เมื่อความรุนแรงในครัวเรือน พุ่งสูงขึ้นเพราะ “โควิด”

เมื่อความรุนแรงในครัวเรือน พุ่งสูงขึ้นเพราะ “โควิด”

เมื่อความรุนแรงในครัวเรือน พุ่งสูงขึ้นเพราะ “โควิด”

.
เพิ่งผ่านวันครอบครัว ไปเมื่อวันสงกรานต์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวนั้นได้แสดงความรักความเอื้ออาทรต่อกัน เพราะโครงสร้างทางสังคมที่ดี ย่อมเกิดมาจากโครงสร้างของครอบครัวที่ดีเช่นกัน แต่ “บ้าน”นั้นไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน และทุกครอบครัวก็ไม่ได้อบอุ่นเหมือนกับภาพในโฆษณาหมู๋บ้านจัดสรร “ความรุนแรงในครัวเรือน” เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง
.
และเชื่อไหมว่าปัญหาของการระบาดของ โควิด – 19 ไม่ได้สร้างผลกระทบแค่ในเชิงสุขภาพและเชิงเศรษฐกิจ แต่ยังกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้นด้วย เรื่องนี้ จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลซึ่งทำงานเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมทั้งช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างยั่งยืน และทำงานร่วมกับ สสส. ได้มีการเก็บข้อมูลปัญหาดังกล่าวในช่วงโควิด และมีสถิติที่น่าตกใจ
.
ในช่วงล็อกดาวน์ทางมูลนิธิฯ รับเคสเพิ่มขึ้นประมาณ 20% เมื่อก่อนเรารับเคสอาทิตย์หนึ่งไม่เยอะมาก ประมาณเคสหรือสองเคส แต่พอมาช่วงล็อกดาวน์รับเพิ่มขึ้นเป็น 10 เคสต่ออาทิตย์ กระโดดไปค่อนข้างสูง เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งเพิ่มขึ้น 20% ซึ่งเป็นภาวะลูกโซ่จากปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจากแต่เดิมหลายครอบครัวฝ่ายชายจะออกไปทำงานนอกบ้านและพอมาอยู่ในสภาพที่ผู้ชายปรับตัวอยู่กับบ้านไม่ได้ มีปัญหาความขัดแย้ง แทนที่จะช่วยกันทำงานบ้านหรือว่าช่วยกันหาทางออก
.
ปัญหาโครงสร้างเชิงอำนาจในครอบครัวเป็นปัญหาใหญ่ความรุนแรงในครอบครัวที่พูดถึงไม่ใช่แค่การทารุณกรรมทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการละเมิดทางเพศ จิตใจ อารมณ์ แต่บางครั้งถูกละเลยด้วยเห็นว่าเป็น “เรื่องส่วนตัวภายในครอบครัวคนอื่น ไม่ควรเข้าไปยุ่ง” แต่แท้จริงแล้วคงามรุนแรงในครัวเรือนสามารถขยายขอบเขตกลายเป็นความรุนแรงในชุมชน และความรุนแรงในสังคมได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขที่ทันท่วงที
.
ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวา สถิติความรุนแรงในครอบครัวระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – กรกฎาคม 2564อันเป็นช่วงระบาดของโควิด ระลอกที่ 1 – 3 มีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 1,837 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 81 แบ่งเป็นความสัมพันธ์สามี-ภรรยาร้อยละ 44 วัยกลางคน 36-59 ปี ร้อยละ 33 และไม่มีการดำเนินคดีสูงถึงร้อยละ 76
.
ปัญหาที่ชัดเจนก็คือ “บ้าน” ในหลายครั้งไม่ได้ถูกออกแบบให้อยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนหน้านี้แต่ละคนอาจจะมีภาระหน้าที่แตกต่างกัน พ่อแม่ออกไปทำงาน และลูกออกไปเรียน เพียงแต่โควิดเป็นภาวะบีบบังคับที่ต้องทำให้ทุกคนต้องกักตัวอยู่กับที่บ้าน และบ้านทุกครอบครัวไม่ได้มีการแบ่งพื้นที่ภายในบ้านอย่างชัดเจนหรือเป็นส่วนตัว บ้านในชุมชนแออัดหลายที่มีห้องเดียวที่สมาชิกในครอบครัวต้องมาทำกิจกรรมร่วมกัน และย่อมเกิดผลในการกระทบกระทั่งกัน
.
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส.ร่วมกับ บริษัท เจ.วอลเตอร์ธอมสัน ประเทศไทย ยังเคยออกแคมเปญแก้ปัญหาความรุนแรงในครัวเรือน “บ้านไม่ใช่เวทีมวย’ เพื่อหยุดทำร้ายผู้หญิงซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ชมสื่อและเวทีโฆษณาระดับโลก อีกกลุ่มหนึ่งที่จะต้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหาก็คือ “หน่วยงานรัฐ” ที่จะต้องทำความเข้าใจว่าความรุนแรงในครัวเรือนไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัว อุปสรรคมีตั้งแต่เรื่องการแจ้งความ เรื่องทัศนคติที่ว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ไกล่เกลี่ยกันได้ ต้องมองว่าจะยื่นมือเข้าไปแก้ไขเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร
.
เราไม่รู้ว่าสังคมไทยจะอยู่กับภาวะโควิดไปอีกนานแค่ไหน แต่ปัญหาความรุนแรงในครัวเรือนควรถูกแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด ก่อนที่สถาบันครอบครัวจะล่มสลายไป
.
#ความรุนแรงในครัวเรือน    #โควิด19

 

เเหล่งที่มา       https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ