ห้องย่อย 1: การประเมินต้นน้ำ: เครื่องมือพัฒนาข้อเสนอโครงการให้มีคุณภาพ
กำหนดการ
Sapphire 204
เวลา | กิจกรรม |
09.30-10.00 น. | ลงทะเบียน |
10.00-10.15 น. | กระบวนการพัฒนา กลั่นกรองข้อเสนอโครงการให้มีคุณภาพ โดย ผศ.ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
10.15-11.30 น. | แนวคิดและกระบวนการประเมินต้นน้ำ โดย รศ.ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ และทีมวิทยากรกระบวนการ |
11.30-12.00 น. | นำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำอภิปราย โดย รศ.ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ |
12.00 น. | สรุปและปิดการประชุม โดย ผศ.ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ |
กำหนดการ
Sapphire 205
เวลา | กิจกรรม |
12.30-13.30 น. | ลงทะเบียน |
13.30-14.30 น. | สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล |
14.30-15.00 น. | นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร |
15.00-16.30 น. | เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A) |
16.30-17.00 น. | เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร |
เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาวะ
ได้ตั้งแต่ต้นทางด้วย
“กระบวนการประเมินต้นน้ำ”
กระบวนการพัฒนา กลั่นกรองข้อเสนอโครงการให้มีคุณภาพ โดย ผศ. ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ
โดยปรกติในการพัฒนาโครงการเราจะเปิดให้ภาคีเครือข่ายที่ส่งโครงการเข้ามา ได้เข้าพบผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำเสนอโครงการ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้แม้จะเป็นกระบวนการปกติที่นักวิชาการต่าง ๆ ล้วนคุ้นเคยที่เราเรียกว่า “กระบวนการประเมินภายนอก” แต่พบว่ากลุ่มภาคีเครือข่าย ซึ่งอาจเป็นคนทำงานในพื้นที่ เป็นกลุ่มชุมชนซึ่งไม่คุ้นเคย ทำให้ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างเต็มที่ เราจึงออกแบบกระบวนการทบทวนตัวเอง ประเมินตัวเองที่เรียกว่า “การประเมินภายใน” เพื่อให้ภาคีเครือข่ายสามารถทบทวนตัวเองในเบื้องต้นก่อน เข้าใจวิธีการทบทวนและการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะส่งโครงการ
แนวคิดและกระบวนการประเมินต้นน้ำ โดย รศ. ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ
“เราจะใช้การประเมินเป็นเครื่องมือในการเติบโต ช่วยให้เราเก่งขึ้นได้อย่างไร” กระบวนการนี้เราตั้งใจที่จะนำเครื่องมือเรียนรู้เพื่อการพัฒนาข้อเสนอโครงการให้มีคุณภาพ เพราะเรารู้ว่าคนทำงานจำนวนมากไม่สบายใจการประเมิน เพราะรู้สึกเหมือนว่ากำลังถูกตัดสิน แต่ในความเป็นจริงเราสามารถใช้การประเมินเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราเก่งขึ้นได้ และเราซึ่งเป็นคนทำงานภาคสังคมก็ควรต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
เพราะสถานการณ์ปัญหาทางสังคมมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ปัญหาต่าง ๆ ของสังคมจึงไม่อยู่นิ่ง มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทำงานเหมือนเดิมได้ เราต้องเรียนรู้เพื่อที่จะปรับตัวเองและพัฒนาขึ้น เปลี่ยนกระบวนการทำงานของเราให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการทำเหมือนเดิมก็ได้เพียงผลลัพธ์เดิม ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแนวคิดเพื่อให้ได้ผลใหม่ และความรู้ที่จะทำให้เรามองเห็นภาพที่ต่างออกไปคือ การจัดระบบความคิดและสร้างกระบวนการประเมินต้นน้ำของเราเองเพื่อให้เราสามารถประเมินเอกสารโครงการของเราเองก่อนที่จะส่งให้กับผู้ทรงคุณวุฒิได้ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพ
การประเมินก่อนดำเนินโครงการ: การประเมินต้นน้ำ คือ การประเมินสภาพบริบทและการวางแผนโครงการว่า เป็นไปอย่างเหมาะสมเพียงใด โดยพิจารณาจากความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นไปได้ของการดำเนินงาน (การออกแบบกิจกรรม โครงสร้างองค์กร) และผลของโครงการ สิ่งเหล่านี้คือแนวคิดเพื่อค้นหาความเป็นไปได้จริงของโครงการ
ความสำคัญและจำเป็นของการประเมินต้นน้ำ เราต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1. องค์กรทุน สามารถสนับสนุนโครงการที่มีประโยชน์และคุ้มค่าทั้งต่อองค์กรเอง ชุมชน และสังคมโดยรวม 2. องค์กรผู้รับทุน สามารถจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมาย/สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กรทุน (ความรับผิดชอบต่อองค์กรทุน) และ 3. พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง (ความรับผิดชอบต่อกลุ่มเป้าหมาย)
คุณลักษณะของโครงการเชิงรุก ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่
มิติที่ 1 ประสิทธิผลของโครงการ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด
มิติที่ 2 ความเข้มข้นของโครงการ ประกอบด้วย 9 ตัวชี้วัด
มิติที่ 3 การยึดมั่นในสิ่งที่ต้องการจะทำ ประกอบด้วย 13 ตัวชี้วัด
มิติที่ 4 ความสอดคล้องของโครงการ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด
มิติที่ 5 ความเกี่ยวข้องของชุมชน (กลุ่มเป้าหมาย) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด
หากเราสามารถทำความเข้าใจแนวคิด พร้อมใช้เครื่องมือ “แบบประเมินคุณภาพข้อเสนอโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราอาจไม่จำเป็นที่จะต้องไปตัดสิน ไปเป็นผู้ประเมินโครงการคนอื่น แต่สามารถ “ประเมินต้นน้ำ” ให้กับโครงการของเราเองได้ สามารถพัฒนาเอกสารโครงการให้มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาโครงการนั้น ๆ ให้มีความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น
สิ่งที่เราต้องระมัดระวัง สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงในการประเมิน
1. ผลการประเมินเชื่อถือได้หรือไม่
2. การหาข้อสรุปรวมของกลุ่มจะทำอย่างไร
3. มีข้อเสนอต่อการพัฒนาโครงการหรือไม่
4. นักประเมินที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
5. 32 ตัวชี้วัดนี้ใช้ได้จริงหรือไม่ อย่างไร
6. หากเป็นโครงการของเรา ผลการประเมินจะเปลี่ยนไปหรือไม่
7. หากเราเป็นเจ้าของเงิน เราจะอนุมัติโครงการนี้หรือไม่
8. เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในแต่ละครั้งที่ประเมินโครงการ
สรุปและปิดการประชุม โดย ผศ. ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ
การพัฒนาระบบสนับสนุนศักยภาพด้านการติดตามและประเมินผล ภายใต้แนวคิด “นับเราด้วยคน” เป็นกระบวนการที่พัฒนาขึ้นร่วมกับ สำนัก 9 โดยในปีนี้เป็นครั้งที่ 2 เพื่อพัฒนาภาคีเครือข่ายมาเข้าเรียนรู้ โดยมี 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการประเมินต้นน้ำ และหลักสูตรการพัฒนานักประเมินภายใน โครงการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ซึ่งเราคาดหวังว่าจะเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ภาคีเครือข่ายของพวกเราได้รับการพัฒนาไปด้วยกัน
บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.
ดาวน์โหลด