แรงงานต่างด้าว ในช่วงโควิดทำอย่างไรให้เศรษฐกิจดำรงอยู่ได้แบบมีมนุษยธรรม
แรงงานต่างด้าว ในช่วงโควิดทำอย่างไรให้เศรษฐกิจดำรงอยู่ได้แบบมีมนุษยธรรม
.
หลัง ๆ มานี้ เราได้ยินคำว่า “ทุนนิยมที่มีหัวใจ” ซึ่งเป็นคำของคุณสฤณี อาชาวนันทกุล ที่มักจะพูดถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด นั้นเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่เราจะได้วัดมาตรฐานของความ “มีหัวใจ” ของตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อทุกคนกระเสือกระสนดิ้นรน กลุ่มหนึ่งที่มักจะถูกมองว่าเป็นภาระทั้งที่ในยามปกติคือเครื่องจักรเศรษฐกิจที่สำคัญก็คือ “แรงงานต่างด้าว”
.
ในการระบาดระลอกที่ 2 ที่บริหารแพปลาแพกุ้งย่านมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้างนั้น ถูกนำเสนออย่างตีตราว่าเป็นผู้ร้ายในการพื้นที่ดังกล่าวให้กลายเป็นสีแดง มีการล้อมรั้วลวดหน้าและกักบริเวณที่พำนัก สํานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จําแนกแรงงานข้ามชาติใน ประเทศไทย ณ เดือนมีนาคม 2564 มีการประเมินคร่าวๆว่าถ้าหากนับรวมแรงงานที่เข้ามาถูกกฎหมายและลักลอบเข้าเมืองรวมแล้วทั้งสิ้น 3,586,524 คน หรือถ้าให้คิดภาพง่ายๆคือมีประชากรมากกว่าหลายๆจังหวัดในประเทศไทยที่มีประชากรรวมไม่ถึง 1 ล้านคน
.
นับตั้งแต่ปี 2560-2563 สํานักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย เข้าไปร่วมผลักดันสิทธิในการเข้าถึงด้านสาธารณสุขผลสําคัญจากการทํางานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ประชากรข้ามชาติเข้าถึงสิทธิในการบริการสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ทั้งนี้อ้างอิงจากจากฐานของประชากรในกลุ่มที่ประสบปัญหาอย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์และแนวโน้มการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลกระทบหลากหลายมิติ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมเหล่านี้ทําให้จําเป็นต้องประเมินทิศทางสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น
.
กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แถลงข้อมูลเมื่อเมษายน 2565 โดย นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ประธานคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติเปิดเผยว่า ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีการบัญญัติไว้ชัดเจนถึงสิทธิของคนด้อยโอกาสในสังคมและกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความจำเพาะในเรื่องสุขภาพ ต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม จึงเป็นที่มาของการพัฒนานโยบายสาธารณะ ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เพื่อการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงานข้ามชาติในครั้งนี้
.
ชาญเชาวน์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่คณะทำงานได้จัดประชุมกับหลายภาคส่วนเพื่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับนี้ เวทีวันนี้จะเป็นอีกครั้งสำคัญของการรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อปรับปรุงร่าง ก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ซึ่งเตรียมจัดขึ้นในช่วงเดือน มิ.ย. 2565 เพื่อที่ทุกภาคส่วนจะร่วมให้ฉันทมติออกมาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบพร้อมเดินหน้าสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป
.
ชลนภา อนุกูล มูลนิธิเครือข่ายเพื่อสังคมที่เป็นธรรมกล่าวว่า แรงงานข้ามชาติมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยปัจจุบันมีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเข้ามาคิดเป็น 10% ของประชากรแรงงานในไทย ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในอาเซียน แต่ที่ผ่านมาแรงงานข้ามชาติกับต้องพบเจอกับข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ อย่างเช่นหลักประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ ที่ไม่ได้จัดให้ตามระดับการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงาน
.
เพราะสำหรับการนับถอยหลังสู่การเป็นโรคประจำถิ่นของโควิดในประเทศไทย ย่อมแปลว่าระบบสาธารณสุขไทยนั้นต้องพร้อมรักษาตามสิทธิ์ อันรวมไปถึงสิทธิ์ที่แรงงานต่างด้าวควรได้รับอย่างเหมาะสมเช่นกัน ในฐานะที่เขาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของสังคมไทย
.
#แรงงานต่างด้าว #โควิด #สาธารณสุข
เเหล่งที่มา https://www.facebook.com/curiouspeople.me