มองโลก มองไทย ความเท่าเทียมทางเพศของไทยยังอีกไกลแค่ไหน?

มองโลก มองไทย ความเท่าเทียมทางเพศของไทยยังอีกไกลแค่ไหน?

มองโลก มองไทย ความเท่าเทียมทางเพศของไทยยังอีกไกลแค่ไหน?

.
เมื่อปลายปีที่ผ่านมาเกิดกรณีฟ้องร้องระดับโลกเมื่อพนักงานหญิงของ Riot Games Inc.บริษัทเกมในเครือของ Tencent Holdings Ltd. ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ชื่อดัง League of Legends ตกลงจ่ายเงินกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อยุติคดีการเลือกปฏิบัติทางเพศในที่เกิดขึ้นในปี 2018 เรียกได้ว่าเป็นจำนวนเงินมหาศาลมากที่สุดครั้งหนึ่งของคดี “การเลือกปฏิบัติทางเพศ”ในที่ทำงาน มันเกิดอะไรขึ้น?
.
คดีดังกล่าวถูกยื่นฟ้องที่ศาลเมืองลอสแองเจลิส ในเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยอดีตพนักงาน เมลานี แมคคาเคลน และ เจส เนกรอน ได้ฟ้องร้องบริษัทถึงการเลือกปฏิบัติทางเพศ รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ และการประพฤติมิชอบ จนนำไปสู่การที่ข้อตกลงใหม่ระหว่าง Riot และพนักงานทั้งสองคน คือการตกลงจะจ่ายเงิน 80 – 100 ล้านดอลลาร์ ให้กับพนักงาน 2,300 คนที่มีสิทธิ์จะได้รับตามข้อตกลง ในที่นี้รวมไปถึงพนักงานและพนักงานอัตราจ้างผู้หญิงที่เริ่มงานกับบริษัทตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนปี 2014รวมถึงบริษัท จะต้องได้รับการตรวจสอบโดยบุคคลภายนอกเป็นเวลาสามปี ซึ่งจะดูแลเรื่องทรัพยากรบุคคล วิธีการจัดการ และการจ่ายเงินให้กับพนักงานทุกเพศอย่างเป็นธรรม โดยบุคคลภายนอกที่ถูกตั้งขึ้นมานี้
.
นั่นคือบทเรียนระดับโลกที่น่าสนใจ แล้วสถานการณ์การเลือกปฏิบัติทางเพศในที่ทำงานของไทยเป็นอย่างไรบ้าง? ปัญหาการเลือกปฏิบัติทางเพศที่เรามักจะเจอนั้นได้แก่ การให้ค่าแรงต่างกันสําหรับงานชนิดเดียวกัน จํานวนค่าแรงขึ้นอยู่กับคนงานว่าเป็นชายหรือหญิง และการให้ค่าแรงต่างกันสําหรับงานที่มีลักษณะไม่เหมือนกันแต่มีคุณค่าเท่ากัน จํานวนค่าแรงขึ้นอยู่กับงานนั้นว่าเป็นงานที่ผู้หญิงหรือผู้ชายทําเป็นส่วนใหญ่
.
ในปัจจุบันการเลือกปฏิบัติทางเพศไม่ใช่เฉพาะชายและหญิงเท่านั้น แต่รวมไปถึงกลุ่มความหลากหลายทางเพศด้วย งานวิจัยของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในปี 2562 พบว่า แม้ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติเรื่องการยอมรับความแตกต่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วยังถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน โดยผลสำรวจพบว่ากลุ่ม LGBT ทั้งการเลือกปฏิบัติทางเพศแบบเป็นทางการ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับเข้าทำงาน ค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียม การถูกไล่ออก ไปจนถึงการถูกปฏิเสธไม่ให้เลื่อนตำแหน่งด้วยวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ หรือการแสดงออกทางเพศ และแบบไม่ทางการพบได้ในสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การถูกระรานและถูกปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมโดยหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน
.
ปี 2019 World Economic Forum ได้เปิดเผยผลการสำรวจ “ความเท่าเทียมทางเพศ”การสำรวจนี้จัดอันดับโดยใช้ 14 ตัวชี้วัดใน 4 หมวด คือ โอกาสและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ, บทบาททางการเมือง, การได้รับการศึกษา และ สุขภาพและการใช้ชีวิต ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 75 จาก 153ประเทศ ถือว่าอยู่ค่อนไปทางลำดับกลางๆ แล้วสถานการณ์แท้จริงในประเทศของเรานั้นเป็นอย่างไร?
.
ประเทศไทยนั้นเคยผ่านกฏหมายพ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 บัดนี้ถูกนำมาใช้ 7ปีแล้ว ก่อนหน้านี้เคยมีการถอดบทเรียน โดยคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (วลพ.) เรืองรวี พิชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายฯ อภิปรายถึงปัญหา ในเวที “รวมพลังสู่ทางเลือก-ทางรอดของทุกเพศสภาพ : Gender Co-Solutions EP.2 “ทบทวน ปรับปรุงพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558” เมื่อปี 2563 ถึงประเด็นที่น่าสนใจคือ
.
ผู้ถูกเลือกปฏิบัติบางส่วน ไม่กล้ามาร้องคณะกรรมการ วลพ. เพราะเกรงเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่ผู้กระทำซึ่งเป็นทั้งตัวบุคคลและองค์กร สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้ร้องจนเดือดร้อนได้ ฉะนั้นอยากให้คณะกรรมการ วลพ.มีอำนาจเชิงรุก สามารถหยิบยกเรื่องการเลือกปฏิบัติมาไต่สวนและวินิจฉัยได้เอง ไม่ต้องรอให้มายื่นคำร้องก่อนอย่างในปัจจุบัน เพราะการเข้าส่วนกระบวนการนั้นใช้เวลานานทำให้ระหว่างทางที่พิจารณาผู้ร้องเรียนอาจจะอยู่ในสภาวะที่ไม่ปลอดภัยได้
.
องค์กรแรงงานโลก (ILO) ได้ให้เหตุผลถึงความสำคัญของการขจัดปัญหาการเลือกปฏิบัติทางเพศในที่ทำงานว่าสถานที่ทํางานเป็นจุดเริ่มในเชิงยุทธศาสตร์ของสังคมที่ปลอดจากการเลือกปฏิบัติเมื่อสถานที่ทํางานนําคนงานที่มีความแตกต่างกัน อาทิชาติพันธุ์ เพศ และอายุมาอยู่รวมกัน และปฏิบัติต่อคนงานด้วยความเสมอภาค จะช่วยสร้างความสํานึกในเป้าหมายร่วมกัน และจะช่วยลดการลอกเลียนรูปแบบที่เหมือนกันและอคติต่างๆ ที่เป็นหัวใจของการเลือกปฏิบัติออกไปได้ การต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทํางานช่วยลดความเสียเปรียบต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษาในระดับไม่สูง ที่มีผลจากการถูกเลือกปฏิบัติ
.
ถึงเวลาหรือยังที่การเลือกปฏิบัติทางเพศในที่ทำงานจะต้องหมดไปเสียที?

#ความเท่าเทียมทางเพศ     #ILO

.

เเหล่งที่มา        https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ