ห้องย่อย 3: การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

                            ระบบฐานข้อมูลเพื่อบูรณาการการทำงานกับประชากรกลุ่มเฉพาะในอนาคต โดยมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ กรอบนโยบาย/กลไกการทำงาน (Institutional framework) ข้อมูลพื้นฐาน (Datasets) มาตรฐานหรือ แนวทางการทำงาน (Technical Standard) และเครือข่ายการทำงาน (Network) เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอดการทำงานของภาคีในระยะยาวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำไปสู่การผลักดันให้เกิดกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมสุขภาวะของประชากรกลุ่มเฉพาะที่เหมาะสมกับสถานการณ์และความท้าทายในอนาคต

กำหนดการ

Sapphire 206

เวลา กิจกรรม
10.00-10.10 น. วัตถุประสงค์การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อบูรณาการการทำงานกับประชากรกลุ่มเฉพาะในอนาคต
โดย คุณภรณี ภู่ประเสริฐ
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส.
10.10-11.15 น. นำเสนอระบบฐานข้อมูล เพื่อบูรณาการการทำงานกับประชากรกลุ่มเฉพาะในอนาคต
  • ระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงาน
  • การจัดทำแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลประกอบตัวชี้วัด
  • การนำเสนอตัวอย่างผลการจัดทำตัวชี้วัด และความเชื่อมโยงเครือข่าย
  • โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ คุณสุภัจจา อังค์สุวรรณ และคุณศิวัช พู่พันธ์พาณิช
    11.15-11.45 น. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวระบบฐานข้อมูลเพื่อบูรณาการการทำงาน
    กับประชากรกลุ่มเฉพาะในอนาคต
    11.45-12.00 น. สรุปผลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและก้าวต่อไปในการดำเนินการ
                               เมืองที่ไม่ทิ้งใคร (Inclusive city) ต่างก็เป็นเมืองที่หลายเมืองใฝ่ฝัน เมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่และบริการทั้งหมดในเมืองได้อย่างสะดวกและไร้รอยต่อ ซึ่งการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครไม่ใช่เรื่องง่าย หลายเมืองไม่รู้จะเริ่มสร้างอย่างไร จะต้องใช้กระบวนการ กลยุทธ์และวางแผนอย่างไรท่ามกลางข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้จะนำเอาผู้บริหารเมืองและระบบขนส่งสาธารณะมาพูดคุยกันเพื่อนำเอาบทเรียน ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จในการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครมาเล่าสู่กันฟัง สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงให้แนวทางในการพัฒนาแก่เมืองอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาเมืองเพื่อคนทั้งมวล

    กำหนดการ

    Sapphire 205

    เวลา กิจกรรม
    12.30-13.30 น. ลงทะเบียน
    13.30-14.30 น. สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
    โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
    14.30-15.00 น. นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    15.00-16.30 น. เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
  • เมืองดีเด่นด้านการออกแบบเมืองเพื่อคนทั้งมวลของประเทศญี่ปุ่นสร้างได้อย่างไร
    ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น
  • กรุงเทพ…เมืองท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร
  • ทิศทางและอนาคตการพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง (TOD) ของประเทศไทย
    ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ผู้ดำเนินรายการ: นายสว่าง ศรีสม
    ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
    16.30-17.00 น. เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร

    ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ สะท้อนปัญหา
    และเพิ่มโอกาสลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ
    แก่ประชากรกลุ่มเฉพาะ

    วัตถุประสงค์การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อบูรณาการ การทำงานกับประชากรกลุ่มเฉพาะในอนาคตของภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะสำนัก 9 ทางสำนักได้ออกแบบชุดข้อมูลตัวชี้วัดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มประชากรกลุ่มเฉพาะ รองรับความหลากหลายมากขึ้น ทางสำนักกล่าวว่า “เราต้องร่วมมือกัน โดยเน้นว่าฐานข้อมูลนั้นต้องมีความหลากหลายและเฉพาะขึ้นนำไปสู่ทิศทางตามเป้าหมาย”

    ปัจจุบันความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพเป็นโจทย์ที่ได้รับความสนใจจากสาธารณะเป็นอย่างมาก เพราะทั้งหมดคือรากฐานของปัญหาด้านสุขภาพ สะท้อนถึงปัญหาได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีประชากรกลุ่มเฉพาะที่เพิ่มมากขึ้นและเข้าไม่ถึงระบบบริการทางสุขภาพ สำนักจึงได้ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับประชากรกลุ่มเฉพาะได้ทุกกลุ่ม

    การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    แกนนำ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ภาคี อำเภอ สำนัก 9 จังหวัด สสส. และ รัฐบาล ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลง ทางสำนัก 9 เองทำงานกับประชากรกลุ่มเฉพาะ เรารู้ว่าพวกเขามีปัญหาอะไร ด้วยที่เรามีภาคีที่คอยดูแลกระจายตัวอยู่หลายกลุ่มพร้อมนำข้อมูลมาวิเคราะห์ส่งต่อไปยังกลุ่มที่เกี่ยวข้องข้างต้น นั้นทำให้รัฐบาลรับรู้ถึงประโยชน์สิทธิที่ประชากรกลุ่มเฉพาะควรจะได้รับ เราจะสื่อสารด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์และหลักฐานที่สามารถชี้แจงได้ว่านี่คือปัญหาของประชากรกลุ่มเฉพาะอย่างแท้จริง

    นิยามฐานข้อมูลของเรา คือ ต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ มีตัวเลขหรือบทสัมภาษณ์ที่ชัดเจนว่า ทางเราทำงานอย่างไรกับตัวฐานข้อมูล เราเก็บทั้งคำถามโดยภาคีของเราที่สำรวจประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีความหลากหลาย นำข้อมูลของทุกกลุ่มมารวมกัน โดยที่เราตั้งคำถามพื้นฐานออกมาเป็นตัวชี้วัด ดังนี้ 1. สุขภาพ 2. ความเป็นอยู่ 3. การศึกษา 4. การมีรายได้ 5. การเข้าถึงการบริการภาครัฐ และนี่คือคำถามที่ทางสำนักใช้ชี้วัดเป็นหลัก ซึ่งเป็นหลักสากลที่ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย นอกจากเรื่องการเก็บข้อมูลหลักฐานแล้ว สิ่งสำคัญคือภาษาที่เราจะสื่อสารกับประชากรกลุ่มเฉพาะ เราได้แยกคำถามแต่ละกลุ่มประชากรและออกแบบคำถามร่วม ทางสำนักจะช่วยดูแลเรื่องการเก็บข้อมูล เพื่อทำให้เห็นว่าการทำงานของเรานั้นสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ประชากรกลุ่มเฉพาะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในเรื่องใดได้บ้าง

    ยกตัวอย่างการทำงาน สำนักนำตัวดัชนีชี้วัดทั้ง 5 มาตั้งคำถาม ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา การมีรายได้ และการเข้าถึงการบริการภาครัฐ เมื่อได้ข้อมูลเรานำมาเฉลี่ยทำเป็นกราฟแบ่งแยกให้เห็นชัด โดยเรียงข้อมูลของคนที่แย่สุดไปดีสุด โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. กลุ่มคนที่ดีที่สุดเข้าถึงได้มากที่สุด 2. กลุ่มสุดท้ายเข้าถึงได้น้อยหรือเข้าไม่ถึงเลย และ 3. กลุ่มคนตรงกลางอยู่ระหว่างกลุ่มแรกและกลุ่มสุดท้าย แล้วนำทั้ง 3 กลุ่มมาเปรียบเทียบกันเพื่อดูสิ่งที่ดีที่สุดของกลุ่มและแย่ที่สุด โดยทางเรานำเสนอเป็นกราฟดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมด ทำให้เห็นถึงช่องว่างที่เกิดขึ้น รวมถึงปัญหาที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจุดตรงนี้เราใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหานั้นต่อได้

    การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    สิ่งที่กราฟนี้นำเสนอ ทำให้มองปัญหาและช่องว่างที่แท้จริง เพื่อที่ทางสำนักจะได้ทำงานกับประชากรกลุ่มเฉพาะได้ดีขึ้น เพิ่มโอกาสที่จะทำให้สังคมดีขึ้นได้ การศึกษาเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มเฉพาะ ช่วยให้มีเครือข่ายและขยายใหญ่ขึ้นอย่างมีคุณภาพ โดยเราแบ่งการทำงานออกเป็น 5 ช่วง ช่วงละ 3 ปี ซึ่งในแต่ละช่วงเครือข่ายของเราจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 10 ปีแรก แล้วลดลงในช่วง 5 ปีหลัง เห็นถึงการขยายตัวขึ้นในช่วงแรกและลดลงในช่วงหลัง สะท้อนถึงการคัดกรองที่มีคุณภาพ และบทบาทของคนทำงานในประชากรกลุ่มเฉพาะที่ลงลึกมากขึ้น

    ข้อมูลของสำนักนั้นอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่เป็นข้อมูลสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผ่านการสื่อสารให้เห็นถึงสภาพปัญหาและช่องว่างที่เป็นโอกาสสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ

    การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
    โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

    ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
    ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

    Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.


    ดาวน์โหลด
    Shares:
    QR Code :
    QR Code

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    ระบุข้อความ