ห้องย่อย 8: เสียงของความแตกต่างสู่การขับเคลื่อนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคมไทย

                            สถานการณ์และผลกระทบที่มาจากการถูกตีตราและเลือกปฏิบัติในสังคมไทย พร้อมให้ข้อมูลความเข้าใจเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ (Stigma & Discrimination) นำไปสู่สาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ทั้งร่างภาคประชาชนและร่างกระทรวงยุติธรรม และมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ

กำหนดการ

Sapphire 104

เวลา กิจกรรม
13.00-13.30 น. ลงทะเบียน
13.30-14.30 น. กิจกรรม “ปรับ”
โดย คุณจารุณี ศิริพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
14.30-15.30 น. นำเสนอสถานการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในสังคมไทย
โดย    คุณอภิวัฒน์ กวางเเก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย
              คุณทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการเครือข่ายสุขภาพเเละโอกาส
              คุณกษมา อายิ ผู้จัดการกลุ่ม ฅ คนเพื่อการเปลี่ยนเเปลง
นำเสนอสถานการณ์การเลือกปฏิบัติต่อบุคคล

โดย คุณสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …(ภาคประชาชน)

โดย คุณสมชาย หอมลออ นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …(ภาครัฐ)

โดย ผู้เเทนกรมคุ้มครองสิทธิเเละเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
15.30-17.00 น.

เสวนา “ทิศทางการขับเคลื่อนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล”
ทิศทางในการขับเคลื่อน ร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. ….

โดย คุณจารุณี ศิริพันธุ์
เครือข่ายประชาชนขจัดการเลือกปฏิบัติ/ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
คุณสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ผู้เเทนจากกรมคุ้มครองสิทธิเเละเสรีภาพ
คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม พรรคก้าวไกล
คุณธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ พรรคไทยสร้างไทย
คุณเเทนคุณ จิตต์อิสระ พรรคประชาธิปัตย์

ร่วมวิพากษ์เเละให้ความเห็น โดย คุณพิทยา จินาวัฒน์
รองประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการขับคลื่อนยุทธศาสตร์
การพัฒนาสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและประชากรข้ามชาติ (สสส.)

ดำเนินรายการโดย
พิชญาพร โพธิ์สง่า ผู้สื่อข่าว TPBS
                           เมืองที่ไม่ทิ้งใคร (Inclusive city) ต่างก็เป็นเมืองที่หลายเมืองใฝ่ฝัน เมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่และบริการทั้งหมดในเมืองได้อย่างสะดวกและไร้รอยต่อ ซึ่งการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครไม่ใช่เรื่องง่าย หลายเมืองไม่รู้จะเริ่มสร้างอย่างไร จะต้องใช้กระบวนการ กลยุทธ์และวางแผนอย่างไรท่ามกลางข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้จะนำเอาผู้บริหารเมืองและระบบขนส่งสาธารณะมาพูดคุยกันเพื่อนำเอาบทเรียน ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จในการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครมาเล่าสู่กันฟัง สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงให้แนวทางในการพัฒนาแก่เมืองอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาเมืองเพื่อคนทั้งมวล

กำหนดการ

Sapphire 205

เวลา กิจกรรม
12.30-13.30 น. ลงทะเบียน
13.30-14.30 น. สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
14.30-15.00 น. นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
15.00-16.30 น. เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
  • เมืองดีเด่นด้านการออกแบบเมืองเพื่อคนทั้งมวลของประเทศญี่ปุ่นสร้างได้อย่างไร
    ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น
  • กรุงเทพ…เมืองท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร
  • ทิศทางและอนาคตการพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง (TOD) ของประเทศไทย
    ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ผู้ดำเนินรายการ: นายสว่าง ศรีสม
    ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
    16.30-17.00 น. เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร

    เมื่อความต่างส่งเสียง กฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติจะผลิบาน

    ความต่างคือความงาม คือความสดใส “เมื่อความต่างส่งเสียงคือเสียงของความงาม” ปัญหาคือเสียงของเราจะไปได้ไกลแค่ไหน จะสะท้อนออกจากห้องนี้ไปจนถึงผู้ที่กำหนดนโยบายหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเรายังไม่เริ่มส่งเสียง เราก็จะถูกกดทับ ยังคงถูกตีตรา ถูกละเมิดอย่างต่อเนื่อง เพราะเราทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเริ่มจาก “การส่งเสียงของพวกเรา” 

    เสียงของความแตกต่างสู่การขับเคลื่อนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคมไทย

    กิจกรรม “ปรับ”

              บางครั้งเราอาจไม่เห็นด้วยกับการกระทำของคนอื่นได้ แต่หลายครั้งที่เราอาจไม่เท่าทันความรู้สึกตนเองจนเป็นการตัดสินเชิงพฤติกรรม เช่น ไปด่า ไปทำร้าย ทั้งที่เราไม่มีสิทธิ เราจึงต้องมาพูดคุยกันเรื่องนี้ เพราะเรามีความต่างตราบใดที่เราเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจกัน ความต่างจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

    นำเสนอสถานการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในสังคมไทย

              เราขอเริ่มตั้งคำถามว่ากลุ่มคนจำนวนมากจะส่งเสียงด้วยตนเองได้อย่างไร เสียงของเขาจะดังไปถึงสังคมได้อย่างไร เมื่อสังคมไม่เลือกที่จะฟังเสียงพวกเขา เพราะการเข้าถึงภาคส่วนต่าง ๆ ทางสังคม ทั้งในเรื่องการออกกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และยังมีจำนวนมากที่เขาเข้าไม่ถึงสิทธิทางการรักษา สังคมกำลังผลักเขาเหล่านั้นให้อ่อนแรงลงทุกที เพราะพวกเขาถูกตัดสินตลอดเวลา โดยไม่มีเครื่องมือ ไม่มีกระบวนการช่วยเหลือเขาเหล่านั้นเลย

    เสียงของความแตกต่างสู่การขับเคลื่อนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคมไทย

    นำเสนอสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …(ภาคประชาชน) โดย คุณสมชาย หอมลออ

    นัยสำคัญอย่างแรกของกฎหมายฉบับนี้ คือการกำหนดชัดเจนว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะปลอดจากการถูกเลือกปฏิบัติ และการระบุนิยามการปฏิบัติที่เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติให้มีรายละเอียดชัดเจนเป็นรูปธรรมตามหลักการสิทธิมนุษยชน ไม่เป็นเพียงคำพูดลอย ๆ อีกต่อไป

    ร่างกฎหมายยังกำหนดให้มี “คณะกรรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล” เป็นคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติงาน ตลอดจนข้อเสนอปรับปรุงกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี

    โดยอีกกลไกสำคัญตามร่างกฎหมายฉบับนี้ คือการให้มี “สภาส่งเสริมความเท่าเทียมและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล” ที่คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลจะเลือกตัวแทนของประชาชนโดยยึดหลักความสมดุลในเรื่องของภูมิภาค และความแตกต่างหลากหลายของบุคคล

    แม้ว่าปัญหาตอนนี้สำหรับกฎหมายนี้คือ เมื่อสภาสิ้นสุดลง กฎหมายฉบับนี้ก็จะตกไป แต่ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราเข้าพบพรรคการเมืองหลายพรรคเพื่อสร้างความเห็นพ้องเพื่อจะเสนอเข้าสู่สภาใหม่ แม้ครั้งนี้จะตกเราก็หวังว่าครั้งหน้าเราจะสามารถผลักดันกลับได้อีก

    เสวนา “จะทำให้กฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเกิดขึ้นจริงในสังคมไทยได้อย่างไร”

    จริง ๆ แล้วเครือข่ายทั้งเครือข่ายภาคประชาชนทั้งเครือข่ายที่ตั้งต้นพูดคุย แต่คิดว่าสังคมต้องตื่นรู้ ต้องรู้ว่าคนที่กำลังถูกเลือกปฏิบัติอยู่ เขาต้องเผชิญอะไรบ้าง เมื่อเราทุกคนเข้าใจกัน เมื่อเราทุกคนเริ่มทบทวนตัวเองและเรียนรู้ความต่างเราจะเริ่มเข้าใจและร่วมส่งเสียง หากใจเรายังไม่สามารถมองคนเท่ากัน ยังไม่สามารถยอมรับในความต่างของกันและกัน กระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกับสังคม การสร้างกรณีตัวอย่างอย่างชัดแจ้งเพื่อให้คนแต่ละคนทำงานกับตัวเองเพื่อจะค่อย ๆ เริ่มเข้าใจ

    เสียงของความแตกต่างสู่การขับเคลื่อนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคมไทย

    คุณทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล ไทยสร้างไทย ในความจริงในพรรคมีการพูดคุยกัน มีการเชิญเครือข่ายเข้าไปพูดคุย และได้เกิดความสนใจจนเกิดกระบวนการร่างของพรรคเองจนเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้วและจะขอชวนภาคประชาสังคมไปร่วมแสดงความเห็นหลังจากนี้เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว และเราจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันกฎหมายนี้

    คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม พรรคก้าวไกล เราเชื่อว่ากลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ที่ถูกเลือกปฏิบัติเป็นกลุ่มที่ ต้องการได้รับการขับเคลื่อน แน่นอนว่าหากเรายังได้เข้าทำงานเรายังต้องผลักดันต่อแน่นอน

    คุณแทนคุณ จิตอิสระ พรรคประชาธิปัตย์ เราเชื่อว่าเรายังต้องผลักดันเรื่องนี้ แน่นอนว่าปัจจุบันมีกฎหมายบางฉบับอยู่แม้จะยังไม่ครอบคลุม เรายังต้องใช้เท่าที่มีไปก่อนส่วนเรื่องการผลักดัน พรบ. ก็ยังต้องผลักดันกันต่อ เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากเพราะยังมีความทับซ้อนของปัญหา เชื่อว่ากระบวนการตรงนี้ต้องใช้กลไกทางสังคมควบคู่การสร้างความรู้ การสร้างจิตสำนึก การเท่าทันทั้งตนเอง เทคโนโลยี และการเท่าทันสถานการณ์ เป็นเรื่องใหญ่เราเชื่อว่าเรายินดีที่เราจะร่วมงานได้กับทุกคน

    คุณพิทยา จินาวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการขับคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและประชากรข้ามชาติ (สสส.)  เชื่อว่าเนื้อหาเป็นเรื่องที่เครือข่ายฯ คิดกันมาดีแล้วและมีกระบวนการขับเคลื่อนอย่างมีพลัง ดีใจมาก ๆ ที่ได้มาเห็น ยินดีที่ได้รับพลังจากเครือข่าย ขอบคุณมาก ๆ ที่มาร่วมกัน และเราเป็นกำลังพร้อมเดินร่วมกันไปเสมอ

    เสียงของความแตกต่างสู่การขับเคลื่อนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคมไทย

    บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
    โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

    ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
    ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

    Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.


    ดาวน์โหลด
    Shares:
    QR Code :
    QR Code

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    ระบุข้อความ