เพิ่มศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตให้คนไร้บ้านด้วย “แชร์ค่าเช่า”

เพิ่มศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตให้คนไร้บ้านด้วย “แชร์ค่าเช่า”

เพิ่มศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตให้คนไร้บ้านด้วย “แชร์ค่าเช่า”

.
ในยุคการระบาดของ โควิด-19 สังคมไทยเกิด “คนไร้บ้าน” หน้าใหม่จำนวนมากจากผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของการระบาดในระลอกต่าง ๆ และไม่รู้ว่าการระบาดจะสิ้นสุดในช่วงเวลาใดหลังจากกินระยะเวลามากว่า 2 ปี ซึ่งสิ่งที่ถูกลดทอนลงไปเมื่อคุณกลายเป็นคนไร้บ้านก็คือ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “คุณภาพชีวิต”
.
เรื่องดังกล่าว ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. จึงเป็นที่มาของแผนงานนำร่อง “นวัตกรรมการจัดบริการที่อยู่อาศัยและความช่วยเหลือฉุกเฉินบนฐานการมีส่วนร่วมของคนไร้บ้าน” ในรูปแบบที่อาจเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า เป็นการช่วย “แชร์” ค่าเช่าที่อยู่อาศัยให้คนไร้บ้านได้มีบ้าน คล้าย ๆ โครงการ “คนละครึ่ง” ของรัฐบาล ถ้าให้เห้นภาพชัด ๆ ก็คือ หากคนไร้บ้านต้องการที่พำนักอาศัย ทางโครงการก็พร้อมจะร่วมหารค่าเช่าให้เพื่อที่จะทำให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
.
คำถามที่ว่าแล้วเหตุใดคนไร้บ้านถึงอยากจะมาเสียค่าเช่าบ้านในเมื่อสามารถพำนักพักพิงในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ  อนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดแผนงานพัฒนาองค์ความรู้ฯ สุขภาวะคนไร้บ้าน ให้ความเห็นว่าโครงการนี้เหมาะกับคนไร้บ้านหน้าใหม่ที่เพิ่งอยู่ในสถานะดังกล่าวไม่ถึง 10 ปี ยังไม่ได้รับความเสี่ยงจากการใช้ชีวิตสาธารณะจากการไร้บ้าน เพราะหากยิ่งอยู่ไร้บ้านมานาน มีผลศึกษาทางวิชาการว่ามีความจำเป็นที่ต้องฟื้นฟูในเรื่องอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะสุขภาพทางจิต
.
คำว่า “ตั้งตัวได้” จึงเหมือนเป็นความหมายสำคัญสำหรับโครงการนี้ เพราะความเชื่อมั่นว่าคนไร้บ้านหน้าใหม่หลายๆ คน อยากที่จะตั้งตัวได้เพื่อที่จะกลับไปมีแหล่งพำนักอาศัยอีกครั้ง เพราะการมีที่พำนักเป็นหลักแหล่งจะตามมาด้วยความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สุขอนามัยต่าง ๆ และโอกาสยกระดับคุณภาพชีวิตต่อไป เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายหน่วยงานมองตรงกัน
.
“สสส.สนับสนุนตรงไปที่ภาคประชาสังคม หรือเอ็นจีโอ ซึ่งทำงานเชิงลึก เป็นทางเลือกให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่เข้าไปหนุนเสริมระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน การมีคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาตรการเดิมอาจไม่เพียงพอ จึงพยายามทบทวน ค้นหาวิธีการทั้งจากโมเดลต่างประเทศ และประเมินความเป็นไปได้ในไทย” ภรณีอธิบายต่อไปว่าที่พักดังกล่าว แม้ราคาไม่สูงแต่ด้วยความไม่แน่นอนของรายได้ คนกลุ่มนี้จึงไม่สามารถจ่ายได้เองอย่างต่อเนื่อง
.
สำหรับรายละเอียดของโครงการนั้นบการแชร์ค่าที่อยู่อาศัยระหว่างภาครัฐ สสส. และคนไร้บ้าน การสมทบค่าที่อยู่อาศัยก็ถูกพูดคุยปรับรายละเอียดเยอะ ในตอนแรกอาจพูดเพียงแค่ 50-50 ก่อน แต่ในภายหลังขยับเป็น 60-60 คือ สสส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจ่าย 60 เปอร์เซ็นต์ให้คนไร้บ้าน ส่วนที่เกินจาก 100 ไป คือ 20 เปอร์เซ็นต์ เราจะนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อขยายโอกาสในการทำที่อยู่อาศัยให้คนไร้บ้านคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าโครงการในเฟสแรก และเข้าไปนำเงินนี้ไปใช้ในกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้โอกาสด้านอาชีพต่อยอดเรื่องอื่น ๆ ด้วย จึงต้องมีกองทุนคนไร้บ้านให้เขาบริหารจัดการกันเองอีก 20 เปอร์เซ็นต์
.
สำหรับกลุ่มเปราะบางอย่างคนไร้บ้าน ได้มีโครงการนำร่องโดย สมพร หารพรม จากมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยซึ่งเล่าลงลึกในรายละเอียดว่า โมเดลนี้ยังอยู่ในช่วงการนำร่องที่จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบเพื่อผลักดันเป็นนโยบายในอนาคต โดยมีผู้ร่วมโครงการในขณะนี้ 18 ราย 11 ห้องพัก ทั้งแบบอยู่คนเดียว และเป็นครอบครัว ซึ่งอยู่ในทำเลละแวกใจกลางเมือง หัวลำโพง – คลองผดุงกรุงเกษม
.
ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้าว่าในพื้นที่อื่น ๆ จะสามารถขยายโครงการไปยังที่ใดต่อไป เพราะ “แชร์ค่าเช่า” ถือเป็นโอกาสในการคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมได้ยั่งยืน
.
#แชร์ค่าเช่า      #คนไร้บ้าน

.

เเหล่งที่มา      https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ