ชาติพันธุ์คือพลัง: ฝ่าอคติสู่สุขภาวะและสิทธิที่เสมอภาค

ห้องย่อยที่ 2

ชาติพันธุ์คือพลัง: ฝ่าอคติสู่สุขภาวะและสิทธิที่เสมอภาค

กำหนดการ

แซฟไฟร์ 202

09.00-09.30 น.

การแสดงเตหน่ากูพร้อมบทธาปกาเกอะญอ โดย บัญชา มุแฮ (ดิปุนุ)

09.30-12.00 น.

เสวนาพร้อมแลกเปลี่ยน ชาติพันธุ์คือพลัง: ฝ่าอคติสู่สุขภาวะและสิทธิที่เสมอภาค
• นักวิจัยชุมชนชาติพันธุ์ : แนวทางการส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยกระบวนการวิจัย นำเสนอ แนวทางการส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อรวบรวมและต่อยอดองค์ความรู้ ระดับท้องถิ่น สำหรับเป็นฐานการทำงานพัฒนาชุมชนชาติพันธุ์บนฐานวัฒนธรรม
โดย รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย
• พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ : ประสบการณ์วิจัยบนฐานชุมชนชาติพันธุ์ นำเสนอบทเรียนการ ขับเคลื่อนพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอ บ้านแม่ปอคี จ.ตาก ที่ใช้กระบวนการวิจัย ชุมชนเป็นฐานในการรวบรวมข้อมูลชุมชนและจัดทำแผนบริหารชุมชน รวมทั้งการออกแบบกลไกการ จัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่
โดย ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์
• ภูมิปัญญาชาติพันธุ์กับการจัดการภาวะโลกรวน : ทิศทางระดับโลกกับแนวโน้มนโยบายส่งเสริม ภูมิปัญญาชาติพันธุ์ของไทย นำเสนอถึงทิศทางในระดับนานาชาติที่ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญากลุ่ม ชาติพันธุ์กับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพผ่านกลไกการกำหนดเป็นอนุสัญญาต่างๆ ที่ให้การส่งเสริมบทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์ในการจัดการกับภาวะโลกรวน พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มของ รัฐไทยในการส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของชาติพันธุ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยจะมีการนำเสนอให้เห็นถึงสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังเผชิญอยู่ด้วย
โดย นายศักดิ์ดา แสนมี่
• ภาคประชาสังคมกับบทบาทการส่งเสริมศักยภาพชาติพันธุ์ : นำเสนอประสบการณ์ทำงานขององค์กร ภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านชาติพันธุ์ ผ่านกระบวนการสนับสนุนและส่งเสริม ศักยภาพชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ปัญหา และมีศักยภาพในการนำเสนอ ข้อมูลและข้อเท็จจริงของปัญหา รวมทั้งการพัฒนาสร้างกลไกการทำงานในรูปแบบเครือข่ายชุมชนชาติพันธุ์ เพื่อผสานพลังการทำงาน
โดย นายไมตรี จงไกรจักร์
• แนวกันไฟเปียก : นวัตกรรมการจัดการไฟป่าด้วยภูมิปัญญาชุมชน นำเสนอนวัตกรรมการจัดการไฟป่า ของชุมชนปกาเกอะญอ บ้านดอยช้างป่าแป๋ จ.ลำพูน ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับความรู้สมัยใหม่ พัฒนาการจัดการแนวกันไฟในรูปแบบแนวกันไฟป่าเปียก ที่นอกจากจะช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ในชุมชนได้แล้ว ยังช่วยทำให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน
โดย นายบัญชา มุแฮ
• บทสรุปและข้อเสนอเชิงนโยบาย นำเสนอสรุปสถานการณ์ชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อน กฎหมายชาติพันธุ์ พร้อมข้อเสนอแนะในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธ์ุ
โดย นายอภินันท์ ธรรมเสนา

Shares:
QR Code :
QR Code