ห้องย่อย 2: ส่งเสริมสุขภาวะดีให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ

                            การนำเสนอประสบการณ์และบทเรียนที่เกิดขึ้นจากแนวทางการจ้างงานเชิงสังคมและการเพิ่มโอกาสการมีงานทำและรายได้ของคนพิการ ผ่านการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จเกิดการแลกเปลี่ยนและสะท้อนอุปสรรค ความต้องการโอกาสและความมุ่งมั่นในการมีรายได้ในแต่ละกลุ่มประชากรอาทิ ผู้สูงอายุ กลุ่มคนไร้บ้าน ผู้ต้องขัง และแรงงานนอกระบบ รูปแบบการสนับสนุนและการลงทุนเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงาน หรือแก้ปัญหาจากเสียงสะท้อนของประชากรกลุ่มเฉพาะส่งเสริมการมีรายได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กำหนดการ

Grand Diamond

เวลา กิจกรรม
09.30-10.00 น. ลงทะเบียน
10.00-10.10 น. เกริ่นนำเข้าสู่ห้องย่อย
พิธีกร
คุณปาณิสรา เพชรดิน เจ้าหน้าที่มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (SIF)
คุณสายชล คล้อยเอี่ยม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

10.10-11.50 น. วงเสวนา
กินดี : การกินอาหารที่ดี เปลี่ยนเเปลงสุขภาพให้ดีขึ้นได้
อยู่ดี : การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกลุ่มเปราะบาง

โดย ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ประธานกรรมการบริหารเเผน คณะที่ 2 สสส.
เเละเเขกรับเชิญเล่าประสบการณ์จริง จากผู้เเทนผู้สูงอายุ เเละคนพิการ

ตัวเเทนผู้สูงอายุ : ป้าโอ๋ สินีนาฎ ฮะตระกูล มนุษย์ต่างวัย
ตัวเเทนคนพิการ : คุณสิตีฮาหยาด เย็นจิต เลขานุการชมรมคนพิการจังหวัดสตูล

11.50-12.00 น. ชวนขยับกับเพลง 70 วัน มหัศจรรย์ของฉัน
นำเต้นโดย : น้องเสือ ฉายวิชญ์ สุจริตกุล
คนพิการทางสติปัญญาดาวน์ซินโดรม/พรีเซ็นเตอร์ Colgate/นักดนตรี เเละนักกีฬาทีมชาติ
                           เมืองที่ไม่ทิ้งใคร (Inclusive city) ต่างก็เป็นเมืองที่หลายเมืองใฝ่ฝัน เมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่และบริการทั้งหมดในเมืองได้อย่างสะดวกและไร้รอยต่อ ซึ่งการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครไม่ใช่เรื่องง่าย หลายเมืองไม่รู้จะเริ่มสร้างอย่างไร จะต้องใช้กระบวนการ กลยุทธ์และวางแผนอย่างไรท่ามกลางข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้จะนำเอาผู้บริหารเมืองและระบบขนส่งสาธารณะมาพูดคุยกันเพื่อนำเอาบทเรียน ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จในการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครมาเล่าสู่กันฟัง สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงให้แนวทางในการพัฒนาแก่เมืองอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาเมืองเพื่อคนทั้งมวล

กำหนดการ

Sapphire 205

เวลา กิจกรรม
12.30-13.30 น. ลงทะเบียน
13.30-14.30 น. สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
14.30-15.00 น. นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
15.00-16.30 น. เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
  • เมืองดีเด่นด้านการออกแบบเมืองเพื่อคนทั้งมวลของประเทศญี่ปุ่นสร้างได้อย่างไร
    ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น
  • กรุงเทพ…เมืองท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร
  • ทิศทางและอนาคตการพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง (TOD) ของประเทศไทย
    ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ผู้ดำเนินรายการ: นายสว่าง ศรีสม
    ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
    16.30-17.00 น. เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร

    โครงการ ‘70 วันมหัศจรรย์ของฉัน’ เปิดลงทะเบียน
    ชวนผู้สูงอายุ คนป่วย และคนพิการดูแลสุขภาพไปด้วยกัน

    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ร่วมกับ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม จัดประชุมย่อยในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 เรื่อง ส่งเสริมสุขภาวะดีให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ หัวข้อ “70 วัน มหัศจรรย์ของฉัน เปลี่ยนฉันคนใหม่ ที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน” โดยมีวิทยากรที่ประสบผลสำเร็จด้านการดูแลสุขภาพร่างกายและการลดน้ำหนักจากหลากหลายกลุ่มประชากรเฉพาะมาร่วมพูดคุย

    ส่งเสริมสุขภาวะดีให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ โดย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (SIF)

    คุณสายชล คล้อยเอี่ยม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โครงการ 70 วันมหัศจรรย์ของฉันนั้นพยายามวิเคราะห์หาเวลาที่เหมาะสมว่าต้องใช้เท่าไรจึงจะสามารถดูแลสุขภาพของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการทดลองมาแล้ว 6 ซีซั่น (ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครซีซั่นที่ 7) ซึ่งได้คำตอบมาแล้วว่า ควรจะใช้เวลา 70 วัน โดยทางโครงการจะมีกิจกรรมให้ทำทุกวัน อาทิ กิจกรรม 4 ภารกิจพิชิตสุขภาพดี ได้แก่ การออกกำลังกาย, กินผัก 4 กำมือ, ลดหวาน, และดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร นอกจากนี้ยังมีการส่งต่อข้อมูลความรู้มากมายผ่านการพูดคุยออนไลน์อย่างใกล้ชิดระหว่างดำเนินโครงการ

              “แต่ละซีซั่น ให้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ น้ำหนักที่ลดลงไปของสมาชิกนั้น เมื่อนำมารวมกันแล้วได้เท่ากับลูกช้าง 4 ตัวในซีซั่นแรก ๆ แต่ในปัจจุบันเพิ่มเป็นลูกช้าง 8 ตัวแล้ว และลดการดื่มน้ำหวานได้ 3 หมื่นกว่าแก้ว ในเวลา 70 วัน คิดเป็นเงินเกือบ 1 ล้านบาท ตอนนี้กำลังเปิดรับสมัครผู้ร่วมโครงการในซีซั่นที่ 7 ซึ่งจะเริ่มทำภารกิจ 1 พฤษภาคม และขอแนะนำว่าการที่จะทำให้ผู้ร่วมโครงการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ถ้าอยากหุ่นดี สมาร์ท ก็ต้องร่วมโครงการ 2 ซีซั่นเป็นอย่างน้อย”

    ด้าน ดร. นพ.พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ ประธานบริหารแผน คณะที่ 2 สสส. แนะนำว่า ควรจะดูแลตัวเองโดยการยึดหลัก 9 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อากาศ อนามัย อบายมุข อิริยาบถ อุบัติเหตุ และโอสถ โดยในส่วนของสุขภาพกายและสุขภาพจิตซึ่งต้องดูแลควบคู่กันนั้น ก็ให้เน้นไปที่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และอิริยาบถ

    อาหาร ให้กินผักครึ่งนึงอย่างอื่นครึ่งนึง ถ้าผักไม่ได้ก็ให้เลือกเป็นผลไม้ ฝาด เปรี้ยว ขม ลดกะทิ ลดเค็ม ถ้าต้องการปรุงรสเค็มให้ท่องว่า ‘ความดันๆๆ’ และให้ออกกำลังกายง่าย ๆ อย่างการทำท่านั่งเก้าอี้ การแกว่งแขน ยืดเหยียด และเดิน วันละ 30 นาที ฝากไว้ว่า การเดิน 1 นาที ทำให้อายุยืนขึ้น 12 นาที สำหรับอารมณ์นั้น ให้ฝึกยิ้มให้ได้ทุกวัน ลดความวิตกกังวล หากทำไม่ได้ลองฝึกด้วยการเซลฟี่ แล้วยิ้มให้กล้อง วิธีการนี้จะทำให้เรายิ้มโดยอัตโนมัติ คิดบวก นึกถึงแต่เรื่องสนุก และออกไปสูดอาการบริสุทธิ์บ้าง อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก แล้วฝึกลมหายใจ เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงฝุ่นละออง และเมื่อเข้าร่วมโครงการ 70 วันฯ แล้ว ให้มุ่งมั่นตั้งใจ อย่าท้อถอย เพราะโครงการจะทำให้เราอายุยืนอย่างมีคุณภาพ

    ส่งเสริมสุขภาวะดีให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ โดย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (SIF)

    ส่วน คุณสินีนาฎ ฮะตระกูล อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุที่แม้จะอายุย่างเข้าปีที่ 70 แล้ว แต่ยังคงสดใส แข็งแรงกล่าวว่า ตนดูแลเรื่องโภชนาการเป็นหลัก พร้อมๆ กับการดูแลจิตใจ และตั้งเป้าจะมีชีวิตอยู่ถึง 150 ปีแบบฟิตเฟิร์มจนวันสุดท้ายของชีวิต

              “เราศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการมานานมาก จนรู้ว่าโภชนาการคือสิ่งที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพทั้งภายในจนออกมาสดใสสู่ภายนอก ให้ปรับโภชนาการเอาทอด เค็ม มัน หวาน ออกจากอาหารที่เรากิน แล้วชีวิตก็จะดีขึ้น จงถามตัวเองว่าอยากจะเป็นโรคร้ายแรงไหม ถ้าไม่อยาก เราก็ต้องดูแลตัวเอง สำหรับเรื่องการควบคุมน้ำหนักนั้น ไม่ต้องไปสนใจตัวเลข แต่ให้สนใจบอดี้แฟต (body fat) เน้นลดไขมัน โดยเฉพาะไขมันในช่องท้องซึ่งถ้ามีเยอะก็จะสามารถทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว จากนั้นเพิ่มกล้ามเนื้อโดยโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพราะการลดน้ำหนักโดยการพุ่งความสนใจไปที่ตัวเลขน้ำหนักนั้นจะนำมาซึ่งการโยโย่เสมอ และจะย้วย เพราะมันปล่อยน้ำ มวลกล้ามเนื้อ รวมถึงมวลกระดูกออกไปจากร่างกายด้วย แต่ไขมันกลับอยู่เท่าเดิม แค่กินน้ำก็อ้วนเท่าเก่าแล้ว และการปล่อยให้โยโย่บ่อย ๆ จะทำให้ระบบเผาผลาญพังได้”

              “เราแนะนำให้กินดี ไม่ใช่กินแพง กินอย่างที่ร่างกายต้องการ ไม่ใช่อย่างที่เราอยากกิน อย่างโปรตีน ไม่จำเป็นต้องกินโปรตีนเชคซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ราคาแพง แต่สามารถหาโปรตีนจากอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนของเราได้ เช่น ไข่ ปลานิล ปลาท้องถิ่น ดื่มน้ำให้มาก ถ้าคนทั่วไปจะแนะนำว่าให้ดื่มวันละ 3 ลิตร ลดเค็มอย่างเด็ดขาด ถ้าจะกินปลาเผาก็ต้องไม่มีหนัง เพราะหนังของปลาจะเค็มมาก และเมื่อทำได้แล้ว ให้ชื่นชมตัวเองให้บ่อยครั้งจากจุดเล็กๆ นั้นทุกวัน และหยุดคิดว่าตัวเองแก่ ให้ตัดคำว่าแก่ออกไปจากภาษาไทยได้เลย ให้เน้นการนึกถึงเป้าหมาย โฟกัสสิ่งที่ต้องการ และมีระเบียบวินัยอย่างต่อเนื่อง คิดแบบนี้อาจจะมีคนมองว่าแปลก แต่ไม่ต้องสนใจ เราสนใจที่จะพัฒนาเฉพาะคนในกระจกเท่านั้นก็พอ”

    ส่งเสริมสุขภาวะดีให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ โดย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (SIF)

    ด้าน คุณสิตีฮาหยาด เย็นจิต เลขานุการชมรมคนพิการจังหวัดสตูล ตัวแทนกลุ่มคนพิการ เล่าให้ฟังว่าหลังจากลงพื้นที่แล้วพบว่า มีเพื่อนพิการในชุมชนรวมถึงตนเองและคนธรรมดาทั่วไปนั้น มีปัญหาเรื่องสุขภาพกันอย่างมาก ซึ่งจะเสี่ยงต่อการต้องอยู่ในสภาวะเป็นผู้พึ่งพิงในอนาคต จึงได้เข้าร่วมโครงการ 70 วันมหัศจรรย์ของฉัน ซึ่งผลตอบรับดีขึ้นกับหลาย ๆ คนเป็นอย่างมาก ทั้งตนเองซึ่งเป็นคนพิการ เด็กวัยรุ่นซึ่งป่วยเป็นเบาหวานขั้นวิกฤติ ละคนอื่นๆ ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจนถูกแพทย์สั่งให้ลดความอ้วนอย่างเร่งด่วน

              “ยิ่งอ้วนยิ่งสุขภาพแย่ เราจึงพยายามมองหาตัวช่วย แรกเริ่มคือทำให้เป็นเรื่องสนุก เช่น แอโรบิกในท่านั่ง ตอนแรกทำ 5 นาทีก็เหนื่อยแล้ว แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ 30 นาทีก็ไม่ถึงกับเหนื่อย ยังคงทำได้ แต่ที่เห็นผลได้ชัดคือ ทุกคนที่ร่วมโครงการในชุมชนนั้นสุขภาพดีขึ้นแบบวัดผลได้ เป็นความแข็งแรงจากภายใน”

    ด้าน คุณโสภา สุจริตกุล คุณแม่ของน้องเสือ ฉายวิชญ์ สุจริตกุล น้องออทิสติกที่หลงรักการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก จนตอนนี้ผันตัวเองมาเป็นครูอาสาสอนน้องๆ ออกกำลังกายโดยการเต้นอย่างสนุกสนานกล่าวว่า กีฬาเป็นยาวิเศษจริงๆ เพราะก่อนที่จะมาออกกำลังกายนั้น ลูกชายตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจรั่ว แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกาย รอยรั่วนั้นอาจจะปิดเองได้ แล้วก็ปิดได้จริง ๆ

              คุณโสภากล่าวว่า เด็กที่ป่วยแบบนี้ไม่ค่อยอยากขยับตัว ต้องสร้างนิสัยว่า ให้ออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน ประกอบกับเสือเป็นคนที่ชอบกิจกรรมสันทนาการอยู่แล้ว จึงฝึกได้ไม่ยาก และยังนำวิธีการนี้ไปใช้กับกลุ่มคนพิการอื่น ๆ เช่น สมาคมคนพิการทางสติปัญญาจนตอนนี้ได้เด็กอย่างน้องเสือมาแล้วมากมายหลายคน

              “นอกจากนิสัยการออกกำลังกายที่เขาชอบอยู่แล้ว เราก็ฝึกการทำงานเป็นจิตอาสาให้เขาด้วย ตอนนี้น้องเสือออกแบบท่าเต้นในเพลงโครงการ 70 วันมหัศจรรย์ของฉัน แล้วก็ไปชวนน้องๆออกทิสติกมาออกกำลังกาย จนแม่ได้เสือมา 12 ตัวแล้ว และมีการขยายไปมูลนิธิอื่น ๆ ก็พยายามจะสร้างเสือให้ได้ 50 คนภายในปีนี้”

              “เราฝึกจากสิ่งที่เขาชอบ เขาชอบอะไรก็ส่งเสริมไปทางนั้น อย่างเขาชอบเต้นเราก็ให้เขาไปเรียน ตอนนี้เสือเต้นได้หลายอย่าง ทั้งเคป๊อบ ไทยป๊อบ ลูกทุ่ง รถแห่ ได้หมดทุกแนว ส่วนเรื่องจิตอาสานั้น เราก็อยากส่งเสริมเขา ไม่อยากให้สังคมมองว่าเขาเป็นภาระ แต่สามารถช่วยเหลือสังคมนี้ได้ด้วย”

    ส่งเสริมสุขภาวะดีให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ โดย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (SIF)

    ด้าน น้องเสือ ฉายวิชญ์ กล่าวฝากไปยังน้อง ๆ ออทิสติกคนอื่น ๆ ว่า “อยากให้ทุกคนมีความสุข”

              “เวลาได้เต้นก็มีความสุข เราอยากให้น้องๆ มีความสุขไปกับเราได้ และอยากให้มีร่างกายแข็งแรง ถ้าออกกำลังกายไหว ก็ขอให้ลุกขึ้นสู้”

              โครงการ ‘70 วันมหัศจรรย์ของฉัน’ ซีซั่น 7 เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว สอบถามได้ที่ เฟสบุ๊ก: มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม และ https://70day.sif.or.th/ เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะที่ดีขึ้นทั้งระบบ

    บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
    โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

    ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
    ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

    Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.


    ดาวน์โหลด
    Shares:
    QR Code :
    QR Code

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    ระบุข้อความ