ห้องย่อย 2: เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ

                            การเตรียมรับสังคมสูงวัย 3 ระดับ กลไกในการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมสูงวัยเข้มแข็ง ต้นน้ำ: เตรียมประชากรวัย 45-59 ปี (ผู้สูงอายุสำรอง) ให้มีคุณภาพด้วยการจัดตั้งกลุ่มเตรียมการขึ้น ด้วยกิจกรรม 3 เตรียม คือ เตรียมสุขภาพ เตรียมการออม เตรียมอาสาเพื่อชมรมและชุมชน กลางน้ำ: เพิ่มจำนวนผู้สูงอายุพฤฒพลัง Active Aging ช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือคนอื่นได้ไม่เป็นภาระใคร ให้ได้มากที่สุดด้วยการใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือพัฒนา ปลายน้ำ: 3 ลดจำนวนผู้สูงอายุติดเตียงให้ได้มากที่สุด ด้วยการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูผู้สูงอายุในชุมชน

กำหนดการ

Sapphire 103

เวลากิจกรรม
12.30-13.00 น.เปิดลงทะเบียน
13.00-13.30 น.เปิดเวที พลังเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ
โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ
13.30-14.00 น.แนวคิดการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็งรองรับสังคมสูงวัย
โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.พงษ์ศิริ ปรารถนาดี
รองประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ
14.00-15.30 น.เข้าฐานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ 4 ฐาน
ฐานที่ 1 ชมรมเข้มแข็งทำอย่างไร
โดย ชมรมพฤฒพลังโพตลาดแก้ว จ.ลพบุรี
ฐานที่ 2 เตรียมผู้สูงอายุสำรอง 45-59 ใครเตรียม เตรียมยังไง
โดย ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านแหลม จ.เพชรบุรี
ฐานที่ 3 เพิ่มผู้สูงอายุพฤฒพลังด้วยโรงเรียนผู้สูงอายุ
โดย ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดดาว จ.สุพรรณบุรี
ฐานที่ 4 ลดผู้สูงอายุติดเตียง ด้วยศูนย์ฟื้นฟูผู้สูงอายุในชุมชน
โดย ชมรมผู้สูงอายุตำบลบางกระจะ จ.จันทบุรี
15.30-16.00 น.เรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ “สูงวัยดิจิตอล”
โดย รศ.ดร.กมลรัตน์ อินทรทัศน์ และคณะมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
16.00-17.00 น.สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปใช้

Thai Smart Ageing: ผู้สูงอายุยุคใหม่พึ่งพาตัวเองได้ไม่เป็นภาระใคร

3 วิธี สู่ชุมชนผู้สูงอายุเข้มแข็งได้อย่างไร

คุณผกายทิพย์ อินจันทร์ ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลโพตลาดแก้ว ชมรมผู้สูงอายุต้นแบบจังหวัดลพบุรี ได้แบ่งปันกับเพื่อนเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุว่า การจะเป็นชมรมผู้สูงอายุต้นแบบที่เข้มแข็งได้นั้น ต้องส่งเสริม 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพและวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริมการออกกำลังกายและประเพณีท้องถิ่น ด้านอาชีพ ผ่านการจัดอบรมส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ อย่างเช่น ในชุมชนมีสวนดอกรัก ดอกมะลิ และดอกพุด จึงส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มร้อยสายมาลัยขึ้นมา และด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น โครงการบ้านสะอาดและรับซื้อขยะ รีไซเคิลซึ่งติดต่อให้วงษ์พาณิชย์มารับซื้อถึงชมรมกันทีเดียว

แก่ไม่กลัว “ถ้าเตรียมตัวดี”

ปัญหาที่พบในหลายประเทศ โดยเฉพาะไทย คือภาวะที่ผู้สูงอายุ “แก่ก่อนรวย” และ “ป่วยก่อนตาย” กล่าวคือ มีช่วงชีวิตยาวนานขึ้น แต่ช่วงเวลาที่สุขภาพแข็งแรงไม่ได้ยาวนานตาม ปัญหานี้แก้ไขได้ “ถ้าเตรียมตัวมาดี” ระหว่างอายุ 49-60 ปี ตามที่ชมรมผู้สูงอายุบ้านพอเพียง สนั่นรักษ์ จังหวัดปทุมธานี และชมรมผู้สูงอายุสีลาสวรรค์ จังหวัดปทุมธานี ได้ถ่ายทอดโมเดล แก่ไม่กลัว “ถ้าเตรียมตัวมาดี”

ผู้ที่ต้องเตรียมตัวนี้ หมายถึงผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี กลุ่มคนนี้ทางชมรมผู้สูงอายุได้รับเข้ามาเป็นสมาชิกสมทบ เพื่อให้เตรียมความพร้อม 3 ด้าน ได้แก่ 1. การเตรียมสุขภาพกายและใจ ด้วยการทำให้ตนเองมีสุขภาพกายใจดี สนใจธรรม หรือทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี 2. การเตรียมเศรษฐกิจการออม วางแผนการใช้เงินเพื่อให้มีเงินเก็บไว้ใช้ยามชรา และ 3. เตรียมการมีส่วนร่วมกับสังคม เช่นการเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ช่วยเหลืองานชุมชน เป็นจิตอาสาเรียนรู้กับผู้สูงอายุเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกิจกรรม สู่เป้าหมายให้ “วันข้างหน้าสบาย”  ชีวิตมีคุณค่าและมีความหมาย เมื่อถึงวัยผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์

เพิ่มผู้สูงอายุพฤตพลังด้วยโรงเรียนผู้สูงอายุ

“-60+” คลื่นกระทบฝั่งที่หายไป ทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยพึ่งพาตนเองได้นานที่สุด โดยไม่เป็นภาระใคร คุณวิชัย รักษ์วงค์วาน ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดดาว จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า เดินสายกลางเป็นวิธีที่ดีที่สุด  โรงเรียนผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญเป็นสื่อกลางในการเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ เพื่อมาทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่กัน แบ่งปันความรู้ หรือปรึกษาหารือกัน

“รอก” ช่วยบริหาร ผู้ป่วยติดเตียงเดินได้ หนึ่งความภาคภูมิใจของชมรมผู้สูงอายุตำบลบางกระจะ จังหวัดจันทบุรี บอกเล่าวัตถุประสงค์ของชมรมที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลดผู้สูงอายุติดเตียงว่า หัวใจหลักในการลดผู้ป่วยติดเตียง คือการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อให้กำลังใจ โดยใช้ “รอก” เครื่องมือที่อาจารย์แพทย์ได้คิดค้นขึ้นเป็นพิเศษให้เหมาะกับคนไข้ผู้สูงวัยติดเตียงใช้บริหารจนเดินได้และปั่นจักรยานได้หลายราย นับเป็นความภาคภูมิใจของชมรม

ผู้สูงอายุดิจิทัล ทันสมัยไม่ตกเทรนด์

เมื่อสื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตปัจจุบัน “ผู้สูงอายุดิจิทัล” ต้องทันสมัยและรู้เท่าทัน         เติมความฝันที่ขาดหาย เรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ที่เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทันข่าวสารเฝ้าระวังไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี

รศ.ดร.กมลรัตน์ อินทรทัศน์ อาจารย์จากศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ให้ความรู้เรื่อง Smart Ageing กับผู้สูงวัยดิจิทัล เกี่ยวกับหลักสูตรเศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) ด้วยการสื่อสารสุขภาวะผู้สูงวัยดิจิทัล มิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Silver & Creative Economy) เจาะลึก How To การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผู้สูงวัยในยุค New Normal ผ่านนวัตกรรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล เปิดห้องเรียนออนไลน์ “ไทยสมาร์ทเอจจิ้ง” ในกลุ่มไลน์ การใช้สื่อดิจิทัลเบื้องต้น เช่น 3 แอปคู่ใจวัยเก๋า วิธีสมัครอีเมลจากมือถือ และเคล็ดลับใช้ไลน์สไตล์สูงวัย เป็นต้น ให้ผู้สูงอายุ ผู้สนใจทุกคนสมัครเรียนและฝึกปฏิบัติโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ความรู้ด้านสุขภาวะและดิจิทัลขั้นพื้นฐานสามารถยกระดับทักษะการเรียนรู้ด้านดิจิทัลขั้นพื้นฐานและความรู้ด้านสุขภาวะองค์รวมท่ามกลางภาวะอุบัติใหม่ได้

บทความ:  งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566 โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.


ดาวน์โหลด
Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ