เบี้ยคนชราต้อง “กี่บาท”ถึงจะอยู่ได้จริงในสังคมสูงวัย
เบี้ยคนชราต้อง “กี่บาท”ถึงจะอยู่ได้จริงในสังคมสูงวัย
.
นโยบายเบี้ยผู้สูงอายุนั้น มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2535 เมื่อกรมประชาสงเคราะห์ (ขณะนั้น) มีการจัดสรรให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน เดือนละ 200 บาทเพื่อการยังชีพ ซึ่งค่าครองชีพเมื่อ 30 ปีก่อน กับเงินจำนวน 200 บาท นั้นมีความเป็นไปได้ในการยังชีพทางเศรษฐกิจ แต่ในปี 2565 สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มขั้นปีแรก และประสบกับปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกเบี้ยผู้ยังเพียงพอไหม ?
.
เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุภาคเหนือ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน คนไทยมีกว่า 66 ล้านคน แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปร่วม ๆ 12 ล้านคน ซึ่งการสงเคราะห์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพอายุ 60-69 ปี ได้เดือนละ 600 บาท, อายุ 70-79 ปี ได้ 700 บาท, อายุ 80-89 ปี ได้ 800 บาท และ90 ปีขึ้นไป ได้เดือนละ 1 พันบาท ซึ่งได้มีการปรับตัวจากจุดแรกเริ่ม แต่บางครั้งก็ยังไม่เพียงพอกับการดำรงชีพเพราะเมื่อเกษียณก็ย่อมแปลว่าโอกาสสร้างรายได้ลดน้อยลงไปอีกด้วย
.
ในภาพรวมแต่ละปีภาระทางงบประมาณจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ รัฐฯต้องจ่ายสูงถึง 8.2 หมื่นล้านบาท มีแนวโน้มว่า 1-2 ปีนี้น่าจะทะลุ แสนล้านบาทสอดคล้องกับจำนวนผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น อีกทั้งปัญหาเรื่องความทั่วถึงของการกระจายเบี้ยยังชีพผู้สูงวัยทั้งนี้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ชี้แจงว่าการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุมีการปรับแก้ถึง 3 รอบ เพราะเนื้อหามีราย ละเอียดและซับซ้อนมาก เช่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2522 ที่ระบุให้ผู้มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่ไม่มีรายได้เพียงพอยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการนี้ และมีข้อแนะนำจากหลายภาคส่วนให้แก้ไขกฎใหม่ว่าให้พิจารณาจัดสรรเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เหมาะสม
.
ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ความยากจน การจัดสรรแบบถ้วนหน้าคนละ 1-3 พัน บาท/เดือน เป็นต้นกฎเกณฑ์การพิจารณานั้นทางคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พยายามนำข้อเสนอที่หลากหลายมาเปรียบเทียบ เช่น ถ้าใช้เกณฑ์เส้นแบ่งความยากจน จะกระทบผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพประมาณครึ่งหนึ่งที่จะต้องเสียสิทธิไป ถ้าเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะกระทบผู้สูงอายุจำนวนไม่มากนัก จึงมีความเห็นว่าน่าจะใช้เกณฑ์นี้ แล้วจะทำอย่างไรให้ยั่งยืน เรื่องนี้ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ถึงทางออกที่เป็นไปได้ของเบี้ยผู้สูงวัยที่ยั่งยืน
.
เดชรัต มองว่า มีวิธีการประเมินจากหลายโมเดล แต่โมเดลที่อยากจะยกมาพูดถึงก็คือการประเมินจากเส้นความยากจนซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 2,763 บาท ต่อคนต่อเดือน ที่คนสามารถยังชีพได้ ซึ่งปัจจุบันขั้นบันไดสูงสุดของเบี้ยผู้สูงอายุไทยจะได้รับอยู่เดือนละ 1,000 บาท ซึ่ง เดชรัตมองว่า ถ้าเป็นเฉลี่ย 3,000 บาทเท่ากันเราจะสามารถลดจำนวนผู้สูงอายุที่ยากจนจาก 6% เหลือเพียง 1%
.
เดชรัต ชี้แจงว่าถ้าหากทำตามโมเดลดังกล่าวงบประมาณอาจจะใช้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีก 3 แสนล้านบาท โดยจะต้องนำงบประมาณแผ่นดินประจำปีมาปรับปรุงทั้งการจัดสรรงบประมาณเดิม และการแสวงหารายได้ใหม่ โดยเฉพาะการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการจัดเก็บรายได้ของรัฐปี 2564 รัฐบาลจัดเก็บได้เพียง 13.8% โดยก่อนหน้านี้เคยจัดเก็บได้ 15% ซึ่งถ้าหากจัดเก็บภาษีได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดก็จะสามารถมีงบประมาณมาจัดสรรสวัสดิการให้กับผู้สูงวัย และควรให้ต้องมีการทบทวนฐานภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีอื่น ๆ เช่น ภาษีที่ดิน และภาษีมรดก ในอัตราก้าวหน้า เพื่อเพิ่มรายได้ในการจัดสวัสดิการสังคม
.
เมื่อถามถึงโมเดลในต่างประเทศ เดชรัตเสนอว่าทั่วโลกนั้นมี 3 โมเดลที่ถูกหยิบยกมาพูดกันก็คือ โมเดลแบบสแกนดิเนเวียรัฐบาลส่วนกลางเข้ามาจัดเก็บภาษีแล้วเข้ามาจัดการให้ แบบสหรัฐฯ ที่เชื่อว่าต่างคนต่างออมและดูแลตัวเองหลังเกษียณ และ แบบเยอรมันก็ใช้ระบบประกันสังคมคล้ายกับไทยในปัจจุบัน แต่สำหรับสังคมไทยปัญหาของโมเดลแบบสหรัฐฯคือตอนนี้ออมไม่ทันแล้วถ้าหากย้อนไป 20 ปีก่อนก็อาจจะยังเลือกโมเดลนี้ได้ หรือในรูปแบบเยอรมันตอนนี้ไทยก็ไม่สามารถดึงคนที่อยู่นอกประกันสังคมเข้ามาสู่ระบบช้าไปแล้ว
.
ดังนั้น โมเดลสแกนดิเนเวียจึงเป็นโมเดลใกล้ตัวที่สุด โดยต้องทำความเข้าใจกับวัยทำงานที่จะต้องเป็นผู้จ่ายภาษีว่าจะทำให้ชีวิตของพ่อและแม่ของเขาอยู่ได้อย่างสบาย และเมื่อถึงวันที่เขาเกษียณก็จะได้รับสวัสดิการดังกล่าวซึ่งสิ่งสำคัญก็คือต้องสร้างระบบที่คนในสังคมไว้วางใจระหว่างรัฐและประชาชน อย่างสแกนดิเนเวียประชาชนจะมองว่าเป็น “การออมผ่านรัฐ ทั้งนี้ต้องจับตาอีก 10 ปีข้างหน้าเพราะเรากำลังเกิดคลื่นผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่ปัจจุบันอยู่ในวัย 50 ปี จะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย เป็นสัดส่วนใหญ่ ดูเหมือนว่าสังคมไทยจะมีเวลาเตรียมตัวน้อยลงไปเรื่อย ๆ เช่นกัน
.
#เบี้ยคนชรา #สังคมสูงวัย
.
เเหล่งที่มา https://www.facebook.com/curiouspeople.me