ห้องย่อย 8: เสียงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ

                            เปิดพื้นที่รับฟังสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจากผู้ที่เผชิญสถานการณ์จริงในกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ผู้หญิง เด็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ คนพิการ แรงงานข้ามชาติ พร้อมระดมความคิดออกแบบกลไกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไปจนถึงกระบวนการเยียวยาเพื่อให้ผู้ที่ถูกกระทำสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และรวบรวมข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กำหนดการ

Sapphire 101

เวลา กิจกรรม
09.30-10.00 น. ลงทะเบียน
10.00-10.05 น. กล่าวเปิดการเสวนา
โดย คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
10.05-11.50 น. เวทีอภิปราย เรื่อง “เสียงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ”
ร่วมเสวนาโดย
  • คุณสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
  • คุณกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
  • ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลไกในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
  • คุณกุสุมา พนอนุอุดมสุข กรมกิจการสตรีเเละสถาบันครอบครัว
    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • นพ.ฑินกร โนรี กระทรวงสาธารณสุข
  • ผู้เเทนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง
    ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด
  • ผู้ดำเนินรายการ: คุณสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
    11.50-12.00 น. ข้อสรุปจากเวที
    โดย คุณสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                               เมืองที่ไม่ทิ้งใคร (Inclusive city) ต่างก็เป็นเมืองที่หลายเมืองใฝ่ฝัน เมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่และบริการทั้งหมดในเมืองได้อย่างสะดวกและไร้รอยต่อ ซึ่งการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครไม่ใช่เรื่องง่าย หลายเมืองไม่รู้จะเริ่มสร้างอย่างไร จะต้องใช้กระบวนการ กลยุทธ์และวางแผนอย่างไรท่ามกลางข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้จะนำเอาผู้บริหารเมืองและระบบขนส่งสาธารณะมาพูดคุยกันเพื่อนำเอาบทเรียน ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จในการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครมาเล่าสู่กันฟัง สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงให้แนวทางในการพัฒนาแก่เมืองอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาเมืองเพื่อคนทั้งมวล

    กำหนดการ

    Sapphire 205

    เวลา กิจกรรม
    12.30-13.30 น. ลงทะเบียน
    13.30-14.30 น. สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
    โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
    14.30-15.00 น. นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    15.00-16.30 น. เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
  • เมืองดีเด่นด้านการออกแบบเมืองเพื่อคนทั้งมวลของประเทศญี่ปุ่นสร้างได้อย่างไร
    ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น
  • กรุงเทพ…เมืองท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร
  • ทิศทางและอนาคตการพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง (TOD) ของประเทศไทย
    ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ผู้ดำเนินรายการ: นายสว่าง ศรีสม
    ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
    16.30-17.00 น. เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร

    “ความรุนแรงในครอบครัว”
    เรื่องที่สังคมต้องยุ่ง รัฐต้องให้ความสำคัญ

    เสียงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ โดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

    “เรื่องในบ้านเขาเราอย่าไปยุ่ง”, “ผัวเมียทะเลาะกันคนนอกไปยุ่งเดี๋ยวเขาดีกันเราก็เหมือน…” เหล่านี้เป็นวิธีคิดที่สั่งสอนกันมานานในสังคมไทย ทำให้หลายคนเลือกที่จะ “เพิกเฉย” ต่อปัญหา “ความรุนแรงในครอบครัว” แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มาแล้วตั้งแต่ปี 2550 แต่การทำให้กฎหมายมีผลจริงในทางปฏิบัติก็ต้องทำให้คนในสังคมตั้งแต่ประชาชนทั่วไปจนถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักด้วย

    คุณสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม กล่าวในเวทีอภิปราย เรื่อง “เสียงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน: ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 ชี้ให้เห็นว่า หากไม่รีบ “ตัดไฟแต่ต้นลม” ปล่อยให้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวยกระดับลุกลามบานปลาย ท้ายที่สุดอาจนำไปสู่เหตุสลดขึ้นได้

    “เมื่อถูกทำร้ายซ้ำ ๆ มันจะปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด ใครเคยต้มน้ำไหม? ใส่น้ำไปต้มน้ำไปมันแห้งหม้อมันก็ระเบิด แต่อยู่ในบ้านถูกด่าซ้ำ ๆ ดิฉันเคยไปทำงานที่จังหวัดทางภาคใต้ ผัวด่าเมียทุกวัน ๆ นอกจากด่าแล้ว ทำร้าย สุดท้ายผู้หญิงทนไม่ไหวทำร้ายกลับสามี แรงฮึดสู้ของผู้หญิงมันจะเหมือนกับรถพ่วงที่ขับมา 120 แล้วลงสะพานไปชน ถามว่ามันจะเหลือไหม? ที่สำคัญตั้งแต่ไปช่วยทำคดีผู้หญิงตกอยู่ในสถานการณ์ต่อสู้กลับสามี และต่อสู้วิถีชีวิตจนท้ายที่สุดทั้งลูกทั้งสามีเสียชีวิต เป็นเรื่องที่พวกเราก็ไม่สบายใจ ที่ต้องพูดซ้ำ ๆ เพราะเราไม่อยากให้ผู้ชายตายเร็ว เราไม่อยากให้คู่ของเราตายเร็ว อยากให้อยู่กันจนไม้เท้ายอดทอง แต่มันเป็นเรื่องยาก” คุณสุเพ็ญศรี กล่าว

    เช่นเดียวกับ นางกุสุมา พนอนุอุดมสุข ผู้แทนจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่กล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มุ่งหวังให้ประชาชนทั่วไปไม่เพิกเฉยนิ่งดูดายเมื่อเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว โดยรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าไประงับเหตุ ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากการทะเลาะกันเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อยกระดับขึ้นไปถึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายกัน นานวันเข้าท้ายที่สุดก็อาจจบลงด้วยเหตุฆาตกรรม จากผู้ถูกกระทำเมื่อถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นผู้กระทำ

    อนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ พม. ได้หารือร่วมกับพนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชาในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อวาง
    แนวทางการทำงานร่วมกัน โดยทางตำรวจชี้แจงกรณีภาคประชาสังคมตั้งข้อสังเกตว่ามักไม่รับแจ้งความคดีความรุนแรงในครอบครัว แต่เน้นการไกล่เกลี่ยว่า หลายครั้งพบปัญหาเมื่อตำรวจรับแจ้งความ แต่เมื่อเวลาผ่านไปอารมณ์เย็นลงผู้เสียหายก็ไม่มาตามสำนวนคดี ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ ทาง พม. จึงเสนอแนะว่า หากมีเรื่องเข้ามาให้แจ้ง พม. ด้วยเพื่อจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้น

    “พอเคสมาให้โทรหา พม. ก่อนเลย เดี๋ยว พม. จะไปคุยข้อเท็จจริงแล้วให้เขาตัดสินใจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ เราไม่ได้พูดเรื่องการไกล่เกลี่ย แล้วด้านเยียวยาเราก็จะดูด้านจิตใจ ด้านการรักษาต่อไป ทางด้านสวัสดิการต่าง ๆ ก็คุยเข้าใจตรงกันแล้วว่าต่อไปนี้เราต้องทำงานกับพนักงานสอบสวนระดับพื้นที่ทุก สน. ในกรุงเทพฯ ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้ท่านก็จะโทรมาหา พม. เพื่อที่จะลงไปพูดไปคุย” นางกุสุมา กล่าว

    เสียงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ โดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

    ประเด็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ยังมีข้อสังเกตเรื่อง “การเชื่อมโยงฐานข้อมูล” อาทิ ข้อมูลจาก พม. ในปี 2565 มีการรับแจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว 1,550 กรณี ในขณะที่ข้อมูลจาก ศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งตั้งอยู่ในโรงพยาบาลกว่า 900 แห่งทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงเวลาเดียวกัน มีผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเดินทางเข้ามารับบริการ 16,270 คน เป็นหญิง 15,000 คน ชาย 1,200 คน และ LGBTQ+ 70 คน เห็นได้ชัดว่าจำนวนแตกต่างกันมาก

    นพ.จีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ ผู้แทนจากศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ต้องระมัดระวังในเรื่อง “ข้อมูลส่วนบุคคล” เป็นความลับของคนไข้และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แม้จะมีเจตนาดีอยากแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูครอบครัวที่เกิดเหตุความรุนแรง แต่หากทำไปก็กลายเป็นการกล่าวโทษ (Blame) ครอบครัวนั้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หากผู้เสียหายหรือคนในครอบครัวตัดสินใจ
    แจ้งเองก็จะผ่านขั้นตอนนี้ไปได้

    คุณภัชร์จิรัสม์ ธัชเมฆรัตน์ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และผู้นำท้องถิ่นก็มาจากการเลือกตั้งของคนในพื้นที่ ซึ่ง อปท. นอกจากจะมีบทบาทด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า) แล้วยังรวมถึงคุณภาพชีวิตด้วย ท้องถิ่นเป็นผู้ประสานระหว่างท้องที่ (กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน) ให้ความรู้กับประชาชนเมื่อมีกฎหมายใหม่ ๆ ออกมา ไปจนถึงออก “ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ” หรือกฎหมายที่เกิดจากการทำประชาคมร่วมกันของคนในชุมชน เช่น หากผู้นำท้องถิ่นใดเห็นสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ก็อาจจัดประชาคมพูดคุยกันในชุมชนว่าจะมีมาตรการอย่างไรออกมาป้องกันและแก้ไขได้บ้าง

    ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า หากมองในแง่กฎหมาย ความรุนแรงในครอบครัวจะเป็นคดีอาญาทั้งสิ้น ไม่ว่าความผิดต่อชีวิตและร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับเพศ ไปจนถึงความผิดต่อทรัพย์หรือการหมิ่นประมาท จึงไม่ใช่เรื่องในครอบครัวแต่เป็นเรื่องของสังคม อย่างที่เรียกว่าเป็นอาญาแผ่นดิน แต่วิธีคิดว่าเรื่องในครอบครัวคนนอกไม่ควรยุ่งน่าจะมาจากความพยายามประนีประนอมในครอบครัว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องร้าย ดังนั้นในทางกฎหมายจึงพยายามหามาตรการคั่นระหว่างการดำเนินคดีกับการประนีประนอม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ก่อน

    “เราควรจะมีมาตรการทางสังคม รัฐกับเอกชนร่วมกันที่จะหามาตรการที่มาคั่นกลาง เช่น มาตรการ ตัดสวัสดิการต่างๆ ท้องถิ่นมีสวัสดิการอะไรที่จะให้คนที่ละเมิดความรุนแรงในครอบครัว ค่ารถ ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ค่าผู้สูงอายุ การบริการสังคม คนพิการ ลดหย่อนภาษี ผมว่าสวัสดิการต่าง ๆ เหล่านี้ เอามาเป็นมาตรการเพิ่มขึ้นมาในการที่ยับยั้งตักเตือนก่อนที่มันจะเป็นคดีก็ได้ หรือบริษัทเอกชนมีอาหารกลางวันให้พนักงาน พนักงานคนนี้มีประวัติทำร้ายร่างกาย ความรุนแรงในครอบครัว ก็ตัดอาหารกลางวันเขาไป อย่างนี้เป็นมาตรการทางสังคมที่รัฐและเอกชนสามารถสร้างความร่วมมือกันได้” ดร.น้ำแท้ กล่าว

    อีกด้านหนึ่ง นายกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สะท้อนปัญหา “ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดกับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)” ซึ่งมีทั้งความรุนแรงโดยตรงอย่างการ
    ทำร้ายร่างกาย เช่น เคยมีกรณีพ่อเป็นทหารลงไม้ลงมือซ้อมลูกชายเมื่อรู้ว่าลูกเป็นเกย์ (ชายรักชาย) ไปจนถึงการ
    ตั้งเงื่อนไขบางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น แม่ก้มกราบเท้าลูกชายที่เป็นเกย์เพื่อขอให้แต่งงานกับผู้หญิง
    ซึ่งลูกชายก็ยอมทำตามแม้ชีวิตหลังจากนั้นจะต้องทุกข์ทรมานไปตลอด 

    ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดกับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ มาจาก “4 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ” ได้แก่ 1. ความไม่รู้หรือไม่เข้าใจ 2. ความเกลียดชังหรือกลัว 3. ค่านิยมหรือความเชื่อ และ 4.นโยบายและกฎระเบียบ และมาจาก “4 วิธีคิดที่ทำให้พ่อแม่มองลูกที่เป็นบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในแง่ลบ” ประกอบด้วย 1. มองว่าผิดธรรมชาติ 2. มองว่าบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของครอบครัว 3. มองว่าไม่สามารถสืบวงศ์ตระกูลได้ และ 4. มองว่าจะประสบความล้มเหลวในชีวิต

    จึงมีข้อเสนอว่า “รัฐควรเร่งผลักดันกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ” เช่น กฎหมายรับรองการสมรสของคนรักเพศเดียวกัน กฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ กฎหมายส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น ควบคู่ไปกับการปรับทัศนคติของคนในสังคม ซึ่งการมีกฎหมายจะช่วยหนุนเสริมการเปลี่ยนทัศนคติได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายการเมืองที่จะเข้าไปใช้อำนาจรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม และคนในชุมชนที่ประสบปัญหา

    เสียงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ โดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

    บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
    โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

    ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
    ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

    Shares:
    QR Code :
    QR Code

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    ระบุข้อความ