ห้องย่อย 7: เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล

กำหนดการ

Sapphire 203

เวลา กิจกรรม
09.30-10.00 น. ลงทะเบียน
10.00-10.30 น. พลังของเรื่องเล่า (Power of Story Telling)
10.30-11.15 น. เเชร์เทคนิคการเล่าให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
11.15-11.45 น. Workshop เรียนเเล้วลงมือทำ…
11.45-12.00 น. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เเละสิ่งที่จะนำไปใช้
                           เมืองที่ไม่ทิ้งใคร (Inclusive city) ต่างก็เป็นเมืองที่หลายเมืองใฝ่ฝัน เมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่และบริการทั้งหมดในเมืองได้อย่างสะดวกและไร้รอยต่อ ซึ่งการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครไม่ใช่เรื่องง่าย หลายเมืองไม่รู้จะเริ่มสร้างอย่างไร จะต้องใช้กระบวนการ กลยุทธ์และวางแผนอย่างไรท่ามกลางข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้จะนำเอาผู้บริหารเมืองและระบบขนส่งสาธารณะมาพูดคุยกันเพื่อนำเอาบทเรียน ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จในการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครมาเล่าสู่กันฟัง สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงให้แนวทางในการพัฒนาแก่เมืองอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาเมืองเพื่อคนทั้งมวล

กำหนดการ

Sapphire 205

เวลา กิจกรรม
12.30-13.30 น. ลงทะเบียน
13.30-14.30 น. สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
14.30-15.00 น. นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
15.00-16.30 น. เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
  • เมืองดีเด่นด้านการออกแบบเมืองเพื่อคนทั้งมวลของประเทศญี่ปุ่นสร้างได้อย่างไร
    ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น
  • กรุงเทพ…เมืองท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร
  • ทิศทางและอนาคตการพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง (TOD) ของประเทศไทย
    ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ผู้ดำเนินรายการ: นายสว่าง ศรีสม
    ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
    16.30-17.00 น. เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร

    “ทุกคนไม่ได้อยากฟังเรื่องเดียวกัน”
    บอกเรื่องราว สร้างเรื่องเล่า อย่างไรให้จับใจ

    ในยุคที่การสื่อสารเปิดกว้าง ดิจิทัล และออนไลน์เข้ามามีบทบาท “เสียง” ของผู้คนธรรมดาและประชากรกลุ่มเฉพาะสามารถบอกเล่าและส่งต่อสู่สาธารณะได้อย่างเสรีผ่านการสื่อสาร ทั้งรูปแบบตัวอักษร รูปภาพ และวิดีโอ โดยมีแพลตฟอร์มต่าง ๆ รองรับเพื่อเป็นช่องทางการการเผยแพร่

    “พลังของการเล่า (Power of story telling)” จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราทุกคนสามารถนำการสื่อสารเรื่องราว (content) มาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในแง่การทำงาน สร้างรายได้ เป็นพื้นที่การเชื่อมสัมพันธ์ และเป็นช่องทางเผยแพร่งานอดิเรก

    การประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน: ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 ได้จัดวงเสวนาย่อยเรื่อง “เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาวะและสังคมสูงวัย พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพหลังเกษียณและผสานพลังเครือข่ายผู้สูงวัยและคนต่างวัย ที่ได้ทีมมนุษย์ต่างวัย สื่อออนไลน์ที่สื่อสารประเด็นสังคมสูงวัยและการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัย เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพมาเป็นวิทยากร ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล โดย ทีมมนุษย์ต่างวัย

    สุขภาวะกับการเล่าเรื่องเกี่ยวข้องกันอย่างไร

    คุณประสาน อิงคนันท์ ผู้จัดการโครงการและ คุณธัญนที หยกสกุล ผู้ประสานงานโครงการ เป็นผู้เริ่มต้นดำเนินการเสวนา เผยวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการว่า กำหนดกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มเฉพาะในโครงการนี้เป็นกลุ่มบุคคลวัยก่อนเกษียณหรือบุคคลที่เกษียณอายุ โดยมุ่งหวังให้โครงการฯ เป็นเครื่องมือช่วยผลักดันเป้าหมายให้ลุกมาใช้ชีวิตได้อย่างแอ็กทีฟเพื่อเป็น “Active Aging” เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้มักรู้สึกว่าตนเองถูกลดทอนคุณค่าลงเพราะวัยและรายได้ ดังนั้นการมอบความรู้ด้านการสื่อสารจะช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานที่ตอบโจทย์ทั้งรายได้ การสร้างสังคม และคุณค่าแห่งชีวิตโดยไร้ขีดจำกัด ฟื้นฟูสุขภาวะกายและใจให้ดีขึ้น

    อย่างไรก็ตามนอกจากกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องการนำเสนอแล้ว คุณประสานเสริมว่า “พลังของการเล่าเรื่อง” ยังเป็นเทคนิคสำคัญสำหรับคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพราะการสื่อสารอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทุกคน หนึ่งในเครื่องพิสูจน์ความจริงข้อนี้พบได้จากผู้สนใจที่เข้าร่วมการเสวนา เพราะภายในห้องไม่ได้มีเฉพาะประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นเป้าหมายเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยกลุ่มคนหลายกลุ่มผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น วัยกลางคน ผู้สูงวัย ไปจนถึงผู้พิการจากหลากหลายบทบาทอาชีพ

    เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล โดย ทีมมนุษย์ต่างวัย

    3 องค์ประกอบการเล่าเรื่องให้ถึงใจ (คน)

    “เล่าให้ทุกคนไม่มีอยู่จริงในการสื่อสาร ทุกคนไม่ได้อยากฟังเรื่องเดียวกัน ทุกเพศไม่ได้อยากฟังเรื่องเดียวกัน ทุกวัยไม่ได้อยากฟังเรื่องเดียวกัน” – พลอย ครีเอทีฟ เพจมนุษย์ต่างวัย

    เพราะเรื่องทุกเรื่อง ไม่ได้เหมาะกับคนทุกคน คือหนึ่งในเมสเสจสำคัญที่พลอย ครีเอทีฟผู้อยู่เบื้องหลังผลงานคอนเทนต์ไวรัลที่น่าสนใจจากมนุษย์ต่างวัยกล่าวถึง ดังนั้นการสร้างสูตรสำเร็จของสื่อที่ใช้ได้กับทุกคนจึงไม่มีอยู่จริง ทว่าหลักการสร้างเรื่องเล่าให้มีพลังและเต็มคาราเบลเจาะกลุ่มบุคคลเฉพาะที่เป็นเป้าหมายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ โดยทีมมนุษย์ต่างวัยอธิบายว่าทุกเรื่องเล่าต้องอาศัยความเข้าใจในองค์ประกอบ 3 ส่วนนี้ก่อนเล่าเรื่องราวเสมอ

    1. การตั้งเป้าหมายเรื่องเล่า (Goal) เพื่อให้สารที่ส่งออกไปทรงพลังและตรงจุด การตั้งเป้าหมายคือส่วนสำคัญที่ทำให้เราไม่หลงทาง และเป็นบริบทสำคัญในการกำหนดวิธีการนำเสนอ เช่น

    วัตถุประสงค์ในการสื่อสาร (Objective) กรณีสื่อสารเพื่อกระตุ้นการขาย การสร้างเรื่องราวจะช่วยเพิ่มมูลค่า คุณค่า และสร้างความแตกต่างระหว่างสินค้าเรากับผู้อื่นได้ เช่น ร้าน Barefoot Cafe ร้านอาหารขนาดเล็กที่เล่าเรื่องราวของสิ่งที่ตนเองทำด้วยการใส่ข้อมูลย้อนรอยที่มาของวัตถุดิบในร้านไว้ในเมนู เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นวิถีการบริโภคที่ยั่งยืน เกิดทัศนคติที่ดีในการบริโภคเพราะเชื่อว่าการสนับสนุนสินค้าในร้านจะนำไปสู่การสนับสนุนชุมชนไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรที่ปลูกข้าวหรือผู้ที่อยู่ในวงจรการผลิตอื่น ๆ

    กลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) บุคคลแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจะมีส่วนช่วยให้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

    2. รู้จักเรื่องรู้จักข้อมูล (Content) การนำเสนอที่ดี ต้องเกิดจากความรู้และความเข้าใจเรื่องเล่า เพราะเรื่องราวที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ สามารถช่วยพลิกแพลงมุมการเล่าและสร้างมิติเรื่องราวที่หลากหลายได้

    3. รู้จักวิธีการเล่า (Design) เมื่อเราได้ข้อมูลและกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารแล้ว เราควรออกแบบการสื่อสาร (Mood and Tone) ให้เหมาะสม เพราะการสื่อสารเมื่อออกมาจากบุคคลที่มีคาแรกเตอร์ต่างกัน ต่างวัย ก็จะใช้ภาษาและวิธีที่แตกต่างกัน เข้าถึงกลุ่มคนได้ต่างกัน

     

    เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล โดย ทีมมนุษย์ต่างวัย

    “My content is your business” เรื่องของเราต้องเป็นเรื่องของเขาเหมือนกัน

    แก่นของการสร้างพลังให้เรื่องเล่าคือต้องเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย และเปลี่ยนเรื่องของเราเป็นเรื่องของเขาผ่านการสร้างประสบการณ์ร่วม เช่น หากต้องการเล่าเรื่องผู้พิการสื่อสารกับบุคคลทั่วไป ถ้าเล่าเรื่องตามปกติคนส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เมื่อเราสร้างประสบการณ์ร่วมด้วยการใช้วิธีการเล่าว่า “ความพิการเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน วันนี้แม้คุณจะยังคงไม่เป็นไร แต่ในไม่กี่นาทีข้างหน้า หากคุณเดินออกไปเจอรถชนเปรี้ยงเดียว คุณก็กลายเป็นผู้พิการได้วิธีการเล่านี้จะช่วยพลิกความสนใจและสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับกลุ่มเป้าหมายได้

     

    5 เทคนิคกระตุ้นการรับรู้ให้คอนเทนต์บนโซเชียล

    นอกจากปัจจัยเรื่องราวนำเสนอที่ดีแล้ว องค์ประกอบเสริมที่ช่วยสนับสนุนให้คอนเทนต์ที่เรามีเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคือความเข้าใจธรรมชาติของโซเชียลแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เรานำเสนอ เช่น เฟซบุ๊กเหมาะแก่การนำเสนอข่าวสาร Instagram เหมาะกับคอนเทนต์ประเภทภาพถ่าย หรือ TikTok เหมาะสำหรับการนำเสนอคอนเทนต์แนวบันเทิงประเภทวิดีโอสั้น เป็นต้น ควบคู่กับการใช้ 5 เทคนิคกระตุ้นการรับรู้ให้คอนเทนต์บนโซเชียล ดังนี้

    1. First Impression สร้าง Visual ให้ดูดีและน่าเชื่อถือ

    2. Timing ส่งคอนเทนต์ได้ถูกต้องกับเวลาและจังหวะ

    3. Consistency มีความสม่ำเสมอในการลงคอนเทนต์

    4. Engagement กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม

    5. Always be original กล้าที่จะมีคอนเทนต์ต้นฉบับ

    เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล โดย ทีมมนุษย์ต่างวัย

    Workshop จับให้มั่น ปั้นบทความให้ปัง

    หลังจากการบรรยายความสำคัญและเทคนิควิธีต่าง ๆ แล้ว ทีมมนุษย์ต่างวัยได้จัดกิจกรรม Workshop ให้ผู้เข้าร่วมทุกคนนำองค์ความรู้ที่รับฟังมาใช้งานจริง โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกให้ผู้เข้าร่วมเสวนาจับคู่กับเพื่อนข้าง ๆ เพื่อพูดคุยกัน 5 นาที และจับประเด็นเพื่อบอกความน่าสนใจของบุคคลที่คุยด้วยนำเสนอด้วยประโยคสั้นที่น่าสนใจ ส่วนช่วงที่ 2 แบ่งบุคคลเข้าร่วมเสวนาออกเป็น 4 กลุ่ม พร้อมมอบโจทย์และให้ทีมสตาฟฟ์ให้ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับซักถามและนำข้อมูลมาทำตามโจทย์เพื่อนำเสนอ ผู้เข้าร่วมต่าง ๆ จึงมีโอกาสในการออกแบบคอนเทนต์ให้เกิดความน่าสนใจและตรงประเด็น

    ปิดท้ายการเสวนาครั้งนี้ ด้วย 2 เสียงสะท้อนความรู้สึกของตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรม “เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล” ชี้ให้เห็นว่าการเล่าเรื่องไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเข้าใจหลักการ คุณเองก็เป็นตัวแทนการส่งสารที่มีพลังได้

     

    “รู้สึกว่ากิจกรรมนี้เสริมให้มีการคิด การฟังและลำดับความคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น เราสามารถนำความรู้ในวันนี้ไปใช้ไม่ว่าจะเป็นการจับประเด็นให้ตรงกับปัญหาหรือคนที่สื่อสารกับเราได้มากขึ้น หรือการเลือกภาพโพสต์ต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ใหม่นำไปปรับใช้ได้ครับ” ความเห็นจากตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรม บุคลากรจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เชียงราย

     

    “รู้สึกประทับใจค่ะ ชอบที่ไม่ได้มีแค่การบรรยาย พอมีการ Workshop ที่เราได้คิด ช่วยให้เราได้ใช้ในสิ่งที่ฟังไปให้เป็นประโยชน์ทำให้เปิดมุมมองในการเล่าเรื่องมากขึ้น คิดว่าจะได้นำสิ่งนี้ไปใช้กับงานได้ดีขึ้นค่ะเพราะทำคอนเทนต์ในเพจอยู่แล้วและช่วงนี้กำลังหาแนวทางการเล่าเรื่อง จะนำความรู้ในวันนี้ไปใช้ร่วมกับทีมในการทำงานต่อไป” ความเห็นจากตัวแทนเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    เปิดสูตรการเล่าเรื่องให้มีพลังแบบเต็มคาราเบล โดย ทีมมนุษย์ต่างวัย

    บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
    โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

    ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
    ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

    Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.


    ดาวน์โหลด
    Shares:
    QR Code :
    QR Code

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    ระบุข้อความ