รางวัลองค์กรขวัญใจของประชากรกลุ่มเฉพาะ
Voice of The Voiceless Award 2025
ประเภทรางวัล
ประเภทรางวัลองค์กรขวัญใจ
ของประชากรกลุ่มเฉพาะ
(ภาครัฐและภาคประชาสังคม)
รวม 10 รางวัล
การคัดเลือกรางวัลองค์กรขวัญใจของประชากรกลุ่มเฉพาะ (องค์กรภาครัฐ)
จำนวน 5 รางวัล
1. เป็นหน่วยงานราชการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือส่วนท้องถิ่น สถาบันวิชาการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ หรือหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ที่มีนโยบายและบทบาทในการทำงานลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
2. ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี และมีผลงานโดดเด่นเป็นรูปธรรมชัดเจนในงานตามบทบาทและนโยบายที่องค์กรรับผิดชอบ ในการทำงานลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
1. เป็นองค์กรที่มีกลไกสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายและประชากรกลุ่มเฉพาะเข้ามามีส่วนร่วม ในการทำงาน
2. มีกระบวนการและผลงาน หรือนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
3. มีการนำผลงาน หรือนวัตกรรมไปใช้ขยายผล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
ข้อมูลทั่วไปขององค์กร
1. ประวัติการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชากรกลุ่มเฉพาะ
2. ผลงานหรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องตามหัวข้อ “ขอบเขตของผลงาน” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ จำนวน 2 ผลงาน ระหว่างช่วงปี 2566 – 2567
3. ผู้เสนอชื่อ (เป็นบุคคลในองค์กร/บุคคลในเครือข่าย ที่ไม่ใช่บุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ
4. ผู้รับรอง (เป็นประธาน/ผู้แทนองค์กร/ผู้แทนเครือข่าย ที่ไม่ใช่บุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ)
โล่ประกาศเกียรติคุณ จำนวน 5 รางวัล ซึ่งจะได้รับในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ “Voice of the voiceless: the vulnerable populations” ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2568 ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี
1. องค์กรภาครัฐ หมายถึง องค์กรทุกประเภทที่เป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันการศึกษาภาครัฐ องค์กรอิสระ หรือหน่วยงานรัฐอื่น ๆ
2. ประชากรกลุ่มเฉพาะ หมายถึง ประชากรบางกลุ่มที่มีความเปราะบาง(Vulnerability)
มีความเสี่ยง(Risk) หรือต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ
เพื่อการมีสุขภาวะ อันถือเป็นปัจจัยส่งผ่านสังคมกำหนดสุขภาพ(Intermediary Determinants) ที่ทำให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงบริการหรือประโยชน์ในด้านต่างๆ ตามนโยบายของรัฐในภาพรวม แบ่งเป็น 9 กลุ่มประชากร ดังนี้
1) ผู้สูงอายุ
2) คนพิการ
3) คนไร้บ้าน
4) แรงงานนอกระบบ
5) ประชากรข้ามชาติ
6) กลุ่มชาติพันธุ์ (ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล คนไทยพลัดถิ่น คนไร้รัฐไร้สัญชาติ)
7) ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
8) ผู้ต้องขัง
9) มุสลิม
ขอบเขตของผลงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ ควรมีความสอดคล้องกับประเด็นต่อไปนี้
1. ความเป็นธรรมทางสุขภาพ หมายถึง ความเสมอภาค เท่าเทียมด้านสิทธิและโอกาส ที่จะเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดีตามความจำเป็นทางสุขภาพ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากความแตกต่างของลักษณะประชากร อาทิ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดระบบสุขภาพและบูรณาการแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับในระดับสากล
2. ความเป็นธรรมทางสังคม หมายถึง ความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคมที่มนุษย์พึงได้รับตามมาตรฐานสากล และหลักมนุษยธรรม โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ มีความเสมอภาค เท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิ โอกาส และทรัพยากรต่าง ๆ ที่พึงได้รับการปฏิบัติจากรัฐ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมเพื่อสร้างโอกาสในการมีสุขภาวะที่ดี
3. ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ หมายถึง ความแตกต่างด้านสถานะสุขภาพของคนกลุ่มต่างๆ เช่น อายุคาดเฉลี่ย อัตราการเจ็บป่วย ภาระโรค หรือปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้อง เช่น เพศ อายุ พันธุกรรม ซึ่งมีผลให้คนกลุ่มต่าง ๆ มีสถานะสุขภาพแตกต่างกัน มีความไม่เป็นธรรมทางสังคม อันเป็นสาเหตุหลักของความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ
4. นวัตกรรมสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ หมายถึง รูปแบบ วิธีการทำงานใหม่ การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางสังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากวิธีคิดใหม่ หรืออาจใหม่จากการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยมี โดยที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสถานะของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถนำไปใช้ขยายผลได้กว้างขวาง
5. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) หมายถึง การที่บุคคลมีความสามารถในการเข้าถึงข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย มีความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ สามารถประเมินความน่าเชื่อถือและความเหมาะสมของเนื้อหากับตนเอง ใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลในการให้ความสำคัญกับข่าวสารความรู้นั้น ๆ ตลอดจนนำไปสู่การตัดสินใจนำมาลองปฏิบัติและประเมินผลการทดลองจนสามารถเกิดการใช้ในชีวิตประจำวันได้
6. บริการสุขภาพที่เป็นธรรม หมายถึง การจัดบริการด้านสุขภาพโดยคำนึงถึงความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติจากความแตกต่างของเพศ เพศภาวะ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ สัญชาติ เป็นการให้บริการที่เอื้อต่อการเข้าถึง และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
7. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเฉพาะ หรือคนทำงานเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ ที่สร้าง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ระดับ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงในตนเอง (Self-transformation) การเปลี่ยนแปลงองค์กรและชุมชน (Organization and Community Transformation) และการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change) โดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะมีคุณลักษณะสำคัญ ได้แก่ มีความสามารถสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงาน มีความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ เข้าใจภาวะการนำร่วม และสามารถทำงานแบบใช้อำนาจร่วม ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นเครือข่ายและการทำงานขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
การคัดเลือกรางวัลองค์กรขวัญใจของประชากรกลุ่มเฉพาะ (องค์กรภาคประชาสังคม)
จำนวน 5 รางวัล
1.เป็นองค์กรภาคประชาสังคม มูลนิธิ สมาคม ชุมชน หรือชมรม (จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้) ที่มีนโยบายและบทบาทในการทำงานลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชากรกลุ่มเฉพาะ
2.ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี และมีผลงานโดดเด่นเป็นรูปธรรมชัดเจนในงานตามบทบาทและนโยบายที่องค์กรรับผิดชอบ ในการทำงานลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
1.เป็นองค์กรที่มีกลไกสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายและประชากรกลุ่มเฉพาะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน
2. มีกระบวนการและผลงานหรือนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
3. มีการนำผลงาน หรือนวัตกรรมไปใช้ขยายผล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
ข้อมูลทั่วไปขององค์กร
1. ประวัติการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชากรกลุ่มเฉพาะ
2. ผลงานหรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ตามหัวข้อ “ขอบเขตของผลงาน” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ จำนวน 2 ผลงาน ระหว่างช่วงปี 2566 – 2567
3. ผู้เสนอชื่อ (เป็นบุคคลในองค์กร/บุคคลในเครือข่าย ที่เป็นบุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการเสนอชื่อ) หรือภาคเอกชน)
4. ผู้รับรอง (ประธาน/ผู้แทนองค์กร/ผู้แทนเครือข่าย ที่เป็นบุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการเสนอชื่อ) หรือภาคเอกชน)
โล่ประกาศเกียรติคุณ จำนวน 5 รางวัล ซึ่งจะได้รับในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ “Voice of the voiceless: the vulnerable populations” ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2568 ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี
1. องค์กรภาคประชาสังคม หมายถึง องค์กรทุกประเภทที่เป็นหน่วยงานภาคประชาสังคม มูลนิธิ สมาคม ชุมชน เครือข่าย หรือชมรม (จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้) ที่มีผลงานและประวัติการทำงานชัดเจน
2. ประชากรกลุ่มเฉพาะ หมายถึง ประชากรบางกลุ่มที่มีความเปราะบาง(Vulnerability)
มีความเสี่ยง(Risk) หรือต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ
เพื่อการมีสุขภาวะ อันถือเป็นปัจจัยส่งผ่านสังคมกำหนดสุขภาพ(Intermediary Determinants) ที่ทำให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงบริการหรือประโยชน์ในด้านต่างๆ ตามนโยบายของรัฐในภาพรวม แบ่งเป็น 9 กลุ่มประชากร ดังนี้
1) ผู้สูงอายุ
2) คนพิการ
3) คนไร้บ้าน
4) แรงงานนอกระบบ
5) ประชากรข้ามชาติ
6) กลุ่มชาติพันธุ์ (ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล คนไทยพลัดถิ่น คนไร้รัฐไร้สัญชาติ)
7) ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
8) ผู้ต้องขัง
9) มุสลิม
ขอบเขตของผลงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ ควรมีความสอดคล้องกับประเด็นต่อไปนี้
1. ความเป็นธรรมทางสุขภาพ หมายถึง ความเสมอภาค เท่าเทียมด้านสิทธิและโอกาส ที่จะเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดีตามความจำเป็นทางสุขภาพ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากความแตกต่างของลักษณะประชากร อาทิ เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดระบบสุขภาพและบูรณาการแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับในระดับสากล
2. ความเป็นธรรมทางสังคม หมายถึง ความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคมที่มนุษย์พึงได้รับตามมาตรฐานสากล และหลักมนุษยธรรม โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ มีความเสมอภาค เท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิ โอกาส และทรัพยากรต่าง ๆ ที่พึงได้รับการปฏิบัติจากรัฐ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมเพื่อสร้างโอกาสในการมีสุขภาวะที่ดี
3. ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ หมายถึง ความแตกต่างด้านสถานะสุขภาพของคนกลุ่มต่างๆ เช่น อายุคาดเฉลี่ย อัตราการเจ็บป่วย ภาระโรค หรือปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้อง เช่น เพศ อายุ พันธุกรรม ซึ่งมีผลให้คนกลุ่มต่าง ๆ มีสถานะสุขภาพแตกต่างกัน มีความไม่เป็นธรรมทางสังคม อันเป็นสาเหตุหลักของความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ
4. นวัตกรรมสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ หมายถึง รูปแบบ วิธีการทำงานใหม่ การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางสังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากวิธีคิดใหม่ หรืออาจใหม่จากการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยมี โดยที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสถานะของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถนำไปใช้ขยายผลได้กว้างขวาง
5. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) หมายถึง การที่บุคคลมีความสามารถในการเข้าถึงข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย มีความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ สามารถประเมินความน่าเชื่อถือและความเหมาะสมของเนื้อหากับตนเอง ใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลในการให้ความสำคัญกับข่าวสารความรู้นั้น ๆ ตลอดจนนำไปสู่การตัดสินใจนำมาลองปฏิบัติและประเมินผลการทดลองจนสามารถเกิดการใช้ในชีวิตประจำวันได้
6. บริการสุขภาพที่เป็นธรรม หมายถึง การจัดบริการด้านสุขภาพโดยคำนึงถึงความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติจากความแตกต่างของเพศ เพศภาวะ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ สัญชาติ เป็นการให้บริการที่เอื้อต่อการเข้าถึง และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
7. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเฉพาะ หรือคนทำงานเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ ที่สร้าง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ระดับ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงในตนเอง (Self-transformation) การเปลี่ยนแปลงองค์กรและชุมชน (Organization and Community Transformation) และการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change) โดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะมีคุณลักษณะสำคัญ ได้แก่ มีความสามารถสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงาน มีความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ เข้าใจภาวะการนำร่วม และสามารถทำงานแบบใช้อำนาจร่วม ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นเครือข่ายและการทำงานขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
กำหนดการคัดเลือก
ประกาศรับสมัคร
1 กุมภาพันธ์
ถึง 17 เมษายน 2568
พิจารณาตัดสินรางวัล
2 พฤษภาคม 2568
ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือก
9 พฤษภาคม 2568
มอบรางวัล
ผู้ได้รับการคัดเลือก
19 มิถุนายน 2568
จัดโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ติดต่อสอบถามและส่งใบสมัคร
นางสาวปิยะนาถ สิริรัตนาวงศ์ (น้ำทิพย์)
นักวิเคราะห์และบริหารโครงการอาวุโส
สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9)
มือถือโทร 094-649-3264 Line: namthip-kmutt
Email: [email protected]
นางสาวปรารถนา พรหมสาขา ณ สกลนคร (อ้อย)
เจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ
สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9)
มือถือโทร 064-970-4449
Email: [email protected]