ห้องย่อย 5: นโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำ

                            นำเสนอภาพความเหลื่อมล้ำในภาพรวมของประเทศ และสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์ประเมินนโยบายที่ต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำ หาแนวทางในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำเร่งด่วนสำหรับกลุ่มประชากรเฉพาะ และรวบรวมความคิดเห็นต่อข้อเสนอของเวที จากผู้เข้าร่วม

กำหนดการ

Sapphire 201

เวลา กิจกรรม
09.30-10.00 น. ลงทะเบียน
10.00-10.30 น. การบรรยายเรื่อง “นโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำ” โดย ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) 
10.15-11.30 น. การเสวนาประเด็น “นโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำ”
ร่วมเสวนาโดย

คุณชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ
รองประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.บุญวรา สุมะโน
นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
คุณฑิฟฟาณี เชน
Policy Experimentation Analyst, Thailand Policy Lab
ผู้แทนจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)
ภญ.เบญจรินทร๋ สันตติวงศ์ไชย
หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)
ดำเนินรายการโดย ดร.นณริฏ พิศลยบุตร
นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
11.30-12.00 น. ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นเสวนา และเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมการประชุมห้องย่อยได้ถาม-ตอบร่วมกัน
โดย รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์
กรรมการบริหารเเผน คณะที่ 2 สสส.
12.00 น. ปิดการประชุม
                           เมืองที่ไม่ทิ้งใคร (Inclusive city) ต่างก็เป็นเมืองที่หลายเมืองใฝ่ฝัน เมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่และบริการทั้งหมดในเมืองได้อย่างสะดวกและไร้รอยต่อ ซึ่งการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครไม่ใช่เรื่องง่าย หลายเมืองไม่รู้จะเริ่มสร้างอย่างไร จะต้องใช้กระบวนการ กลยุทธ์และวางแผนอย่างไรท่ามกลางข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้จะนำเอาผู้บริหารเมืองและระบบขนส่งสาธารณะมาพูดคุยกันเพื่อนำเอาบทเรียน ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จในการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครมาเล่าสู่กันฟัง สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงให้แนวทางในการพัฒนาแก่เมืองอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาเมืองเพื่อคนทั้งมวล

กำหนดการ

Sapphire 205

เวลา กิจกรรม
12.30-13.30 น. ลงทะเบียน
13.30-14.30 น. สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
14.30-15.00 น. นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
15.00-16.30 น. เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
  • เมืองดีเด่นด้านการออกแบบเมืองเพื่อคนทั้งมวลของประเทศญี่ปุ่นสร้างได้อย่างไร
    ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น
  • กรุงเทพ…เมืองท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร
  • ทิศทางและอนาคตการพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง (TOD) ของประเทศไทย
    ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ผู้ดำเนินรายการ: นายสว่าง ศรีสม
    ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
    16.30-17.00 น. เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร

    นักวิชาการผลักดันนโยบายด่วน 9 ข้อ ลดความเหลื่อมล้ำ
    ประชากรกลุ่มเฉพาะให้เข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพ
    ที่เป็นธรรม

    นโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำ โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

    ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในฐานะภาคีวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) ชวนสานพลังภาคีร่วมฟังเสียงตกหล่นของ “10 ประชากรกลุ่มเฉพาะ” ซึ่งประกอบด้วย ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้บ้าน แรงงานนอกระบบ ประชากรข้ามชาติ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรง ผู้ต้องขัง และมุสลิม เปิดร่างสมุดปกขาว (White Paper on Policy) เครื่องมือผลักดันข้อเสนอนโยบายสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะให้เป็น “สมุดปกขาวของทุกคน”

    9 เสียงของประชากรกลุ่มเฉพาะเสริมพลังขับเคลื่อนนโนบาย ประกอบด้วย 1. ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าไม่ถึงหลักประกันทางสุขภาพ 2. สิทธิสวัสดิการเสมอกัน สู่สังคมเท่าเทียมเสมอหน้า 3. เมืองที่ไม่ทิ้งใคร 4. ความเป็นธรรมทางภาษีของภาคประชาสังคม 5. การถอดประสบการณ์การเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้สำหรับกลุ่มประชากรเฉพาะ 6. อัตลักษณ์เชิงซ้อนกับความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ 7. พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์: วิถีพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ 8. ความรุนแรงบนฐานเพศ และ การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย

    นโยบาย 9 การเปลี่ยนแปลงสู่การลดความเหลื่อมล้ำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ ได้แก่ 1. การเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม 2. หลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต 3. การเตรียมพร้อมสังคมสูงวัย 4. การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล 5. การลดความรุนแรงบนฐานเพศ 6. การจัดสวัดิการถ้วนหน้า 7. เสริมพลังกลุ่มประชากรเฉพาะ 8. การมีส่วนร่วมชุมชน (CBID) และ 9. สานพลังภาคประชาชน

    นอกจาก 9 นโยบายจากพลังเสียงประชากลุ่มเฉพาะแล้ว นักวิชาการยังเสริมประเด็นปัญหาที่ควรเปลี่ยนแปลงได้น่าสนใจและติดตาม เริ่มต้นด้วย คุณชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สสส. กล่าวว่า “จะลดความเหลื่อมล้ำได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบ Social Transformation สังคมส่วนใหญ่ยอมรับตัวตน”   

    นโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำ โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

    ด้าน รศ. ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี รองศาสตราจารย์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กล่าวว่า 3 เรื่องสำคัญที่อยากให้เกิดการพัฒนา ประกอบไปด้วย 1. ระบบบำนาญ เสียงผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้ยกระดับระบบบำนาญเป็น 3,000 บาทต่อเดือน เพราะปัจจุบันผู้สูงอายุที่เกษียณราชการได้รับเงินบำนาญเฉลี่ย 24,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้สูงอายุได้รับเพียง 600 บาทต่อเดือน 2. ระบบเงินเลี้ยงดูเด็กถ้วนหน้า และ 3. ระบบหนี้เพื่อการศึกษาในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย หนี้สินในการศึกษาเป็นปัญหาและเป็นตัวกีดขวางความก้าวหน้าของคนชั้นกลาง

    ด้าน ดร.บุญวรา สุมะโน นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มองว่า ประเทศ มีปัญหาประเด็นเชิงโครงสร้าง ทำงานแยกส่วนกันขององค์กรรัฐ ทำให้คนที่มีอัตลักษณ์เชิงซ้อนมีปัญหามาก เช่น แรงงานข้ามชาติรับจ้างทำงานบ้านแล้วถูกละเมิดจากนายจ้าง หรือถูกคุกคามทางเพศ แต่ไม่เคยมีใครแจ้งความ  ตรงนี้คนในสังคมต้องมีการปรับทัศนคติใหม่ว่า “ทุกคนเป็นคนเหมือนกัน ทุกคนเป็นพี่น้องกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”

    ด้าน คุณฑิฟฟาณี เชน Policy Experimentation Analyst, Thailand Policy Lab เล่าถึงการทำงานขององค์กร ถึงการใช้สื่อโซเซียลวิจัยจับฟังปัญหาของเยาวชนว่ามีปัญหาอะไรเร่งด่วน พบว่า “ปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชนเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข”

    ด้าน ภญ.เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) หน่วยงานวิจัยภายใต้กระทรวงสาธารณสุข โดยทำงานเรื่องการสนับสนุนสิทธิ์บัตรทองเป็นหลัก กล่าวว่า “ระบบประกันสุขภาพในประเทศมีทั้งหมด 3 สิทธิ์ ได้แก่ สิทธิ์ข้าราชการ สิทธิ์บัตรทอง และสิทธิ์ประกันสังคม สามสิทธิ์นี้มีความเหลื่อมล้ำอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ได้รับสิทธิ์การรักษาที่ไม่เท่าเทียม”

    สุดท้าย รศ.ดร. ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 2 สสส. ได้ย้ำถึงประชากรกลุ่มเฉพาะช่วยส่งเสียงให้ (ร่าง) สมุดปกขาวนี้ เป็น “สมุดปกขาวของทุกคน” อย่างเร็วที่สุด หากพลังเสียงยังถูกซุกซ่อนอยู่ในลำคอ “ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ที่เป็นธรรมของประชากรกลุ่มเฉพาะจะดังและเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร

    นโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำ โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

    อ่าน(ร่าง)สมุดปกขาว ได้ที่ https://bit.ly/3MPfyWw

    บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
    โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

    ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
    ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

    Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.


    ดาวน์โหลด
    Shares:
    QR Code :
    QR Code

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    ระบุข้อความ