ห้องย่อย 7: พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์: วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์

                            เพื่อคุ้มครองสิทธิให้กลุ่มชาติพันธุ์มีความมั่นคงในชีวิต สามารถดำรงวิถีชีวิตตามจารีตประเพณี “พึ่งตนเองได้” บนฐานทุนทางวัฒนธรรม เข้าถึงสิทธิในฐานะพลเมือง ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่กลุ่มชาติพันธุ์ต้องเผชิญและเป็นรากฐานของปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ เวทีเสวนานี้นำเสนอแนวคิดและประสบการณ์ที่ดีของชุมชนเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งกำหนดไว้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเป็นหลักประกันความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

กำหนดการ

Sapphire 206

เวลา กิจกรรม
12.30-13.00 น. เปิดลงทะเบียน
13.00-13.15 น. สสส. กับการขับเคลื่อนการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์
โดย นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ
รองประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 (สสส.)
13.15-13.30 น. พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์
โดย    คุณอภินันท์  ธรรมเสนา
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมเเละนโยบายสาธารณะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
13.30-13.45 น. การแสดงวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์
โดย คุณบัญชา มุเเฮ (ดีปุนุ) เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ บ้านดอยช้างป่าเเป๋ จังหวัดลำพูน
14.00-15.30 น. สถานการณ์และแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์
● ผู้เฒ่าไร้รัฐ: สถานการณ์และความท้าทายด้านสุขภาวะของกลุ่มประชากรไร้รัฐ
โดย คุณเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
● เด็กไร้รัฐ: การเข้าถึงโอกาสและสิทธิในฐานะพลเมือง
โดย คุณอรกัญญา สุขรัตน์ สมาคมสร้างเสริมเด็ก เยาวชนและครอบครัว
● สุขภาวะชาวเล: วิกฤติและโอกาส
โดย คุณไมตรี จงไกรจักร์ มูลนิธิชุมชนไทย
● ชุมชนชาติพันธ์ุ: เศรษฐกิจสีเขียวสู่สุขภาวะสังคม
โดย ผศ.ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
● ชนเผ่าพื้นเมือง: สถานการณ์และข้อเสนอเชิงนโยบาย
โดย คุณศักดา แสนมี่ เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
15.30-15.45 น. พักเบรก
15.45-16.45 น. พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์:
ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน

● รศ.ดร. นฤมล อรุโณทัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● คุณอรวรรณ หาญทะเล ชุมชนมอแกลน บ้านทับตะวัน จังหวัดพังงา
● คุณบัญชา มุแฮ ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านดอยช้างป่าแป๋ จังหวัดลำพูน
● คุณอำพร ปัญญา เยาวชนกะเหรี่ยงโผล่ว บ้านห้วยหินดำ จังหวัดสุพรรณบุรี
● คุณธีระ วงษ์จำเนียง เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านแม่ปอคี จังหวัดตาก
● คุณสุรดา หาญทะเล เยาวชนอูรักลาโวยจฺ เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล
16.45-17.00 น. สรุปสถานการณ์สุขภาวะชาติพันธุ์และข้อเสนอเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิ
และส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

โดย คุณอภินันท์ ธรรมเสนา
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
                           เมืองที่ไม่ทิ้งใคร (Inclusive city) ต่างก็เป็นเมืองที่หลายเมืองใฝ่ฝัน เมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่และบริการทั้งหมดในเมืองได้อย่างสะดวกและไร้รอยต่อ ซึ่งการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครไม่ใช่เรื่องง่าย หลายเมืองไม่รู้จะเริ่มสร้างอย่างไร จะต้องใช้กระบวนการ กลยุทธ์และวางแผนอย่างไรท่ามกลางข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย การจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้จะนำเอาผู้บริหารเมืองและระบบขนส่งสาธารณะมาพูดคุยกันเพื่อนำเอาบทเรียน ประสบการณ์ ปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จในการสร้างเมืองไม่ทิ้งใครมาเล่าสู่กันฟัง สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงให้แนวทางในการพัฒนาแก่เมืองอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาเมืองเพื่อคนทั้งมวล

กำหนดการ

Sapphire 205

เวลา กิจกรรม
12.30-13.30 น. ลงทะเบียน
13.30-14.30 น. สสส.ขับ…ภาคีเคลื่อน: อารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
โดย คุณกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
14.30-15.00 น. นิทรรศการเมืองไม่ทิ้งใครและกิจกรรมนำเข้าสู่การเสวนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
15.00-16.30 น. เสวนาเรื่อง “เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”
  • เมืองดีเด่นด้านการออกแบบเมืองเพื่อคนทั้งมวลของประเทศญี่ปุ่นสร้างได้อย่างไร
    ตัวแทนจากเทศบาลเมือง Akashi ประเทศญี่ปุ่น
  • กรุงเทพ…เมืองท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่ หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร
    ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร
  • ทิศทางและอนาคตการพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง (TOD) ของประเทศไทย
    ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ผู้ดำเนินรายการ: นายสว่าง ศรีสม
    ประธานฝ่ายแผนงานและโครงการ ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
    16.30-17.00 น. เสียงจากเครือข่ายเมืองที่ไม่ทิ้งใคร : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเมืองที่ไม่ทิ้งใคร

    จาก ‘กลุ่มชาติพันธุ์’ถึง ‘คนไร้รัฐ’: ทางออก
    ‘ยอมรับวิถี-ปรับกติกาเอื้อ’ เส้นทางขับเคลื่อนยังอีกยาวไกล

    “ลองคิดดูนะครับ ในพื้นที่ 2 หมื่นกว่าไร่ ถ้ามีการวางกล่องผึ้งประมาณพันกว่ากล่อง หรือว่าเป็นหมื่น ๆ กล่อง มันจะได้ปริมาณมหาศาล แล้วชุมชนแทบไม่ต้องทำแนวกันไฟเลย เพราะแต่ละคนเขาจะหวงแหนพื้นที่ ก็จะรู้สึกว่าป่าส่วนนี้เป็นป่าของฉันจะต้องดูแล มันจะกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่น้อง ๆ ไม่ต้องออกไปไกล เพราะคนที่อยู่ในป่าสนใจประเด็นตรงนี้มาก” – คุณบัญชา มุแฮ

    พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์: วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์

    เรื่องเล่าจาก คุณบัญชา มุแฮ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านดอยช้างป่าแป๋ จ.ลำพูน ในวงพูดคุยเกี่ยวกับพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน: ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 “ห้องย่อย: ชาติพันธุ์กับสิทธิทางวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง หัวข้อ: พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ – วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์” ว่าด้วยการผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมเข้ากับความรู้สมัยใหม่อย่างลงตัว

    หนุ่มปกาเกอะญอแห่งบ้านดอยช้างป่าแป๋ เล่าเรื่อง “การเลี้ยงผึ้งโพรง” ว่า ชาวดอยช้างป่าแป๋ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงมาจาก “บ้านห้วยหินลาดใน จ.เชียงราย” อีกชุมชนหนึ่งของชาวปกาเกอะญอ ในด้านการสร้างกล่องแล้วทำอย่างไรจึงจะดึงดูดผึ้งให้เข้ามาทำรัง แล้วนำกล่องนี้ไปตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ในป่า แต่ความพิเศษของการเลี้ยงผึ้งโพรงที่บ้านดอยช้างป่าแป๋คือการใช้ “เทคโนโลยี” เข้ามาช่วย

    โดยกล่องเลี้ยงผึ้งแต่ละกล่องจะมีรหัสของเจ้าของกล่องซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มเลี้ยงผึ้งในชุมชน จุดติดตั้งกล่องมีการระบุชัดเจนในแผนที่ซึ่งสามารถค้นหาได้ผ่านระบบ GPS การเก็บน้ำผึ้งแยกชัดเจนในแต่ละกล่องเพื่อให้ระบุได้ว่าน้ำผึ้งขวดนี้มาจากกล่องเลี้ยงผึ้งของใคร มีการเก็บตัวอย่างมาทดสอบก่อนใส่ลงบรรจุภัณฑ์จำหน่ายโดยดูทั้งสี กลิ่นและรสชาติ มีการให้ข้อมูลผ่าน QR Code ข้างขวด ว่าด้วยเวลาและสถานที่เก็บน้ำผึ้งขวดนั้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ

    คุณบัญชา มุแฮ กล่าวสรุปเรื่องเล่าจากชุมชนของตนอย่างภาคภูมิใจว่า รายได้จากการขายน้ำผึ้งจะถูกหักร้อยละ 10 ของราคาแต่ละขวด เพื่อนำไปเข้ากองทุนการทำแนวกันไฟ อันเป็นภารกิจรักษาป่าของชุมชนบ้านดอยช้างป่าแป๋มาช้านาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน เป็นทางเลือกที่ช่วยลดการละทิ้งบ้านเกิดไปหางานทำภายนอกด้วย

    จากตัวอย่างข้างต้น สอดคล้องกับแนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” ที่นำ “ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)” ภูมิปัญญาที่ชุมชนมาต่อยอดด้วยองค์ความรู้สมัยใหม่ เกิดเป็นสินค้าหรือบริการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ อย่างไรก็ตาม การทำให้สังคมภายนอกยอมรับและเข้าใจวิถีชิวิตกลุ่มชาติพันธุ์โดยเฉพาะต่อรัฐในฐานะผู้กำหนดนโยบาย ยังเป็นประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนกันต่อไป

    พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์: วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์

    โดยในงานเดียวกันยังมีการฉายภาพ “สถานการณ์และแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์” โดย คุณไมตรี จงไกรจักร์ มูลนิธิชุมชนไทย บอกเล่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ “ชาวเล” หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยตามเกาะแก่งต่างหรือตามชายฝั่งจังหวัดชายทะเลทางภาคใต้ของไทย จาก “การพัฒนาเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว” ที่ทำให้ชาวเลไม่สามารถอยู่อาศัยหรือทำมาหากินได้ตามวิถีชีวิตดั้งเดิม เช่น กรณีของเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ที่ภาคธุรกิจเอกชนอ้างกรรมสิทธิ์ที่ดินสร้างรั้วปิดกั้นทางสัญจรของชาวเล ไม่ต่างจาก เกาะพีพี จ.กระบี่ ที่การไปโรงเรียนของเด็ก ๆ จะต้องเดินผ่านชายหาดและมุดรั้วโรงแรม หรือที่รุนแรงมากคือกรณีชาวเลราไวย์ จ.ภูเก็ต มีการระดมอันธพาลเข้าทำร้ายร่างกายและขับไล่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ หรือที่หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ในฤดูการท่องเที่ยว (High Season) ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบพื้นที่จะมีคำสั่งห้ามกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลออกไปจับสัตว์น้ำ

    “ราชการเขาเรียกว่าชาวไทยใหม่ วิธีคิดคือพวกมาใหม่เพิ่งมาบุกรุกยึดพื้นที่อยู่ ราชการปักป้ายแบบนี้เพื่อที่จะบอกว่าเพิ่งมาใหม่อย่าเพิ่งมีอะไรมาก แต่พอเราไปเที่ยวเกาะลันตา ที่กลางเกาะเขียนว่าเกาะลันตาเป็นเมืองหลวงของชาวอูรักลาโว้ยมาแล้วกว่า 500 ปี ตกลงใหม่หรือเก่า? บันทึกศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เขียนว่ามนุษย์กลุ่มแรกที่อาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต คือชาวอูรักลาโว้ย ตกลงทำไมไปปักป้ายชุมชนไทยใหม่ที่ราไวย์? ตกลงใครใหม่? ตกลงชาวไทยใหม่หรือชาวไทยเก่า?” คุณไมตรี จงไกรจักร์ กล่าว

    คุณศักดา แสนมี่ เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสิทธิการอยู่อาศัยและทำมาหากิน ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ได้รับผลกระทบรุนแรงมาก เช่น การไล่รื้อชุมชนตั้งแต่ในป่าจนถึงตามชายทะเลและเกาะแก่งต่าง ๆ อาทิ ชาวเกาะหลีเป๊ะ ชาวบางกลอย นำไปสู่ความพยายามผลักดันกฎหมาย เช่น (ร่าง) พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (ร่าง) พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเป็นเรื่องที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ชุดปัจจุบันไม่น่าจะพิจารณาได้ทัน คงต้องรอความหวังจาก ส.ส. และรัฐบาลชุดต่อไปหลังการเลือกตั้ง

    “สถานะบุคคล” ก็เป็นอีกปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีวิทยากร 2 ท่านที่กล่าวถึงเรื่องนี้ คือ คุณอรกัญญา สุขรัตน์ สมาคมสร้างเสริมเด็ก เยาวชนและครอบครัว ชี้ปัญหา “เด็กไร้รัฐ” แม้ประเทศไทยจะรับรองให้เด็กทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตามเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเสมอภาค ซึ่งการศึกษานี้ยังเป็นช่องทางให้เด็กไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ ได้รับการระบุตัวตนในฐานข้อมูลบุคคลของรัฐไทยด้วยและจะนำไปสู่สิทธิด้านสุขภาพต่อไป แต่ในทางปฏิบัติมีเด็กไร้รัฐจำนวนไม่น้อยเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา เช่น เด็กพิการ ลูกหลานที่เป็นผู้ติดตามพ่อแม่ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ โดยเด็กไร้รัฐนั้นก็มีพ่อแม่ที่มีปัญหาสถานะบุคคลเช่นกัน

    พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์: วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์

    คุณเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงปัญหา “ผู้สูงอายุไร้รัฐ” มีทั้งผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในประเทศไทย แต่รัฐสำรวจและบันทึกข้อมูลผิดพลาด เช่น เคยมีกรณีกรมประชาสงเคราะห์สำรวจชาวเขาเผ่าลีซอ ใน จ.เชียงราย ระบุว่าเกิดในประเทศไทย แต่กรมการปกครองที่มาสำรวจในภายหลังระบุว่าเกิดนอกประเทศไทย หลังตรวจสอบหลักฐานแล้วก็มีการแก้ไขให้ถูกต้อง หรืออีกแนวทางหนึ่งคือการทำประชาคมหมู่บ้าน ภายใต้การบูรณาการของ 4 หน่วยงานคือ กรมการปกครอง กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ปลัดอำเภอที่เป็นหัวหน้าฝ่ายทะเบียน และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

    แต่ที่ยุ่งยากกว่าคือ ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทยแต่อยู่อาศัยในไทยยาวนานตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ได้รับการรับรองสถานะพลเมืองไทย แม้ตามกฎหมายจะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์เพื่อแปลงสัญชาติได้ แต่กระบวนการพิสูจน์นั้นล่าช้ามาก จากที่เคยรวบรวมสถิติไว้ เร็วที่สุดคือ 730 วัน หรือหลายคนยื่นไป 10 ปีแล้ว แต่ก็ไม่คืบหน้า อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา กระทรวงมหาดไทย ได้ตัดขั้นตอนที่ยุ่งยากไป 3 ข้อ ได้แก่ 1. ต้องมีรายได้อย่างน้อยเดือนละ 2 หมื่นบาท 2. การตรวจสอบและรับรองความประพฤติจาก 5 หน่วยงาน และ 3. ทักษะการใช้ภาษาไทยกลาง ก็ทำให้ระยะเวลาลดลงเหลือเพียง 2 ปีได้

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2562 ผู้แทนไทยคือเอกอัครราชทูตถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ได้ให้คำมั่นซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทย ที่จะแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยมีอยู่ 7 ข้อ เช่น การปรับกลไกระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิ์ในสัญชาติได้เข้าถึงสิทธิ์นั้น การคุ้มครองทางสังคมให้กับคนที่ยังอยู่ในกระบวนการเสนอขอมีสัญชาติไทย การเร่งรัดแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุไร้รัฐไร้สัญชาติ แต่คำมั่นเหล่านั้นปัจจุบันยังว่างเปล่า ไม่มีการขับเคลื่อนให้เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติแต่อย่างใด

    “คำมั่นของผู้แทนไทย 7 ข้อนี้ จะต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ มิฉะนั้นผู้แทนไทยก็จะไปพูดลอย ๆ เหมือนโกหกคำใหญ่ในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีผู้แทนทั่วโลกมา” คุณเตือนใจ ดีเทศน์ กล่าว

    พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์: วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์

    บทความ: งานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2566
    โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

    ความคิดเห็น ข้อมูลและบทสรุปที่นำเสนอในห้องย่อย ถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของเครือข่ายในห้องย่อยเท่านั้น
    ทั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำไปเสนอเชิงนโยบายต่อไป

    Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to documentation.


    ดาวน์โหลด
    Shares:
    QR Code :
    QR Code

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    ระบุข้อความ