ห้องย่อย 4: เสรีภาพ ความมั่นคง และความเป็นธรรมของแรงงานโดยไม่แบ่งแยก
แรงงานที่ถูกนิยามว่า “นอกระบบ” ทำให้ดูเหมือนไม่สำคัญ แต่แท้จริงคือ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก สภาวะที่ถูกลดทอน กีดกัน และถูกทำให้เชื่อว่า “เสรี” ทำให้พวกเขาและเธอถูกขูดรีดจากระบบเศรษฐกิจอย่างหนักโดยปราศจากระบบคุ้มครองสังคมที่เพียงพอ ชีวิตที่ถูกขูดรีด การสร้างทางเลือกต่อรอง และจุดพลิกผันทางนโยบายจะเป็นอย่างไร มาร่วมกันคิด แสวงหา และออกแบบแนวทางคุ้มครองแรงงานให้มีเสรีภาพ มั่นคง และสุขภาวะโดยไม่แบ่งแยก
กำหนดการ
Sapphire 105
เวลา | กิจกรรม |
12.30-13.00 น. | เปิดลงทะเบียน |
13.00-13.15 น. | เเนะนำโครงการ |
13.15-13.45 น. | สถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมต่อเเรงงานน”นอกระบบ” นำเสนอโดย 1. คุณวรดุล ตุลารักษ์ นักวิชาการอิสระ 2. คุณสุนทรีย์ เซ่งกิ่ง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเเรงงานเเละอาชีพ 3. คุณศรีไพร นนทรี กลุ่มสหภาพเเรงงานย่านรังสิตเเละใกล้เคียงฝ่ายจัดตั้ง ดำเนินรายการ โดย คุณธนากรณ์ พวยไพบูลย์ เจ้าหน้าที่กลุ่มสหภาพเเรงงานย่านรังสิตเเละใกล้เคียงฝ่ายจัดตั้ง |
13.45-14.15 น. | ผู้เข้าประชุมร่วมอภิปราย |
14.15-14.45 น. | บทเรียนการจัดการปัญหา ปรับตัว ต่อรอง เเละสร้างทางเลือกเพื่อสุขภาวะของกลุ่มเเรงงาน นำเสนอ โดย 1. คุณพูนทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ ผู้อำนายการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเเรงงานเเละอาชีพ 2.คุณสุภาวดี เพชรรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 3. คุณธนากรณ์ อวยไพบูลย์ กลุ่มสหภาพเเรงงานย่านรังสิตเเละใกล้เคียงฝ่ายจัดตั้ง ดำเนินรายการ โดย คุณกนกนาถ เทพนุภา เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเเรงงานเเละอาชีพ |
14.45-15.15 น. | ทิศทางการสร้างความเข้มเเข็งทางสุขภาวะของกลุ่มเเรงงาน นำเสนอ โดย 1. ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. อ.พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. คุณจะเด็ด เชาน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิชายหญิงก้าวไกล 4. คุณนาวิน ธาราเเสวง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเเรงงานนอกระบบ สำนักปลัดกระทรวงเเรงงาน เเละกรรมการบริหารเเผนคณะที่ 2 ดำเนินรายการโดย ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา |
15.15-15.30 น. | พักเบรก |
15.30-16.00 น. | ผู้เข้าประชุมร่วมอภิปราย |
16.00-16.30 น. | ข้อเสนอนโยบายคุ้มครองเเละพัฒนาสิทธิเเรงงาน นำเสนอ โดย 1. อ.วรดุล ตุลารักษ์ นักวิชาการอิสระ 2. อ.พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. คุณสุภาวดี เพชรรัตน์ฺ ผู้อำนวยการมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 4. คุณศรีไพร นนทรี กลุ่มสหภาพเเรงงานย่านรังสิตเเละใกล้เคียงฝ่ายจัดตั้ง 5. คุณสุนทรีย์ เซ่งกิ่ง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเเรงงานเเละอาชีพ ดำเนินรายการโดย คุณปิโยรส ปานยงค์ เจ้าหน้าที่สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา |
16.30-17.00 น. | ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมอภิปราย |
สะท้อนปัญหา เริ่มต้นสร้างมาตรการ
ดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบอย่างเป็นธรรม
การประชุมห้องย่อยวิชาการในชื่อ “เสรีภาพ ความมั่นคง และความเป็นธรรมของแรงงานโดยไม่แบ่งแยก”นี้ จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมและเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสาร รวมถึงเป็นการทำความเข้าใจร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานนอกระบบหรือแรงงานในระบบก็ตาม เราต่างขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่รอการช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว “เพราะเราเป็นแรงงานของชาติเหมือนกัน”
สถานการณ์ปัญหาแรงงานนอกระบบ เมื่อปัจจุบันเศรษฐกิจในประเทศนั้นย่ำแย่ รวมถึงการจ้างงานไปจนถึงการเข้าถึงระบบสุขภาพนั้น ส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากการได้รับออร์เดอร์ในแต่ละวันของไรเดอร์นั้นมีความสำคัญมาก คนที่เข้ามาทำงานใหม่ ๆ ต้องใช้เวลาถึงวันละ 14 ชั่วโมงบนท้องถนน เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เป็นความเปราะบางอย่างหนึ่งของแรงงานนอกระบบและครอบครัวที่พวกเขาเลี้ยงดู ความพิการหรือการเสียชีวิตนั้นส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ รัฐจึงควรเข้ามาสร้างมาตรการดูแลแรงงานนอกระบบอย่างจริงจัง โดยอาจจะเริ่มต้นจากการรับฟังเสียงของไรเดอร์ อาทิ
เสียงจากไรเดอร์ 1: อยากบอกบริษัทให้เพิ่มค่ารอบสักนิด สำหรับลูกค้าขอเพียงอย่าปลักหมุดผิดก็พอแล้ว
เสียงจากไรเดอร์ 2: เล่าว่าตนเองเริ่มทำไรเดอร์ตอนโควิด รับออเดอร์แถวบางจากวิ่งไม่ค่อยเป็นเพราะเคยทำเป็นครั้งแรก เกิดเหตุโดนรถชนที่ขา สองเดือนแล้วที่ยังดูแลตัวเองอยู่ อาชีพไรเดอร์เป็นแรงงานนอกระบบ อยากให้มีหน่วยงานรับผิดชอบกับแรงงานแบบเรา
เสียงจากไรเดอร์ 3: ความกดดันจากการเร่งรีบ พวกเราทำงานอยู่บนท้องถนนไม่รู้เวลาไหนที่เราจะกลับถึงบ้าน ไหนจะค่าครองชีพที่น้อยและอุบัติเหตุ รวมถึงคนข้างหลังที่ต้องดูแล ไรเดอร์กล่าวว่าตนเองต้องแบกรับความรับผิดชอบจากบริษัท แถมคนวิ่งเยอะขึ้น ออเดอร์น้อยลง การวิ่งงานมากไปอาจนำไปสู่การเสียชีวิต สรุปการทำงานที่ไม่มั่นคง และใช้เวลาทำงานมาก คือภาวะเศรษฐกิจที่คนทำงานต้องเร่งรีบเพื่อความอยู่รอด
เศรษฐกิจไม่ดี ภาวะจ้างงานที่เปลี่ยนไป มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร กล่าวคือ GDP ของประเทศไทยนั้นอยู่ท้าย ๆ ในอาเซียน การจ้างงานที่มั่นคงให้มีเงินออมบ้างเกษียณอายุแล้วไม่ลำบาก ในขณะที่ปัจจุบันเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้นกับมีการจ้างงานที่เปลี่ยนไป เช่น รับงานจากแอปพลิเคชัน ทำให้เห็นว่าแทนที่จะมั่นคงกับแย่กว่าเดิม เพราะกฎหมายไม่คุ้มครองนี่แหละปัญหา หลายคนบอกความมั่นคงในการทำงานไม่มีเลย เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ การจ้างงานลักษณะนี้ลูกจ้างไม่มีความมั่นคง ต้องซื้ออุปกรณ์ในการทำงานเอง เพื่อแข่งขันในการได้ออเดอร์ ไรเดอร์กล่าวว่าขาดทุนไม่รู้จะเรียกร้องอย่างไร เพราะนายจ้างกล่าวเช่นกันว่าขาดทุนเหมือนกัน ไม่สามารถเรียกร้องได้ เพราะเหล่าแรงงานไรเดอร์ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมาย แรงงานไรเดอร์อยากให้มีความชัดเจนเรื่องการคุ้มครองดูแล นี่คือปัญหาที่สะสมมาตลอดและทำให้คุณภาพแรงงานแย่ลง แรงงานไรเดอร์จำเป็นต้องอยู่ในมาตรา 33 ทุกคนควรได้เสรีภาพ
มูลนิธิขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบกล่าวว่า แรงงานที่ไม่อยู่ในระบบ เช่น รับงานทำอยู่ที่บ้านหรือไปรับจ้างที่อื่น ๆ ยกตัวอย่างไรเดอร์ นายจ้างกล่าวไรเดอร์ไม่ใช่แรงงาน เพราะเราเป็นพาร์ทเนอร์กันคือการอยู่ในความสัมพันธ์แปลก ๆ ของระบบแรงงาน รากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงคือรัฐไม่จริงจรังในการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กฎหมายไม่ชัดเจนส่วนใหญ่มีแต่ส่งเสริม น้อยมากที่จะมีการคุ้มครอง การที่มีแรงงานนอกระบบเป็นช่องทางในการเพิ่มกำไรให้กับนายจ้าง เพราะไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มอีกเลย การไม่สร้างความเข้าใจในสังคม เข้าไม่ถึงหลักประกันทางสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน สิทธิที่จะได้กับไม่ได้ การไม่สามารถต่อรองได้ เป็นประเด็นให้ภาครัฐใช้พิจารณา เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้
ปัญหาซักถามระหว่างผู้เข้าร่วมและวิทยากร คืออยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในระบบ พ.ร.บ. แรงงาน และอยากให้มีการปรับเปลี่ยนกองทุน พ.ร.บ. แรงงานรวมถึงประกันสังคมที่ยังแยกกันอยู่มาตราต่าง ๆ ความมั่นคงไม่มี แรงงานนอกระบบไม่สามารถรับสิทธิใด ๆ ได้ กล่าวเพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพจะเข้าถึงได้อย่างไร การวิ่งเข้าไปสู่ความสัมพันธ์การจ้างงาน ปัญหาคำว่าแรงงานนอกระบบ แรงงานกึ่งอิสระ การไม่ได้รับความคุ้มครองจากอุบัติเหตุหรือไม่สบาย เช่น ถ้าหากลาป่วยได้ก็สามารถลดอุบัติเหตุให้น้อยลงได้ เพราะไม่มีใครฝืนไปทำงาน กล่าวเพิ่มบริษัทควรรับผิดชอบทันทีเมื่อทำการรับลูกจ้างเข้าทำงาน ทั้งการทำประกันสุขภาพหรือประกันสังคมอีกทั้ง พ.ร.บ. ควรบังคับใช้เหมือนกัน ประกันสังคมที่แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ทุกคนควรได้มาตราฐานเดียวกันทั้งการรักษา เงินสมทบที่รัฐให้สรุปควรมีกฎหมายหลายฉบับ หรือควรมีอันเดียวเพื่อความเท่าเทียม
กล่าวสรุปได้ว่า ณ ปัจจุบันมีการจ้างงานที่เปลี่ยนไป เช่น การเป็นพาร์ทเนอร์ที่ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้าง และรากเหง้าของปัญหาก็คือกฎหมาย ถ้ารัฐบาลรับรองกฎหมาย ทางแรงงานก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายอื่น ๆ เข้ามา ยกตัวอย่าง ไรเดอร์ออกมาเรียกร้องแต่เรียกร้องกับใครเพราะไม่มีนายจ้าง ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลย เพราะไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ถ้าอยากมีสิทธิควรอยู่ใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
วิทยากรกล่าวเสริมว่าอยากให้แก้กฎหมายแรงงาน ประเทศไทยมีความเลื่อมล้ำสูงและการทำงานหนักที่แทบที่สุดในโลก คนทำงานทุกคนเป็นแรงงานและทุกคนควรมีสิทธิอย่างเสรีภาพการเท่าเทียมกัน รวมถึงทิศทางการสร้างความเข้มแข็งแรงงานนอกระบบ ข้อเสนอ 3 ข้อ 1. ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การมีอำนาจการยังไงก็ได้เปรียบในการต่อรอง 2. ยุติการแบ่งแยกแรงงาน แรงงานนอกระบบคือแรงงานที่รองรับความคลุมเครือของกฎหมาย และ 3. การเข้าใจกลวัตรแรงงานของการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน
ทางหน่วยราชการกระทรวงแรงงานกล่าวว่าพยายามทำให้เกิดการรับรองและความคุ้มครองโดยเร็วแล้วเหตุที่มีกฎหมายหลายประเภท เพราะขึ้นอยู่แต่กับละอาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับแรงงานของอาชีพนั้น ๆ เสียงจากวิทยากรสรุปว่าสิ่งที่คาดหวังจากกระทรวงแรงงานคือเป็นเสียงให้กับแรงงาน
บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.
ดาวน์โหลด