็นองค์กรที่มีกลไกสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายและประชากรกลุ่มเฉพาะเข้ามามีส่วนร่วม ในการทำงาน
- มีกระบวนการและผลงานหรือนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- มีการนำ ผลงาน หรือนวัตกรรมไปใช้ขยายผล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
- ข้อมูลทั่วไปขององค์กร
- ประวัติการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชากรกลุ่มเฉพาะ
- ผลงานหรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชากรกลุ่มเฉพาะ
- ผู้รับรอง
- โล่ประกาศเกียรติคุณ จำนวน 10 รางวัล ในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ “Voice of the voiceless: the vulnerable populations” ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
- 9 การเปลี่ยนแปลงสู่การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ
- เข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม (เกิดการพัฒนาระบบ กลไกการเข้าถึง และบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ เหมาะสมกับบริบทสังคม วัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และ เอื้อต่อการมีสุขภาวะสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ)
- การจัดสวัสดิการสังคมแบบถ้วนหน้า (เกิดการจัดสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุม ทุกคน และเอื้อต่อการดำเนินชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น บำนาญภาคประชาชน เงินเลี้ยงดูเด็ก)
- การเสริมพลังอำนาจของประชากรกลุ่มเฉพาะ (ประชากรกลุ่มเฉพาะได้รับการพัฒนาศักยภาพและเห็นความสำคัญของตัวตน ในการร่วมขับเคลื่อน เรียกร้อง พิทักษ์สิทธิของตนเอง นำไปสู่การเข้าถึงสิทธิและบริการที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม)
- เสริมพลังเครือข่ายภาคประชาสังคม (เกิดการรวมพลังและสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ในประเด็นที่หลากหลายภายใต้แนวคิดและกระบวนการที่เป็นทิศทางเดียวกัน ได้อย่างมีพลัง)
- การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟู (CBR : Community base rehabitation) (เกิดการฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งของประชากรกลุ่มเฉพาะในการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหา และดูแลประชากรกลุ่มเฉพาะในพื้นที่อย่างเหมาะสม)
- การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต (เกิดการส่งเสริม สนับสนุนศักยภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ เพื่อการดำเนินชีวิต เช่น การสร้างอาชีพสำหรับคนพิการ คนไร้บ้านให้มีงานทำ มีรายได้ การวางแผนการเงิน ส่งเสริมการออม และลดปัญหาหนี้สิน)
- การลดความรุนแรง (เกิดเครือข่าย กลไก ในการเฝ้าระวัง และกระบวนการที่นำไปสู่การลดการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัว และพื้นที่สาธารณะ)
- การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย (เกิดระบบ กลไก และเตรียม ความพร้อมระดับปัจเจกบุคคลในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อรองรับสังคมสูงอายุระดับสุดยอด ที่มีผลกระทบต่อประชากรในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีความเปราะบาง มีความเหลื่อมล้ำ ทางสุขภาพ ที่จะได้รับผลกระทบสูง)
- การเข้าถึงบริการสาธารณะที่เป็นมิตรสำหรับทุกคนตามแนวคิดการออกแบบ เพื่อทุกคน (เกิดระบบและกลไกสำหรับการเข้าถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ ตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ที่นำไปสู่ความตระหนักรับรู้ของสังคม และเกิดการปรับสภาพแวดล้อมและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนโดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุเข้าถึงได้อย่างสะดวก ปลอดภัย)
รางวัลบุคคลกลุ่มเฉพาะต้นแบบ
คุณสมบัติ
- เป็นบุคคลกลุ่มเฉพาะที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่ทำงานลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริม คุณภาพชีวิต
- มีจิตสาธารณะทำงานช่วยเหลือและพัฒนาผู้อื่น ร่วมกับภาคีเครือข่าย
- มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเฉพาะ ที่เป็นรูปธรรมและได้รับการยอมรับ
- เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการพึ่งพาตนเอง และนำบทเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น มากกว่า 1 ปีขึ้นไป (นับย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2565)
- ข้อมูลทั่วไป
- ประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
- ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากร กลุ่มเฉพาะ
- ผู้รับรอง
- โล่ประกาศเกียรติคุณ จำนวน 5 รางวัล ในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียง ที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ “Voice of the voiceless: the vulnerable populations” ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
- ประชากรกลุ่มเฉพาะ หมายถึง ประชากรบางกลุ่มที่มีทั้งความเปราะบาง (Vulnerability)
มีความเสี่ยง (Risk) หรือต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ
สุขภาวะ อันถือเป็นปัจจัยส่งผ่านสังคมกำหนดสุขภาพ (Intermediary Determinants)
ที่ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงบริการ และไม่ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมสุขภาพตามนโยบายในภาพรวม สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น แบ่งเป็น 10 กลุ่มประชากร ดังนี้
- ผู้สูงอายุ
- คนพิการ
- กลุ่มชาติพันธุ์
- ประชากรข้ามชาติ
- แรงงานนอกระบบ
- คนไร้บ้าน
- ผู้ต้องขัง
- ผู้หญิง
- ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
- มุสลิมไทย
- 9 การเปลี่ยนแปลงสู่การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ
- การเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม (เกิดการพัฒนาระบบ กลไกการเข้าถึง และบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ เหมาะสมกับบริบทสังคม วัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และเอื้อต่อการมีสุขภาวะสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ)
- การจัดสวัสดิการสังคมแบบถ้วนหน้า (เกิดการจัดสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมทุกคน และเอื้อต่อการดำเนินชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น บำนาญภาคประชาชน เงินเลี้ยงดูเด็ก)
- การเสริมพลังอำนาจของประชากรกลุ่มเฉพาะ (ประชากรกลุ่มเฉพาะได้รับการพัฒนาศักยภาพและเห็นความสำคัญของตัวตน ในการร่วมขับเคลื่อน เรียกร้อง พิทักษ์สิทธิของตนเอง นำไปสู่การเข้าถึงสิทธิและบริการที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม)
- เสริมพลังเครือข่ายภาคประชาสังคม (เกิดการรวมพลังและสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ในประเด็นที่หลากหลายภายใต้แนวคิดและกระบวนการที่เป็นทิศทางเดียวกันได้อย่างมีพลัง)
- การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟู (CBR : Community base rehabitation) (เกิดการฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งของประชากรกลุ่มเฉพาะในการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหา และดูแลประชากรกลุ่มเฉพาะในพื้นที่อย่างเหมาะสม)
- การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต (เกิดการส่งเสริม สนับสนุนศักยภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ เพื่อการดำเนินชีวิต เช่น การสร้างอาชีพสำหรับคนพิการ คนไร้บ้านให้มีงานทำ มีรายได้ การวางแผนการเงิน ส่งเสริมการออม และลดปัญหาหนี้สิน)
- การลดความรุนแรง (เกิดเครือข่าย กลไก ในการเฝ้าระวัง และกระบวนการที่นำไปสู่การลดการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัว และพื้นที่สาธารณะ)
- การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย (เกิดระบบ กลไก และเตรียมความพร้อมระดับปัจเจกบุคคลในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อรองรับสังคมสูงอายุระดับสุดยอด ที่มีผลกระทบต่อประชากรในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีความเปราะบาง มีความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ที่จะได้รับผลกระทบสูง)
- การเข้าถึงบริการสาธารณะที่เป็นมิตรสำหรับทุกคนตามแนวคิดการออกแบบเพื่อ ทุกคน (เกิดระบบและกลไกสำหรับการเข้าถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ ตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ที่นำไปสู่ความตระหนักรับรู้ของสังคม และเกิดการปรับสภาพแวดล้อมและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนโดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุเข้าถึงได้อย่างสะดวก ปลอดภัย)