รู้หรือไม่? “คนใกล้ตัว” คือภัยร้ายอันดับหนึ่งของการคุกคามทางเพศ

รู้หรือไม่? “คนใกล้ตัว” คือภัยร้ายอันดับหนึ่งของการคุกคามทางเพศ

รู้หรือไม่? “คนใกล้ตัว” คือภัยร้ายอันดับหนึ่งของการคุกคามทางเพศ

.
เนื่องในวันที่ 8 มีนาคมนี้เป็น “วันสตรีสากล” เรื่องหนึ่งที่ควรตระหนักก็คือความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะความรุนแรงและการคุกคามทางเพศที่เกิดกับผู้หญิงนั้น คุณทราบไหมว่าส่วนมากมาจากคนใกล้ตัว ที่เหยื่อรู้สึกไว้วางใจ และไม่คิดเลยว่าจะกลายเป็นผู้ลงมือกระทำ มากกว่าคนแปลกหน้าเสียอีก
.
จากการเก็บสถิติของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เมื่อปี 2560 พบว่าผู้กระทำความรุนแรงกว่าครึ่งเป็นคนรู้จักคุ้นเคยหรือบุคคลในครอบครัวกว่า 53% รองลงมาเป็นคนแปลกหน้า ไม่รู้จักกัน 38.2% และคนที่รู้จักกันผ่านโซเชียล 8.8% โดยส่วนมากมักจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือว่าคนที่ทำงานร่วมกัน เนื่องจากมีความไว้ใจเชื่อใจว่าจะไม่ทำอันตรายกับเหยื่อ กรณีที่เป็นคนใกล้ชิดหรือรู้จักคุ้นเคยกระทำ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเภทข่าวข่มขืน และมีหลายกรณีที่อาศัยความไว้ใจเชื่อใจ และล่อลวง ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำให้หวาดผวา ระแวง และกลัว มากที่สุด 26.1% แต่ที่น่าห่วงคือยังถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์เป็นระยะเวลายาวนาน หลายครั้ง 12.8% ถือว่าเป็นสถิติที่น่าเป็นห่วง
.
เรื่องนี้คุณภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. เคยให้ความเห็นไว้ว่า “การแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง จึงไม่ใช่การที่ผู้หญิงต้องปกป้องตนเองได้เท่านั้น แต่ต้องสร้างความเข้าใจและปรับฐานคิดให้ผู้ชายเรียนรู้ในการเคารพ ให้เกียรติ และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้หญิง ในเพศสภาพของความเป็น มนุษย์ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน”
.
สถิติดังกล่าวสอดคล้องกับที่มูลนิธิปวีณา หงสกุลเพื่อเด็กและสตรี เปิดเผยในปี 2563 ถึงปัญหาการข่มขืนมีผู้มาร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือถึง 863 ราย อันดับ 1 ผู้ที่ข่มขืนเป็นคนรู้จัก/แฟน/เพื่อน 340 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 43.26%อันดับ 2 ผู้ที่ข่มขืนเป็นญาติ/คนในครอบครัว/พ่อเลี้ยง 241 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 30.6% และอันดับ 3 ผู้ที่ข่มขืนเป็นคนข้างบ้าน 44 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 5.60% เรียกได้ว่าอันดับ 1-3 ล้วนจะรู้จักเหยื่ออยู่ก่อนแล้วไม่ใช่คนแปลกหน้าแบบที่เราเห็นตามสื่อต่างๆ
.
สิ่งหนึ่งที่คนรอบตัวควรจะให้ความใส่ใจเกี่ยวกับความปลอดภัยก็คือ ต้องคอยเช็กคอยสังเกตอาการว่าเกิดอะไรที่ผิดปกติหรือไม่? โดยเฉพาะภาวะโควิด-19 ที่ทำให้คนต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น และเสี่ยงจากการเกิดการล่วงละเมิดทางเพศจากคนใกล้ตัว ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิง สมาคมเพศวิถีศึกษาพูดถึงผลกระทบจากโควิดว่านอกจากความกังวลเรื่องโรค ปัญหาปากท้องแล้ว ยังมีปัญหาความสัมพันธ์ในบ้านทั้งความเครียด ความไม่เข้าใจกันจนอาจนำไปสู่ความรุนแรงตามมาได้
.
ดังนั้นทาง สสส. จึงมีแคมเปญ”ปักหมุดจุดเผือก” มีประชาชน นิสิต นักศึกษาร่วมรายงานจุดเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการคุกคามทางเพศทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม 611 จุด”เผือก neighborhood หรือทีมเผือกชุมชน” โดย4 วิธีเผือกที่ทำได้ง่ายๆ คือ 1.สังเกตสัญญาณของเพื่อนผ่านทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไอจี ว่ามีการส่งสัญญาณอะไรบางอย่างหรือไม่ แนวโน้มไปในทิศทางไหน ความเครียด ความรุนแรง 2.โทรศัพท์ไปถามไถ่ เริ่มจากเรื่องทั่วๆ ไปก่อนแล้วค่อยเข้าประเด็นเผือกแบบเนียนๆ 3.รับฟัง เมื่ออีกฝ่ายไว้ใจที่จะเล่าให้ฟังแล้ว ยังไม่ต้องกังวลกับการช่วยแก้ปัญหา รับฟังไปก่อน และ 4.ตั้งคำถามชวนคิด ไม่ใช่การแนะนำ เพราะลึกๆ เขามีคำตอบอยู่แล้ว เพียงแต่ยังสับสน ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป
.
เข้าใจว่าเราจำต้องอยู่กับภาวะโควิด-19 อีกยาวนาน ดังนั้นการทำบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยปราศจากการคุกคามทางเพศนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึงถ้าหากเกิดจากคนในครอบครัวก็จะยิ่งเป็นบาดแผลทางจิตใจให้เหยื่อไปตลอดชีวิต เรื่องแบบนี้นอกจากการสร้างจิตสำนึกแล้ว กลไกในการป้องกันสอดส่องยังเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำไปพร้อมกันอีกด้วย

#การล่วงละเมิดทางเพศ    #วันสตรีสากล

.

เเหล่งที่มา       https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ