คน…บ้านเดียวกัน
ทุกครั้งที่เรายิ้มให้กัน ได้มีโอกาสพูดคุยถามไถ่ และที่สุขใจไปกว่านั้น คือการที่ต่างได้รู้ว่า เราเป็นคนไทยเหมือนกัน เป็นคนเกิดในอำเภอเดียวกัน หรือจังหวัดเดียวกัน
และแน่นอนว่าหลายครั้งที่เราเห็น “คนไร้บ้าน” เรากลับให้คำจำกัดความมากมายที่แบ่งแยกให้พวกเขาแตกต่างไปจากเรา
แต่แท้จริงแล้ว เราแตกต่างกันจริงหรือ นี่คือ คำถามที่อยากชวนทุกคนมาร่วมหาคำตอบจากหัวใจ…
เสียงในใจของคุณตอบว่าอะไรคะ??
ใช่ค่ะ!! เรายังเป็น “คนบ้านเดียวกัน” เหมือนเดิม โดยความหมายก็คือ เราต่างก็เป็นคนเหมือนกัน ที่ควรจะได้สิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน และหลายครั้งที่คนไร้บ้านมักจะเจอกับปัญหาที่แตกต่างออกไป เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ การเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ การเข้าถึงสิทธิการรักษาสุขภาพ การได้รับสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพ หรืออื่น ๆ ทั้งในสถานการณ์บ้านเมืองที่ปกติ หรือแม้แต่ช่วงวิกฤตอย่างการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
หากเรามองว่าทุก ๆ คนมีความหลากหลาย ซึ่งอาจจะมีทางเลือกที่แตกต่างกันออกไป เราจะพบว่า “คนไร้บ้าน” นั้นก็มีเสียงที่น่าสนใจฟัง ให้เราได้เปิดใจ และเข้าใจถึงทางเลือกที่มีอยู่ อาทิ เรื่องบ้านเช่าคนละครึ่ง วงดนตรีของคนไร้บ้าน หรืออื่น ๆ ชีวิตที่พลิกของพวกเขา อาจจะเป็นเสียงสะท้อนให้เราได้หาแนวทางไปสู่ความเท่าเทียมกันในสังคม เพื่อให้ทุกเสียงของทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นเรื่องของ “คนบ้านเดียวกัน”
สำหรับท่านใดหรือหน่วยงานไหน สนใจอัปเดตข้อมูลสำคัญและนวัตกรรมทางสังคมเพื่อคนไร้บ้าน ผ่านรูปแบบการจัดนิทรรศการ การแสดง และวงเล่าเรื่อง โดยหน่วยงานที่มีประสบการณ์ตรง ในห้องย่อย “คนไร้บ้าน/คนจนเมือง”
ณ งาน “Voice of the voiceless ครั้งที่ 2 – ก้าวสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม รับฟังทุกเสียงอย่างเท่าเทียม” ระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จัดโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย โปรดติดตามข้อมูลเกี่ยวกับงานได้ที่ เฟซบุ๊กเพจ: นับเราด้วยคน และเว็บไซต์ สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กันได้เลย
#สสส #นับเราด้วยคน #Vov2 #เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน #voiceofthevoiceless #ประชากรกลุ่มเฉพาะ