ห้องย่อย 6: อัตลักษณ์เชิงซ้อนกับความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ
กำหนดการ
Sapphire 105
เวลา | กิจกรรม |
12.30-13.00 น. | เปิดลงทะเบียน |
13.00-13.15 น. | กล่าววัตถุประสงค์การจัดงานกิจกรรมห้องย่อยเกี่ยวกับห้องย่อย
โดย คุณจำรอง แพงหนองยาง รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการในฐานะผู้จัดการโครงการฯ |
13.15-15.00 น. | เวทีเสียงสะท้อนสะท้อนปัญหาและความต้องการที่ประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีอัตลักษณ์เชิงซ้อน
(กลุ่มความหลากหลายทางเพศ ที่มีอัตลักษณ์เชิงซ้อนเป็นคนหูหนวก ข้ามชาติ และพนักงานบริการ ) โดยแกนนำประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีอัตลักษณ์เชิงซ้อน – คุณ Kimhiek Thy – คุณสายสมร มูลวิลัย – คุณนับดาว องคอภิชาต |
15.00-16.45 น. | พลังของอัตลักษณ์เชิงซ้อนเพื่อความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ “ความหลากหลายทางเพศบนความซับซ้อนเเละเปราะบาง” ผศ.ดร.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เเละประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน “ทำงานเพื่อให้โอกาส เพิ่มสิทธิของพนักงานบริการ เเละเเรงงานข้ามชาติ” คุณสุรางค์ จันทร์เเย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ |
16.45-17.00 น. | สรุปประเด็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดย คุณจำรอง แพงหนองยาง รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการในฐานะผู้จัดการโครงการฯ |
ผู้ดำเนินรายการประจำห้อง : ผศ.ดร.ดุสิตา พึ่งสำราญ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรเเละสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล |
กำหนดการ
Sapphire 205
เวลา | กิจกรรม |
12.30-13.30 น. | ลงทะเบียน |
13.30-14.30 น. | สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล |
14.30-15.00 น. | นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร |
15.00-16.30 น. | เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A) |
16.30-17.00 น. | เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร |
สิทธิทางสุขภาวะอันชอบธรรม
ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์เชิงซ้อน
“LGBTIQ+” หรือเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศอันหลากหลาย ประชากรกลุ่มเฉพาะที่ถูกสังคมละเลย ประชากรกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ที่ทับซ้อนของการเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นประชากรที่มีทั้งความเปราะบาง (Vulnerability) และมีความเสี่ยง (Risk) มักถูกจำกัดการเข้าถึงระบบการบริการสุขภาพด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จนเกิดเป็นความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ
LGBTIQ+ กลุ่มความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์เชิงซ้อน 3 กลุ่มนี้
1. กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์ในกลุ่มคนหูหนวก
2. กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์เป็นแรงงานข้ามชาติ
3. กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์พนักงานบริการ
จะเป็นตัวแทนสะท้อนปัญหาผ่านประสบการณ์จริงที่ขาดโอกาสและสิทธิการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยมีโจทย์นำการแลกเปลี่ยนว่า จะทำอย่างไร LGBTIQ+ ที่ถูกขึงตรึงบนปัญหาเหล่านี้ ได้รับการแก้ไขเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้ได้รับโอกาสและมีสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพเหมือนทุกคน
เสียงสะท้อนจากปลายนิ้วมือ ความเงียบที่ดังจาก “ภาษามือ”
กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์ในกลุ่มคนหูหนวก ไม่ได้หมายถึงคนหูหนวกเท่านั้น ยังรวมถึงคนหูตึงด้วย ดังนั้นเสียงของคนกลุ่มนี้จึงพูดผ่าน “ภาษามือ” ปัญหาของคนหูหนวกและหูตึงที่พบบ่อย ก็คือสื่อสารกันไม่เข้าใจ หรือล่ามแปลไม่ครบ ดังนั้นเสียงของคนกลุ่มนี้จึงพูดผ่าน “ภาษามือ” ปัญหาของคนหูหนวกและหูตึงที่พบบ่อย ก็คือสื่อสารกันไม่เข้าใจ หรือล่ามแปลไม่ครบ
“คุณแบงก์” ตัวแทน LGBTIQ+ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน เล่าว่า ตนเป็นคนหูตึง มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่สังคมมองว่าเป็นคนปกติ จริง ๆ แล้ว คนหูตึงเป็นคนพิการที่มีปัญหาการได้ยิน ทำให้ขาดโอกาสทั้งมิติด้านสังคมที่สังคมมองว่าคนหูตึงเป็นคนปกติ ด้านความรู้ระดับมหาวิทยาลัยเพราะขาดความเข้าใจ และไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากใครได้ สุดท้ายต้องลาออกจากระบบการศึกษา สำหรับมิติด้านสุขภาพ ยังขาดโอกาสการเข้าถึงบริการจากสวัสดิการรัฐในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและใส่เครื่องช่วยฟังราคาหลักล้านบาท
“คุณยูโร” Miss Trans Beauty จ.สงขลา LGBTIQ+ กลุ่มคนหูหนวก อีกหนึ่งเสียงสะท้อนการขาดโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพ เพราะรู้สึกอายเวลาไปรับบริการทางการแพทย์ เคยถูกมองจากเจ้าหน้าที่รัฐเวลายื่นบัตรประชาชน โดนบูลลี่ว่าเป็นนาย ทำไมเป็นสาวสอง ทำให้ไม่ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเทคยาฮอร์โมน ที่ปลอดภัยและการตรวจร่างกายระดับฮอร์โมน อยากให้รักคนหูหนวกเท่ากับคนปกติ
เสียงของภาษาอื่นที่แปลกออกไปของแรงงานข้ามชาติ
กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์เป็นแรงงานข้ามชาติถูกทับซ้อนด้วยเงื่อนไขทางกฎหมาย ย้ายถิ่นฐานมาเพื่อหาโอกาส แต่ต้องอยู่อย่างหลบซ่อนเพราะเข้าเมืองมาแบบผิดกฎหมาย ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะสุขภาพ การศึกษาและสิทธิขั้นพื้นฐาน แม้ LGBTIQ+ แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
“ใครก็ได้ช่วยฉันที ขายตัวไม่ใช่อาชญากร My Pussy is my business”
เสียงของภาษาไทยที่ต้องเปิดใจถึงจะได้ยิน
LGBTIQ+ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีอัตลักษณ์พนักงานบริการ เป็นกลุ่มเฉพาะที่มีทั้งความเปราะบางและมีความเสี่ยง เช่น นางโชว์พัทยา นอกจากโชว์ยังถูกบังคับหาแขก กลัวการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก กลัวโดนตบตี กลัวติดโรค กลัวพ่อแม่รู้ กลัวตำรวจจับ กลัวสังคมบูลลี่
พนักงานบริการทางเพศ ไม่ใช่อาชญากร อย่ามองด้วยสายตาดูหมิ่นเหยียดหยาม จนไม่กล้าไปใช้บริการด้านสุขภาพเพียงเพราะมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจนติดโรค
“บริการเป็นธรรม เข้าถึงเท่าเทียม”
ประสบการณ์การต่อสู้เพื่อเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของคนพิการ
พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ถ่ายทอดประสบการณ์ เราจะทำอย่างไรทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจความซับซ้อนของมนุษย์ สำหรับคนหูหนวก สิ่งที่เป็นปัญหาแรกคือ ภาษา
การจะแก้ปัญหาเรื่องภาษาได้นั้น ต้องเรียนภาษามือกันตั้งแต่ในบ้านและโรงเรียน ซึ่งต้องทำให้ภาษาเป็นที่รู้จักและถูกยอมรับ มีการพัฒนาระบบล่ามสู่มาตรฐาน จึงเกิดการพัฒนาบริการสู่การได้รับบริการสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเป็นธรรมทำให้เกิดความเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน
“ความหลากหลายทางเพศบนความซับซ้อนและเปราะบาง”
สังคมไทยยอมรับแต่ไม่เข้าใจ
ผศ.ดร.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สังคมไทยยอมรับ LQBTIQ+ แต่ไม่เข้าใจ สังคมไทยยังยอมรับอย่างมีเงื่อนไข ให้อยู่ร่วมกันได้แต่ได้สิทธิเข้าถึงบริการด้านสุขภาพไม่เท่าเทียม
คนในสังคมต้อง “ไม่มักง่ายที่ไปใส่เครื่องหมายเท่ากับให้คนอื่น” และ “ไม่มักง่ายที่ไม่ใส่เครื่องหมายเท่ากับให้คนอื่น” จนนำไปสู่อคติ
Swing
“ทำงานเพื่อให้เห็นโอกาส เพิ่มสิทธิของพนักงานบริการและแรงงานข้ามชาติ”
คุณสุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (Swing) เล่าว่า อาชีพค้าประเวณีมีมานานแล้ว ภาพความเข้าใจของคนทั่วไปมีเฉพาะเพศหญิง แต่ในความเป็นจริงไม่ได้มีเพียงเพศเดียว
ด้วยอาชีพของพนักงานบริการถูกผลักให้มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เมื่อติดโรคก็ไม่กล้าไปรับบริการ กลุ่มคนนี้รู้สึกเจ็บปวด ต้องการพื้นที่และมีกลุ่มสนับสนุน
สังคมไทยต้องไม่ใจร้าย ต้องเปิดใจให้พื้นที่ให้พวกเขามาคิดร่วมกัน เพื่อฟื้นคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้รักและเคารพตัวเอง ได้ออกมาสร้างพลังให้สิทธิเหมือนกับคนในสังคม โดยต้องร่วมกันสร้างพื้นที่ ค้นหาในสิ่งที่ต้องการ เป็นเครือข่ายกัน กำหนดช่องทางและเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบในการจัดบริการด้านสุขภาพไปให้สุดในเรื่องการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม LGBTIQ+ เชื่อว่าถ้าไปด้วยกัน จะไปได้ไกลอย่างแน่นอน
บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.
ดาวน์โหลด