ห้องย่อย 2: สิทธิสวัสดิการเสมอกันสู่สังคมเท่าเทียมเสมอหน้า
กำหนดการ
Sapphire 202
เวลา | กิจกรรม |
13.00-13.30 น. | ลงทะเบียน |
13.00-14.00 น. | เส้นทางสวัสดิการสังคม การขับเคลื่อนสู่ความเท่าเทียม คุณนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการโครงการเสริมพลังเครือข่ายขับเคลื่อนสวัสดิการสังคม ฯ (คคสส.) |
14.00-15.30 น. | การปาฐกถาวิชาการ “สิทธิสวัสดิการเสมอกันสู่สังคมเท่าเทียมเสมอหน้า” “แนวทางการสร้างระบบภาษีและการปฏิรูประบบงบประมาณเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ” โดย ศาสตราจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร “ยุทธศาสตร์และความเป็นไปได้ในการสร้างรัฐสวัสดิการ” โดย รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี “สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำเเละความเปราะบางในสังคมไทย” โดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
15.30-16.30 น. | กิจกรรมการเรียนรู้ บอร์ดเกมส์ Welfare Choice การเรียนรู้ชุมชนจำลองชนชั้นทางสังคมกับการเข้าถึงสวัสดิการสังคม รอบที่ 1 สวัสดิการสวัสดิกรรม รอบที่ 2 บททดลองการออกแบบความเท่าเทียม รอบที่ 3 ฉันทามติสู่ทางเลือกสวัสดิการสังคม |
16.30-17.30 น. | กิจกรรมการเรียนรู้ การ์ดเกมส์สถานีสวัสดิการกับประชากรกลุ่มเฉพาะ
การเรียนรู้สิทธิสวัสดิการกับสิทธิประชากรกลุ่มเฉพาะ 5 ฐาน ได้แก่ (1) เด็กเล็ก (2) การศึกษา (3) ผู้สูงอายุ (4) สตรี (5) ภาษีงบประมาณเพื่อสวัสดิการ |
“8 ความถดถอยกับ 9 ข้อเสนอสู่รัฐสวัสดิการของสังคมไทย”
เสียงจากประชาชนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงสิทธิสวัสดิการสู่ความเท่าเทียม กล่าวถึง “8 ความถดถอยกับ 9 ข้อเสนอสู่รัฐสวัสดิการของสังคมไทย” ได้แก่ 1. วิกฤตการณ์ความยากจนและคนเกือบจนที่มีเป็นจำนวนมากในประเทศมาพร้อมหนี้สินครัวเรือนและคนจนถึง 50% เข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐบาล 2. ความเหลื่อมล้ำที่ไม่ใช่แค่รายได้ สิทธิสวัสดิการที่มากกว่าควรจะได้กับไม่ได้ 3. วิกฤตการณ์ความเปราะปรางของกลุ่มเฉพาะ เช่น ลูกคนจนอัตราการเข้ามหาวิทยาลัยน้อยกว่า เบี้ยผู้สูงอายุน้อยไป แรงงานอิสระและนอกระบบเข้าไม่ถึงระบบประกันสังคม 4. ความไม่มั่นคงของประชาชนทั้งทางเศรษฐกิจ เสรีภาพการเมืองประชาธิปไตย 5. สวัสดิการประชาชนต่ำกว่าสวัสดิการของข้าราชการ และงบกระทรวงกลาโหมที่มากเกินไป 6. เงินอุดหนุนสำหรับเด็กเล็กแต่การเข้าถึงนั้นน้อยมากถึงมากที่สุด อีกทั้งคนจนจำนวนมากยังตกจากการคัดกรอง 7. บำนาญประชาชน กฎหมายที่ไม่มีการรับรองจากนายก 8. การเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมมนูญ และการเข้าไม่ถึงสวัสดิการจากรัฐบาล
9 ข้อเสนอที่ควรเข้าสู่พรรคการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสวัสดิการของประเทศไทย ประกอบด้วย 1. เงินอุดหนุนเด็กช่วงอายุ 0-18 ปี โดยใช้เกณฑ์ความยากจนควรมีเงินอุดหนุนคนละ 3,000 บาทต่อเดือน และอายุ 19-22 ปี 3,000 บาทต่อเดือนเช่นกัน เพื่อไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา สุดท้ายศูนย์เลี้ยงดูเด็ก ควรมีศูนย์ดูแลเด็กเล็กอายุ 0-3 ปี 2. การศึกษาชั้นอนุบาลถึงมัธยมตอนปลายปีที่ 6 และในมหาวิทยาลัยอยากให้เรียนฟรีได้จริง เพราะการศึกษาทุกช่วงวัยทุกคนควรมีสิทธิที่ควรเข้าถึงได้ 3. หลักประกันสุขภาพขอเสนอให้มีการรวมกองทุนสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชนอย่างเท่าเทียมทุกระดับชั้นโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำและครอบคลุมทุกอาชีพ 4. ที่ดินและที่อยู่อาศัย กลุ่มคนรายได้ปานกลางที่เข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ รวมถึงผู้มีรายได้น้อยจากชุมชนแออัด ข้อเสนอขอให้อัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยและการเกษตรไม่เกิน 2% ขอให้ลดดอกเบี้ยและสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อเช่าโดยสัมพันธ์กับรายได้ในพื้นที่ สุดท้ายอยากให้มีเงินสนับสนุนสำหรับวัยกำลังสร้างตัวในอายุ 18-28 ปี เพื่อให้เขามีที่อยู่อาศัยในอนาคต 5. งานและรายได้ ค่าจ้างพื้นฐานต้องปรับตามเงินเฟ้อทุกปีเพื่อสอดคล้องกับเศรษฐกิจรวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับสถานการณ์นั้น ๆ สุดท้ายลดชั่วโมงทำงาน 6. ประกันสังคมอยากให้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์ทุกมาตราให้มากขึ้น และให้เหมาะกับทุกคนที่ยังเข้าไม่ถึง อย่างคนไร้บ้านและแรงงานนอกระบบ 7. ระบบเงินบำนาญประชาชนที่ควรปรับตามเงินเฟ้อให้เขามีเงินเก็บมากขึ้นเมื่อเกษียณ 8. สิทธิทางสังคม พหุวัฒนธรรมประชากรกลุ่มเฉพาะ คนพิการ LGBTQ+ กลุ่มเพศสภาพต่าง ๆ เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ ชาติพันธุ์ชนเผ่า และสตรี ข้อเสนอยกตัวอย่าง คนพิการต้องเพิ่มเบี้ยขึ้นและอุปกรณ์สนับสนุนที่เพียงพอ และคนไร้บ้าน ชาติพันธุ์ควรเข้าถึงสวัสดิการสังคม 9. ภาษีและงบประมาณ การปฏิรูปภาษี อยากเห็นภาษีความมั่งคั่ง เก็บภาษีคนรวย พัฒนาภาษีจากการลงทุน อัตราภาษีก้าวหน้า การปรับปรุงการลดหย่อนภาษี การจัดการงบกลาโหมและการจัดการงบประมาณของรัฐบาล ท้ายสุดมีนายกคนหนึ่งกล่าวว่า “คนจนไม่เคยเสียภาษีนั้นไม่จริง เพราะภาษีที่ได้มากสุดมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีที่มาจากทุกคนถือว่าเป็นภาษีถดถอย”
การหารายได้รัฐเพื่อใช้ในการสร้างระบบสวัสดิการถ้วนหน้าของไทย สิทธิของประชานคือหน้าที่ของรัฐบาล อำนาจรัฐและการจัดการภาษีไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงแต่รัฐบาลไม่มีความสามารถดูแลจัดการได้จึงทำให้ประเทศไทยอยู่ระดับล่าง ๆ ประชาชนจึงเป็นตัวการสำคัญในการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง เพราะประเทศไทยยังเป็นประเทศกระจุกตัวของทรัพย์สินแล้วเมื่อมีการเข้าสู่การเมืองก็ยังคงไว้ความคุ้นชินกับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ระบบภาษีมันไม่แฟร์เพราะเน้นการเก็บภาษีด้านรายจ่าย เราควรเพิ่มอัตราภาษีอัตรามูลค่าเพิ่ม เช่น อสังหาริมทรัพย์ ปรับภาษีเงินได้ให้เหมือนกับประเทศในยุโรป แล้วภาษีเงินได้ควรสามารถอ้อมได้หรือลงทุนได้เหมือนกันหมด แต่ภาษีที่ประเทศแยกกันหมดทำให้เกิดความรั่วไหลเยอะ ยกเลิกให้อภิสิทธิ์ถ้าปรับได้เราจะเพิ่มภาษีตรงนี้ได้เยอะ ขณะที่รัฐบาลไทยมีส่วนแบ่งสูงสุดของที่ดินโดยที่เอกชนน้อยสุด หมายความว่าที่ดินไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่มีรายได้เพราะการครอบครองที่ดินเกินจำเป็น แต่ถ้าเป็นเอกชนสามารถสร้างรายได้นั้นทำให้มีรายได้เรียกเก็บภาษีได้มากขึ้น นักเศษฐศาสตร์กล่าวว่ามีความสนใจที่จะช่วยเรื่องสวัสดิการเพราะเห็นว่าศักยภาพคนไทยมีความสามารถเพียงพอที่จะร่วมกันเปลี่ยนแปลง และพรรคการเมืองมีหน้าที่สำคัญสู่การเปลี่ยนแปลง
เป้าหมายความเป็นไปได้และยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง เกริ่นว่าทำไมเวลาฝนตกต้นไม้ถึงไม่ได้รับน้ำเท่ากันทุกต้น เปรียบเหมือนงบประมาณที่เข้าไม่ถึงประชาชนทุกคน เราต่างเกิดมาพร้อมกับของฟรี อากาศ กอด และรอยยิ้ม แต่ทำไมการให้สวัสดิการแบบครบถ้วนถึงมองว่าทำให้คนขี้เกียจไม่อยากทำงาน แต่ทำไมค่ารักษา การศึกษา รวมถึงการดูแลคนแก่นั้นไม่ฟรี คำถามคือเราสามารถหวังทุกอย่างได้ไหม เงินสนับสนุนการศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัยหวังมากเกินไปไหม ทำไมข้าราชการถึงมีเงินอุดหนุนแต่ประชาชนธรรมดากับไม่มี ทั้งหมดนี้คือหลักการที่ประชาชนควรอยู่ในสังคมที่เท่าเทียม We Fair เป็นหนึ่งในเครือข่ายที่เป็นแรงผลักดันสำคัญของการต่อสู้เพื่อสวัสดิการ คือ ทำลายเผด็จการของคนมีอำนาจให้หมด มนุษย์ทุกคนควรมีชีวิตที่ดี ลดอำนาจทางการเมืองของชนชั้นนายทุน ความเชื่อมั่นร่วมที่ว่าพวกเราควรอยู่ในสังคมที่ดีกว่านี้ ที่สำคัญเงินเลี้ยงดูเด็กถ้วนหน้า 3,000 บาทต่อเดือนและการพลักดันให้เรียนมหาวิทยาลัยฟรีพร้อมมีเงินเดือนไม่มีหนี้ แต่สังคมไทยใจร้ายเพราะมองว่าการเป็นหนี้คือการสร้างความฝัน ประกันสังคมถ้วนหน้าต้องผลักดันให้รัฐบาลซื้อประกันให้ ชดเชยการว่างงาน ผลักดันการจ้างงาน เชื่อว่าสังคมจะปลอดภัยและมีค่าเฉลี่ยของการมีชีวิตที่ดีขึ้น บำนาญถ้วนหน้าที่ต้องจัดสรรให้ครอบคลุมอยากให้เน้นสวัสดิการแบบนอร์ดิกถึงจะเก็บภาษีแพงถึง 40% แต่เป็นการเก็บภาษีแบบขั้นบันไดและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สรุปว่าถ้าประชาชนที่ไร้อำนาจไม่มีทุน ไม่มีทรัพยากร เราต้องรวมตัว และส่งเสียงอภิสิทธิ์ชนให้พวกเขาไม่กล้าคิดแทนพวกเรา ทำให้เขารู้ว่ามาจากเสียงประชาชนที่แท้จริงประชาชนนั้นคือ สิ่งที่สามารถส่งเสียงได้และสิ่งที่ควรจะได้รับคือระบบสวัสดิการจากรัฐบาลอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย พบความท้าทายอีกหลายด้าน อาทิ ด้านทรัพย์สินในสังคมไทย ความไม่เสมอภาคทั้งด้านรายจ่ายและรายรับที่ลดน้อยลง การถือครองทรัพย์สินที่มากกว่ารายได้และรายจ่าย โดยกลุ่มที่รวยที่สุดจะมีทรัพย์สินค่อนข้างสูงมากคนทั่วไป ด้านรายได้และรายจ่ายคือความเหลื่อมล้ำมากที่สุด คือความแตกต่างของปัจจัยโครงสร้างเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคที่ไม่เท่ากันไปจนถึงความแตกต่างของการพัฒนาของแต่ละภูมิภาคโดยเฉพาะการศึกษาที่ไม่เท่ากัน ด้านภาษีเงินได้วิเคราะห์จากระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านการศึกษา ที่ระดับปริญญาตรีนั้นลดลง หลุดออกจากการศึกษาไม่มีโอกาส โดยที่นักเรียนยากจนจะมีคะแนนสอบที่ต่ำกว่ารวมถึงนักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดนั้นน้อยกว่านักเรียนในเมืองอุปกรณ์การเข้าถึงก็น้อยกว่าเช่นกัน ด้านสาธารณสุข การมีคุณภาพชีวิตที่ดีรับมือและป้องกันได้ทุกชนชั้นแต่สวัสดิการสังคมของไทยมีการคุ้มครองที่ไม่ถึง 100% และยังมีประชาชนบางกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการที่ควรจะได้จากรัฐบาลด้วยซ้ำ ด้านสวัสดิการสังคม ควรแก้ปัญหาความยากจนอย่างจริงจรังและเพิ่มโอกาสให้มากขึ้นแก่เด็กที่เป็นสมองของชาติ กลุ่มแรงงานที่ควรได้รับความคุ้มครอง กลุ่มผู้สูงอายุควรได้รับเบี้ยเพิ่มขึ้น ท้ายสุดกลุ่มเปราะบางซึ่งเป็นผู้พิการที่ยากจนควรมีมาตรการดูแลพวกเราอย่างจริงจรัง ด้านที่ดินทำกิน การเข้าถึงแหล่งทุนและโครงสร้างพื้นฐานประชาชนทุกคนควรมีสิทธิที่จะเข้าถึงระบบพื้นฐานได้ทุกคน ด้านกระบวนการยุติธรรม ที่อย่างเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยนั้นไม่มีความยุติธรรมส่วนใหญ่เอื้อผลประโยชน์ต่อนายทุนใหญ่ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายควรเป็นสาธารณะที่เข้าถึงได้เพื่อเป็นประโยชน์การกำหนดนโยบายลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย มีการจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อลดความเลื่อมล้ำและขยายฐานภาษีที่มากขึ้นลดรายจ่ายทางภาษีที่มาจากการลดหย่อนที่เอื้อประโยชน์ต่อบุคคลที่มีความมั่งคั่ง และมีการเก็บภาษีใหม่ ๆ ที่ไม่กระทบแต่คนจนนั้นคือเครื่องมือที่ดีในการลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งต้องพัฒนาการศึกษา ให้ความสำคัญการจัดสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ที่สำคัญลดการใช้จ่ายของภาครัฐที่ไม่จำเป็น
สรุปแล้วความเหลื่อมล้ำ คือ ตัวแปรสำคัญที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยมีสวัสดิการการคุ้มครองที่ไม่เท่าเทียมกันอยู่มาก ดังนั้น รัฐบาลควรเอาจริงเอาจังกับปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสวัสดิการได้อย่างครบถ้วน
บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566 โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.
ดาวน์โหลด