เมื่อเหยื่อเลือกที่จะไม่เงียบ กับการคุกคามทางเพศและ กระแส #METOO ในไทย

เมื่อเหยื่อเลือกที่จะไม่เงียบ กับการคุกคามทางเพศและ กระแส #METOO ในไทย

เมื่อเหยื่อเลือกที่จะไม่เงียบ กับการคุกคามทางเพศและ กระแส  #METOO  ในไทย

.
เมษายน – พฤษภาคม สิ่งที่ร้อนแรงกว่าอากาศกลับกลายเป็นเรื่องราวความอื้อฉาวของสังคมไทยในกรณีการล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะในเชิงการแสดงออก วาจา การคคุกคาม ลวนลามและการข่มขืน ทั้งกรณีอธิการบดีมหาวิทยาลัยดังที่ต้องลาออกจากตำแหน่งจากการโพสต์เชิงคุกคามทางเพศ พระนักเทศน์กับกรณีความสัมพันธ์ลับกับสีกา รวมไปถึงนักการเมืองชื่อดังที่เกี่ยวข้องกับคดีทางเพศมากกว่า 10 ราย
.
เกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย? เป็นเรื่องที่ต้องหาคำตอบกันต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงในสังคมก็คือ “เมื่อเหยื่อเลือกที่จะไม่เงียบ และไม่ยอมเป็นฝ่ายถูกกระทำ?” ก่อนหน้านี้สังคมไทยมักจะมีค่านิยมที่ทำให้เหยื่อนั้นรู้สึกอับอาย หากตกเป็นผู้ถูกกระทำจากคดีทางเพศ ซ้ำร้ายบางกรณีนั้นมีการโยนบาปใส่เหยื่อทั้งในเรื่องการแต่งกายและพฤติกรรมเสียอีก ทั้งที่ว่ากันตามกฎหมายต่อให้เหยื่อแต่งตัวเช่นไรก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปกระทำการคุกคามทางเพศ
.
โดยเฉพาะกรณีของนักการเมืองดัง ซึ่งมีเหยื่อทยอยออกมาแจ้งความอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 กรณี นี่อาจจะเป็นสัญญาณของกระแส   #METOO    ในประเทศไทยก็เป็นได้ เรื่องกระบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวหากเล่าย้อนความนั้นเกิดจากกรณีของฮาร์วีย์ ไวน์สตีน โปรดิวเซอร์มือทองผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์คุณภาพจำนวนมากของฮอลลีวู้ด ที่โดนแฉว่ามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศมากว่า 30 ปี
.
ครั้งนี้มีผู้เสียหายที่เปิดเผยตัวจำนวนกว่า 40 ราย (ยังไม่นับผู้ที่ไม่เปิดเผยตัวซึ่งไม่รู้ว่ามีจำนวนมากเท่าไร) น่าตกใจที่พวกเธอล้วนเป็นนักแสดงและนางแบบอันดับต้น ๆ ของวงการ เป็นผู้หญิงที่ ‘ทรงอิทธิพล’ ในแบบของตัวเอง แต่พวกเธอก็ยังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศอยู่ดี หลายคนเลือกที่จะไม่ออกมาพูดในตอนแรกเพราะอับอาย หรือเกรงกลัวจะกระทบชื่อเสียงทำให้ไวน์สตีนนั้นสามารถลอยนวลพ้นผิดและกระทำกับเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำอีกได้
.
จนกระทั่งบทความ “Harvey Weinstein Paid Off Sexual Harassment Accusers for Decades”ใน The New York Times ซึ่งเปิดเผยว่าไวน์สตีนได้จ่ายค่าชดเชยให้กับผู้หญิงที่ตนล่วงละเมิดทางเพศอย่างน้อย 8 ราย เพื่อปิดปากไม่ให้พวกเธอพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เหยื่อหลายๆคนเริ่มมีความกล้าที่จะออกมาพูดถึงพฤติกรรมคุกคามทางเพศของผู้ทรงอิทธิพลในวงการภาพยนตร์คนนี้
.
และกลายเป็นกระแสครั้งใหญ่เมื่อ อลิซซา มิลาโน นักแสดงอเมริกัน ร่วมกับโรส แม็กโกแวน หนึ่งในผู้เสียหาย ไม่ออกมาทวีตว่า ‘หากคุณเคยถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ จงเขียนสเตตัสว่า ‘Me Too’ แล้วพวกเราอาจจะช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่าปัญหานี้ใหญ่โตเพียงใด’ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับ “เหยื่อ”หลายๆคน ในต่างสถานการณ์กันเลือกที่จะออกมาพูดถึงการคุกคามทางเพศไม่ว่าจะมาจากเพื่อน หัวหน้างาน ครอบครัว ฯลฯ
.
สำหรับในประเทศไทย สสส. ได้แถลงเมื่อวันสตรีสากลที่ผ่านมาถึงกรณีการคุกคามและความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้น โดยนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะประเทศไทยมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก พบว่า ผู้หญิงถูกละเมิดทางเพศ ถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่น้อยกว่า 7 คน/วัน และมีสถิติผู้หญิงที่เข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ประมาณปีละ 30,000 คน ขณะที่รายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พบว่า กว่าร้อยละ 87 ของคดีการถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยถูกรายงาน
.
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระแสตลอดเดือนสองเดือนที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น จากการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิง และบุคคลในครอบครัวของไทยระดับประเทศ พบความชุกของความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.6 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 42.2 ในปี 2563 โดยประเภทความรุนแรงสูงสุดคือ ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 32.3 รองลงมาคือ ความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 9.9 และความรุนแรงทางเพศร้อยละ 4.5
.
ถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องทำให้เรื่องนี้หมดไป และให้กำลังใจเหยื่อให้มีที่ยืนในสังคม พร้อมยืนเคียงข้างให้กล้าแสดงออกเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้น อย่าให้กระแส    #METOO   ในสังคมไทยมาเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
.
#MeToo   #การคุกคามทางเพศ 

 

เเหล่งที่มา      https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ