สสส. สานพลัง สสป. หนุนเสริมการจัดบริการทางสังคมโดยภาคประชาสังคม “เครือข่ายรักจังสตูล” เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในกลุ่มผู้หญิงมุสลิม

สสส. สานพลัง สสป. หนุนเสริมการจัดบริการทางสังคมโดยภาคประชาสังคมผ่านเครือข่ายรักจังสตูล โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมะห์ตามวิถีอิสลาม (ศพม.) ใน ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และส่งต่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมุสลิมะห์เข้าถึงการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสภาพจิตใจ ให้รู้คุณค่าและรักตนเองมากขึ้น

สสส. สานพลัง สสป. หนุนเสริมการจัดบริการทางสังคมโดยภาคประชาสังคมผ่านเครือข่ายรักจังสตูล โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมะห์ตามวิถีอิสลาม (ศพม.) ใน ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และส่งต่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมุสลิมะห์เข้าถึงการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสภาพจิตใจ ให้รู้คุณค่าและรักตนเองมากขึ้น

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. ที่ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมะห์ตามวิถีอิสลาม (ศพม.) ใน ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล คณะกรรมการกำกับทิศทางการลดความรุนแรงบนฐานเพศ และการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และคณะกรรมการกำกับทิศทางงานบูรณาการเครือข่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดบริการทางสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงโดยภาคประชาสังคม ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ฯ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กำนัน คณะกรรมการอิสลาม และอื่น ๆ ร่วมกัน

สสส. สานพลัง สสป. หนุนเสริมการจัดบริการทางสังคมโดยภาคประชาสังคมผ่านเครือข่ายรักจังสตูล โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมะห์ตามวิถีอิสลาม (ศพม.) ใน ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และส่งต่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมุสลิมะห์เข้าถึงการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสภาพจิตใจ ให้รู้คุณค่าและรักตนเองมากขึ้น

คุณภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) มีเป้าหมายการทำงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ ผ่านยุทธศาสต์การทำงาน 5 ด้าน โดยมีด้านพัฒนาศักยภาพภาคีและสานพลังภาคีเครือข่ายเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมาย ผ่านการสนับสนุนการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนผ่านแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและพันธกิจของ สสส. และแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

โดย การทำงานของ สสส. ร่วมกับสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.) มุ่งเน้นในการสร้างเครือข่ายและผลักดันการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมจังหวัด ในประเด็นต่างๆ ที่มีลักษณะข้ามประเด็นหรือข้ามองค์กร โดยเป็นการใช้พื้นที่จังหวัดเป็นที่ตั้งในการดำเนินกิจกรรม มีโครงสร้างการเชื่อมกันเป็นเครือข่ายในระดับจังหวัดที่ชัดเจน มีการร่วมมือกับภาครัฐเพื่อการเข้าถึงการสนับสนุนทรัพยากร ซึ่งภาคประชาสังคมที่เข้ามารวมกันในกลไกจังหวัดนั้น มีทั้งองค์กรที่มีสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจน เช่น สภาองค์กรชุมชน มูลนิธิ สมาคม และองค์กรที่ไม่มีสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจน เช่น องค์กรประชาชน องค์กรแรงงาน เพื่อผลักดันประเด็นการสร้างสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด ผ่านกลไกคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) เพื่อให้เกิดรูปธรรมในการดูแลประชากรกกลุ่มเฉพาะในระดับจังหวัดอย่างชัดเจน พร้อมทั้งผลักดันแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคมมาขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมขององค์กรภาคประชาสังคมให้สามารถพึ่งตนเองได้ในพื้นที่ 10 จังหวัด

สสส. สานพลัง สสป. หนุนเสริมการจัดบริการทางสังคมโดยภาคประชาสังคมผ่านเครือข่ายรักจังสตูล โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมะห์ตามวิถีอิสลาม (ศพม.) ใน ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และส่งต่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมุสลิมะห์เข้าถึงการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสภาพจิตใจ ให้รู้คุณค่าและรักตนเองมากขึ้น

จากการดำเนินงานของ สสส. ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.) และภาคประชาสังคมระดับจังหวัดที่ผ่านมา ได้ค้นพบการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานของจังหวัดที่สำคัญ คือ 1. เกิดพื้นที่กลางของภาคประชาสังคมจังหวัด เพื่อเชื่อมการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม 2. เกิดความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาของจังหวัดร่วมกัน 3. เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานร่วมกับคนรุ่นใหญ่ 4. เกิดแผนยุทธศาสตร์ของภาคประชาสังคมในจังหวัดอย่างเป็นระบบ ในการดูแลประชากรกลุ่มเฉพาะ 5. เกิดการเรียนรู้ประเด็นทางนโยบายในการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม 6. เกิดการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อวางแผนการทำงานให้สอดคล้องกับบริบท ต้นทุน และโอกาสในแต่ละพื้นที่ 7. เกิดการสื่อสาธารณะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะในวงกว้าง ตามประเด็นการทำงานของภาคประชาสังคมในจังหวัด  แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ต่าง ๆ ยังพบความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพยังปรากฎในพื้นที่ อีกทั้งในแต่ละพื้นที่ยังมีกลุ่มประชากรที่หลากหลาย และแตกต่างทางความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม ที่จะต้องใช้วิธีการและกลไกในการจัดการปัญหาที่ต่างกัน ดังนั้น การทำงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ จึงต้องใช้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกัน ภรณีกล่าว

สสส. สานพลัง สสป. หนุนเสริมการจัดบริการทางสังคมโดยภาคประชาสังคมผ่านเครือข่ายรักจังสตูล โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมะห์ตามวิถีอิสลาม (ศพม.) ใน ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และส่งต่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมุสลิมะห์เข้าถึงการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสภาพจิตใจ ให้รู้คุณค่าและรักตนเองมากขึ้น

คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง เครือข่ายรักจังสตูล กล่าวว่า จากข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เปิดเผยสถิติติความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในครอบครัวรอบ 6 ปี (ตั้งแต่ปี 2559-2564) มีแนวโน้มสูงขึ้นรวม 9,396 ราย เฉลี่ยปีละ 1,564 ราย เดือนละ 130 ราย และเฉลี่ยความรุนแรงในครอบครัววันละ 4 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้สารเสพติดที่เพิ่มมากขึ้น และความเครียดทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้ในครอบครัว โดยการกระทำความรุนแรงในครอบครัวของจังหวัดสตูล ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทำความรุนแรงเป็นเพศชายและผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงจะเป็นเพศหญิง โดยในปี 2562 มีผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวจนถึงแก่ชีวิตถึง 6 ราย สาเหตุความรุนแรงในครอบครัว จัดลำดับได้ดังนี้ คือ 1) เมาสุราและจากฤทธิ์ยาเสพติด 2) ความรุนแรงทางเพศ (การข่มขืน) 3) การหึงหวง การนอกใจ 4) การพูดจาดุด่าถูกดูถูกดูแคลน ทำให้เกิดการร่วมตัวขององค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม จังหวัดสตูล ร่วมกันจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมะห์ตามวิถีอิสลาม (ศพม.) เพื่อให้ความช่วยเหลือและส่งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ใน ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งเป็นพื้นที่มีความพร้อมทั้งต้นทุนและศักยภาพในการทำงานของคนในพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนของ สสป. และ สสส.  ปัจจุบันเกิดการจัดตั้งเครือข่ายผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวกว่า 71 คน และให้บริการผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวแล้ว 102 คน (สิงหาคม -ธันวาคม 2567) โดยพบต้นเหตุความรุนแรงมาจากเรื่องยาเสพติด ทำให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจต่อผู้หญิงและคนในครอบครัว ทางศูนย์ฯ จึงติดตาม เฝ้าระวัง และร่วมแก้ไขปัญหาโดยแกนนำอาสาสมัครสตรีมุสลิมในพื้นที่ต่อไป กัลยทรรศน์กล่าว

Shares:
QR Code :
QR Code