วิกฤตโควิด คนไทยกลายเป็น “คนไร้บ้าน”มากขึ้นแค่ไหน?

วิกฤตโควิด คนไทยกลายเป็น "คนไร้บ้าน"มากขึ้นแค่ไหน?

วิกฤตโควิด คนไทยกลายเป็น “คนไร้บ้าน”มากขึ้นแค่ไหน?

.
ยอดคนป่วยจากเชื้อร้าย COVID-19 กลับมาพุ่งสู่ขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา จนถึงกุมภาพันธ์โอมิครอนครองกลุ่มผู้ติดเชื่อในไทยเกิน 90% แทนสายพันธุ์เดลตาที่เคยระบาดไปแล้ว ยอดผู้ติดเชื้อทะลุหลักหมื่นต่อวัน และดูมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในช่วงมีนาคมที่จะถึงนี้
.
บทเรียนจากปี 2564 ที่คนไทยเสียชีวิตจากโควิด ทะลุหลักหมื่น และมีผู้ติดเชื้อทะลุหลักล้าน บอกอะไรเราบ้าง? ในยามวิกฤตนั้นอนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้และประสานยุทธศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะคนไร้บ้านเล่าชีวิตของคนไร้บ้านในช่วงโควิด บอกว่าผลกระทบมีทั้งมิติทั้งเศรษฐกิจและสุขภาพ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีข้อมูลสถิติว่ามีคนไร้บ้านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 เกิดกลุ่มคนไร้บ้านหน้าใหม่มากขึ้น หลายคนเคยเป็นกลุ่มคนที่มีงานทำแต่ไม่มีรายได้เพียงพอจึงเลือกออกมาเป็นคนไร้บ้าน
.
ส่วนกระแสเรื่องความช่วยเหลือเชิงสงเคราะห์การแจกอาหารมีเป็นช่วงๆ ในด้านสุขภาพเครือข่ายที่ได้ทำงานกับหลายองค์กรที่ทำกับกลุ่มคนจนเมืองและคนไร้บ้าน มีมาตรการร่วมกันกับ พม. กลุ่มบริการสาธารณสุข กทม.และสสส. โดยได้เข้าไปทำจุดคัดกรองเพื่ออยากรู้การระบาดของกลุ่มคนไร้บ้าน พอเริ่มมีวัคซีนเข้ามาก็เริ่มมีการวางแผนว่าจะให้คนไร้บ้านเขาถึงวัคซีนได้อย่างไร เช่น ปัญหาการลงทะเบียนผ่านระบบมือถืออาจจะไม่ทั่วถึงสำหรับคนไร้บ้าน ก็เลยต้องเข้าไปลงทะเบียนกรอกข้อมูลให้ เคสที่ประสบความสำเร็จก็คือ คนไร้บ้านในเชียงใหม่เกือบ100%ได้รับวัคซีนแล้ว จากความร่วมมือของหลายๆหน่วยงาน
.
ปัญหาต่อมาก็คือเรื่องการระบุสาธารณะเช่น บัตรประชาชน นั้นไม่ใช่เกิดเฉพาะคนไร้บ้าน แม้กระทั่งคนในชุมชนเองบางคนก็ไม่มี เรื่องนี้ได้ประสานทางสปสช. ให้เข้าไปดูแลคนกลุ่มนี้ ส่วนถ้าคนไร้บ้านที่ติดเชื้อก็จะนำเข้ากระบวนการรักษาปกติไม่ว่าจะเป็น Community Isolation หรือโรงพยาบาลสนามตามปกติ
.
ด้าน อนุกูล ทรายเพชร ผู้อำนวยการกลุ่มเส้นด้าย ปัญหาเบื้องต้นก็คือการสอบถามสิทธิ์การรักษาของคนไร้บ้าน เพราะจะต้องส่งตัวตามสิทธิ์ที่แต่ละคนมีหลายคนมีปัญหาขาดเอกสาร โดยจะส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ไม่ต้องการเอกสารก่อนเพราะอาการแต่ละคนมีความหนักเบาไม่เท่ากัน เช่น พวกเคสสีเขียวก็จะต้องมีเอกสาร ใบยืนยันตัวตนในการส่งรับตัว เพราะโรงพยาบาลต้องใช้เอกสารส่วนนี้ไปเคลมค่ารักษากับภาครัฐหรือสปสช. ถ้าหากไม่มีบางโรงพยาบาลก็อาจจะไม่ค่อยอยากรับเพราะเคลมค่าใช้จ่ายไม่ได้ ช่วงที่พีคที่สุดเส้นด้ายเคยรับต่อวันถึง 3,000 เคส ซึ่งต้องมีการคัดกรองผู้ป่วยตามเคสความเร่งด่วนเขียว เหลือง และแดงเป็นหน้าที่หลักของกลุ่มเส้นด้ายก่อนที่จะส่งตัวไปยังที่ต่างๆ
.
กลุ่มเส้นด้าย เองก็พยายามจะเข้ามาสนับสนุนในส่วนที่ภาครัฐไม่สามารถรองรับได้หมด เพราะคิดว่ากลไกรัฐเองก็ไม่ได้ประเมินมาก่อนว่าเคสการระบาดมันจะมากและเยอะขนาดนี้ คล้ายๆกับเหตุการณ์สึนามิ หรือ น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 อนุกูลเล่าว่าระบบสาธารณสุขหลักบางทีก็รับไม่ไหว หรือนโยบายของภาครัฐเองที่เป็นต้นน้ำของระบบสาธารณสุขก็ไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับตรงนี้ เช่น การประกาศว่าเคสแบบไหนถึงเคลมได้ เคสแบบไหนมีสิทธิ์รักษาฟรี จะเริ่มนับผู้ป่วยจากการตรวจ ATK หรือไม่ แม้กระทั่งการนิยามผู้ติดเชื้อไม่ตรงกัน โดยมองว่าควรจะถอดบทเรียนต่างประเทศมากกว่านี้
.
สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน กลุ่มเส้นด้ายได้เตรียมตัวตั้งแต่ปีใหม่ และได้มีการเตรียมตัวโดยประสานงานไปทางสภากาชาดไทย หรือ สปสช. เพราะมองว่าติดเร็ว ติดง่าย ติดไว ตอนนี้ก็มีการตั้ง “ทีมเหยี่ยว” เป็นทีมกู้ชี้กู้ภัยที่ผ่านการฝึกแล้วในการเข้าไปช่วยเหลือ และมีไรเดอร์ที่เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วที่เดินทางไปswopและจัดส่งยาที่รักษาตามอาการให้กับผู้ป่วย และต้องหวังว่าการระบาดของโอมิครอนที่มีการคาดการณ์ว่ายอดสูงสุดจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้จะผ่านไปได้อย่างที่มีการสูญเสียน้อยที่สุด
.

#คนไร้บ้าน    #COVID19    #กลุ่มเส้นด้าย

.

เเหล่งที่มา        https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ