แตกต่างอย่างเข้าใจ ชีวิตนักเรียนมุสลิมในโรงเรียนพุทธเป็นอย่างไร?

แตกต่างอย่างเข้าใจ ชีวิตนักเรียนมุสลิมในโรงเรียนพุทธเป็นอย่างไร?

แตกต่างอย่างเข้าใจ ชีวิตนักเรียนมุสลิมในโรงเรียนพุทธเป็นอย่างไร?

.
16 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นวันมาฆบูชา หากพูดถึงความสำคัญของวันมาฆบูชาหลายคนคงทราบดี การยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา มีพระสงฆ์ 1,250รูปมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย นั่นคือเรื่องที่เราท่องจำกันตั้งแต่วัยเยาว์และยังถือว่าเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย
.
เพียงแต่ว่าในสังคมไทยนั้นมีความหลากหลายทางเชื้อชาติศาสนา ชาวมุสลิมบางส่วนจึงต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนวัด มีผลสำรวจจาก “กลุ่มนิสิตนักศึกษา”กลุ่มทำวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ พบว่าโรงเรียนมัธยมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งหมด 58 โรงเรียน พบว่า มีโรงเรียนที่บังคับให้นักเรียนเข้าแถวและสวดมนต์ตอนเช้าทั้งหมดร้อยละ 98 ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายธรรมะ หรือค่ายอบรมจิตใจตามศาสนาของโรงเรียน (ทั้งบังคับเข้า และให้ตามความสมัครใจ) ทั้งหมดร้อยละ 65 มีการบังคับให้นั่งสมาธิร้อยละ 63 มีการสอบปฏิบัติ เช่น การสอบนักธรรม สอบสวดมนต์ สอบกราบพระ อีกร้อยละ 39 และยังมีโรงเรียนที่บังคับให้นักเรียนร่วมพิธีกรรมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะอีกร้อยละ 19 นอกจากนี้ยังพบว่า ในห้องเรียนหนึ่งๆ มักมีนักเรียนที่ไม่นับถือศาสนาพุทธอยู่ราวร้อยละ 10
.
จำนวนร้อยละ 10 ในห้องเรียนที่ไม่ได้เป็นนักเรียนพุทธถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อย กลุ่มนักเรียนเหล่านั้นจะต้องเรียนวิชาพุทธศาสนาซึ่งเป็นวิชาบังคับเลือกด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีวิธีแก้ไขแตกต่างกันในบางโรงเรียนที่มีการสอบท่องสวดมนต์ ใช้วิธีการคัดลายมือแทน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นทางออกที่ถูกต้องไปทั้งหมด อีกทั้งวันสำคัญทางศาสนาของอิสลามมักจะไปอยู่ เช่น “เทศกาลถือศีลอด” นั้นมักจะอยู่ใกล้กับการสอบปลายภาคเรียนที่ 1 รวมไปถึงวันฉลองปีใหม่ของศาสนาอิสลามก็เป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ไม่สามารถร่วมประกอบกิจการทางศาสนากับครอบครัวได้เช่นกัน
.
ปีที่ผ่านมาได้มีการประกาศจังหวัดสงขลา แจ้งวันหยุดราชการ “วันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา” (วันรายอฮัจยี) ประจำปี พ.ศ.2564 พร้อมขอให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจของสำนักจุฬาราชมนตรี ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นประกาศระดับท้องถิ่น หรือในจังหวัดชายแดนใต้ก็มีการประกาศเป็นวันหยุดเช่นกัน โดยไม่นับวันลา ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมเคยออกประกาศคำสั่งอนุมัติให้ทหารกองประจำการที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีความประสงค์จะไปประกอบศาสนกิจในวันอีฎิ้ลฟิตริ ได้หยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 5 วัน ตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าที่น่าสนใจ
.
เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมาเกิดเหตุมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ไม่อนุญาตให้นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์สวมฮิญาบในการเข้าศึกษาได้ จนนักศึกษาต้องออกมาเรียกร้องกับคณะกรรมาธิการกฎหมาย เพราะกฎของมหาวิทยาลยัยระบุเพียงว่านักศึกษาจะต้องสวมเสื้อแขนสั้นเท่านั้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวถูกอภิปรายโดย แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.มุสลิม โดยได้มีการเชิญตัวแทนมหาวิทยาลัยมาชี้แจงเช่นกัน
.
ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ ในการถือศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มาตรา 50(6) บุคคลมีหน้าที่เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม จึงขอให้ทางกรรมาธิการช่วยตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้นด้วย
.
ศาสนานั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราไม่สามารถตัดเสื้อชุดเดียวให้กับคนทั้งสังคมได้เหมือนๆกัน ต้องมีบางอย่างที่ปรับให้เหมาะสมกับเงื่อนไขที่แตกต่างด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ เข้าใจความแตกต่าง อยู่อย่างสมานฉันท์ และเห็นคุณค่าของกันและกัน
.
#มุสลิม    #ศาสนาอิสลาม

.

เเหล่งที่มา      https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code