ตัวช่วยการเข้าถึง

ขนาดตัวอักษร
ความตัดกันของสี
ปกติ
ขาว-ดำ
ดำ-เหลือง

เกี่ยวกับงาน

เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน

การประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2

Voice of the voiceless #2

"ก้าวสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม รับฟังทุกเสียงอย่างเท่าเทียม"

ทศวรรษต่อไปของ สสส.

กับการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ

“สุขภาพของคนเราจะดีหรือแย่นั้นไม่ได้ขึ้นกับชีววิทยาของร่างกายเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เกิดทั้งการเลี้ยงดู การศึกษา งานที่ทำ การเข้าถึงสวัสดิการ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ทำให้คนจำนวนหนึ่งมีปัญหา สุขภาวะตั้งแต่ต้น จากปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบตัว และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพตามมา การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ตามเป้าหมาย 10 ปี นอกจากจะมุ่งเน้นให้ประชาชนในภาพรวมมีสุขภาวะที่ดีแล้ว ยังคงมีจุดเน้นในการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพในกลุ่มประชากรที่เข้าไม่ถึงโอกาสด้วย ทั้งนี้ในอนาคตความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพนั้นยังคงมีอยู่ภายใต้บริบทของโลกอนาคตที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้น ความท้าทายสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะ คือ การสร้างการเรียนรู้ ความตระหนักรู้ทางสุขภาพ การเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีดิจิทัล และลดช่องว่างจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการสร้างสุขภาวะสำหรับประชากรทุกกลุ่มและลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง”
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์

ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์

ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์

ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สสส.

พลังเครือข่าย

ของการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

“การดำเนินงานของ สสส. ในช่วงที่ผ่านมามีบทเรียนความสำเร็จในการสร้างเสริมสุขภาพและการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพในกลุ่มประชากรเฉพาะที่เกิดจากความทุ่มเท และความร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยมีหมุดหมายสำคัญร่วมกัน คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยเหลือตัวเองและมีสุขภาวะของประชากรกลุ่มเฉพาะกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถพึ่งพา และสามารถดำเนินชีวิตเพื่อเป็นพลังของสังคมได้ ผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านวิชาการ การขับเคลื่อนนโยบาย ตลอดจนต้นแบบในการดำเนินงานต่าง ๆ ที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถูกนำไปขับเคลื่อนขยายผล ต่อยอด และประยุกต์ใช้ในบริบทต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสานพลังเครือข่ายให้สามารถทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริม สร้างแรงขับเคลื่อนในการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลกในอนาคตอย่างต่อเนื่อง”

ก้าวต่อไป

ของการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

“ในช่วงกว่า 12 ปี ที่ สสส. ได้ดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มเฉพาะภายใต้แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ โดยมุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ ตั้งแต่การพิสูจน์และรับรองสิทธิ์ การเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพและบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ภายใต้บริบทและข้อจำกัดทางสังคมที่ประชากรกลุ่มเฉพาะแต่ละกลุ่มเผชิญอยู่และเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลง และการมีสุขภาวะที่ดีขึ้นในประชากรกลุ่มเฉพาะหลากหลายกลุ่ม แต่ปัจจัยและบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นความท้าทายในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะที่จะต้องยกระดับการทำงาน ต่อยอด และสานเสริมพลังการดำเนินงานให้รองรับกับสถานการณ์ ปัจจัย และบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง ที่จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
ภรณี ภู่ประเสริฐ

คุณภรณี ภู่ประเสริฐ

ผู้อำนวยการสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส.

         จากปัญหาความเหลื่อมล้ำของผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ ไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) ที่หมายถึง ปัจจัยที่มีส่วนในการกำหนดสถานะสุขภาพของประชากร ตั้งแต่เกิด ดำรงชีวิต ทำงาน การเข้าสู่ช่วงสูงวัย ไปจนถึงการเสียชีวิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านสุขภาพ เช่นเดียวกัน การทำงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างหรือปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพจึงไม่ใช่เป็นเพียงการบรรเทาทุกข์ให้กลุ่มประชากรชายขอบหรือคนบางกลุ่มเท่านั้น หากเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างของสังคมโดยรวม เพราะโครงสร้างความเหลื่อมล้ำนั้นไม่ได้กระทำต่อกลุ่มประชากรชายขอบเพียงกลุ่มเดียว หากครอบคลุมถึงกลุ่มประชากรทุกกลุ่มในสังคม 

         

         ประชากรกลุ่มเฉพาะ คือ ประชากรที่มีทั้งความเปราะบาง (Vulnerability) มีความเสี่ยง (Risk) หรือต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ สุขภาวะ อันถือเป็นปัจจัยส่งผ่านสังคมกำหนดสุขภาพ (Intermediary Determinants) ที่ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงบริการ และไม่ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมสุขภาพตามนโยบายในภาพรวม

 

         ปัญหาที่ส่งผลต่อโอกาส สิทธิและเสรีภาพในการเข้าถึงทรัพยากรทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ ซึ่งเผชิญปัญหาเหล่านี้ในช่วงที่ผ่านมา และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วย

          1) ความเสี่ยงสูง คือ ประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือเป็นด่านหน้า หรือเป็นผู้ที่สัมผัสกับสาธารณะเป็นหลัก จึงส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นจากโรคระบาด สภาวะสิ่งแวดล้อม และสุขอนามัย

          2) ไร้ตัวตน คือ ประชากรกลุ่มเฉพาะไม่ถูกมองเห็นอย่างเป็นระบบจากภาครัฐและสังคม แต่ถูกตระหนักมากขึ้นโดยสาธารณะในปัจจุบัน

          3) เข้าไม่ถึง คือ ประชากรกลุ่มเฉพาะที่ไม่สามารถเข้าถึง หรือมีต้นทุนในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการพื้นฐานทางด้านสุขภาพ

          4) ถูกกีดกัน คือ ประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างไม่ตรงจุดจากนโยบายที่ให้ความสำคัญกับคนส่วนใหญ่ (Majority-concerned) มากกว่านโยบายที่กระจายผลประโยชน์อย่างครอบคลุม (Universal-concerned) หรือเฉพาะเจาะจง (Target-concearned) หรือการถูกมองเป็นคนนอก

          5) ยอมจำนน คือ ประชากรกลุ่มเฉพาะจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องยอมรับชะตากรรม หรือไม่มีพลังมากพอที่จะต่อสู้ให้ได้สิทธิและสวัสดิการที่พึงได้รับอย่าง

          สุขภาวะของประชากรกลุ่มต่างๆ ที่มีผลจากความเป็นธรรม และความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำ ผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพของประชากรในสังคมที่แตกต่างกัน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนถึงภาพความเหลื่อมล้ำทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นานาประเทศต่างก็ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศ

     

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ(สำนัก 9) สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพผ่านแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 กลุ่ม ประกอบด้วย คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้บ้าน แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ผู้ต้องขัง และมุสลิมไทย โดยมีความก้าวหน้าในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพในประชากรกลุ่มเฉพาะอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย การพัฒนาระบบกลไกเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะในประชากรกลุ่มเฉพาะ ซึ่งมีผลงานเชิงประจักษ์ในหลายประเด็นที่สามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนทำงาน จนถึงภาคีเครือข่าย องค์กรที่เกี่ยวข้องได้

 

         ในการนี้สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ” ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด ก้าวสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม รับฟังทุกเสียงอย่างเท่าเทียม ระหว่างวันที่ 21 – 23 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างการรับรู้ของสังคมไทยในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ

                     1. สื่อสารสังคมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ

                         ซึ่งได้มาจากความรู้ และปฏิบัติการจริงของภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ

                     2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน เครื่องมือและวิธีการทำงาน ระหว่างเครือข่ายในช่วงที่ผ่านมา

                     3. แสวงหาโอกาสในการยกระดับการทำงานเพื่อความเป็นธรรมทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ

                     1. พัฒนา ต่อยอดกระบวนการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ และทำให้เกิดประเด็นการทำงานร่วมที่เป็นรูปธรรม

                    2. รวบรวมและแลกเปลี่ยนงานวิชาการระหว่างกลุ่มตามประเด็น เพื่อให้ได้องค์ความรู้/ชุดความรู้สำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ
                    3. โชว์ แชร์ และเชื่อมผลงานเด่นของแต่ละกลุ่มประชากรเฉพาะ
                    4. พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะในระยะต่อไป

ผู้เข้าร่วมงานจำนวน 4,000 คน ประกอบด้วย                 

                      1. ภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ
                      2. ผู้แทน แกนนำกลุ่มประชากรเฉพาะทั้ง 10 กลุ่มเป้าหมายของสำนัก 9 สสส.
                      3. ผู้แทนหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการและเอกชน

                          เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย

                          สภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน องค์กรเอกชน

                          สาธารณประโยชน์ หน่วยงานภาคธุรกิจ เป็นต้น
                     4. นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
                     5. คณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เจ้าหน้าที่ สสส. และคณะทำงาน
                     6. สื่อมวลชน
                     7. ผู้สนใจทั่วไป

                    1. การปฐกถา เสวนาวิชาการ

                    2. การบรรยายทางวิชาการ ในหลากหลายประเด็น
                    3. การมอบรางวัล Voice of the Voiceless Award
                    4. กิจกรรมและการแสดงจากภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ
                    5. นิทรรศการแสดงผลงาน นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ ของภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ

เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า .

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า