ทำอย่างไรให้รู้เท่าทัน? เมื่อคนสูงวัยกลายเป็นเหยื่อเฟกนิวส์และมิจฉาชีพออนไลน์

ทำอย่างไรให้รู้เท่าทัน? เมื่อคนสูงวัยกลายเป็นเหยื่อเฟกนิวส์และมิจฉาชีพออนไลน์

ทำอย่างไรให้รู้เท่าทัน? เมื่อคนสูงวัยกลายเป็นเหยื่อเฟกนิวส์และมิจฉาชีพออนไลน์

.
ในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีการปรับตัวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลของกลุ่มผู้สูงวัยมากขึ้น ถึงแม้จะมีประสบการณ์ในผ่านโลกมาอย่างมากมาย แต่สำหรับโลกออนไลน์กลายเป็นสนามใหม่ที่ต้องปรับตัวและทำความเข้าใจ เพราะมีความเร็ว ความลวง และ ความเหลื่อมล้ำในเชิงการเข้าถึงข้อมูลเป็นอย่างมาก ดังนั้นบ่อยครั้งที่คนสูงวัยจะกลายเป็นเหยื่อของเฟคนิวส์และการหลอกลวงบนโลกออนไลน์
.
จากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาพบสถิติที่น่าตกใจ เช่น 11% ของผู้ใช้อายุ 65 ปีขึ้นไป แชร์ข่าวลวงที่บิดเบือนความจริง ในขณะที่ผู้ใช้อายุ 18 – 29 ปี มีเพียง 3% เท่านั้นที่แชร์ข่าวลวง ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่อายุ 65 ปีขึ้นไป แชร์บทความข่าวปลอมมากกว่ากลุ่มคนวัย 45-65 ปี ไม่ต่ำกว่า 2 เท่า และมากกว่ากลุ่มวัย 18-29 ปี ถึง 7 เท่า ซึ่งงานวิจัยยังระบุอีกว่ากลุ่มคนสูงวัยเลือกจะเชื่อข่าวดังกล่าวเพราะมาจากเพื่อนหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ มากกว่าการตรวจทานแหล่งที่มาของข้อมูล
.
เมื่อปี 2564 ได้มีการจัดเวทีเสวนาออนไลน์ “เฟคนิวส์กับผู้สูงอายุ รู้เท่าทันสื่ออย่างปล อดภัย” ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ภาวะสถานการณ์ COVID-19 โดย สสส. ร่วมสนับสนุนกิจรรมดังกล่าว พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ผลิตและผู้ดำเนินรายการชัวร์ก่อนแชร์ ได้ให้ความเห็นว่าในส่วนของผู้สูงอายุ ผลกระทบที่เกิดขึ้น มีทั้งในด้านสุขภาพ ที่นอกจากจะถูกหลอกให้ซื้อผลิตภัณฑ์ในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเสียโอกาสในการรักษาอย่างถูกต้องด้วย อีกทั้งบางข้อมูลที่แชร์ๆต่อนั้นเป็นข้อมูลเก่า เนื่องด้วยสถานการณ์ขณะนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่เข้าใจเจตนาว่าที่ผู้สูงวัยแชร์ต่อเพราะหวังดีต่อคนรอบข้าง
.
ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะมีการแก้ไขได้อย่างไร สสส. มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และภาคี “สูงวัยรู้ทันสื่อ” จึงมาจัดเวทีแลกเปลี่ยนผ่านงานเสวนาออนไลน์ “สูงวัยจะรับมือกับข่าวลวงอย่างไรในช่วงโควิด” โดยมีข้อเสนอว่า โดยมีคาถาสูงวัยรู้ทันโควิดเพื่อให้ผู้สูงอายุนำไปใช้ ได้แก่ หนึ่ง การรู้จักตั้งคำถามกับตัวเอง สอง การไปหาข้อมูลก่อนคือการหาข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ สาม หากเราแชร์จะเดือดร้อนใครหรือไม่
.
โดยจากการประเมินผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสูงวัยรู้ทันโควิดมีความยั้งคิดมากขึ้นตามหลักการสามข้อ จากเมื่อก่อนเจออ่านแค่หัวข้อข่าวก็ส่งต่อเลยทันที แต่เมื่อเข้าโครงการนี้เริ่มทำความเข้าใจมากขึ้น เข้าไปอ่านเนื้อหาก่อนที่จะส่งต่อ รวมถึงวิเคราะห์ว่าที่ส่งต่อมานี้มันใช้เรื่องจริงหรือไม่จริง
.
ปัจจุบันได้มีความพยายามจะนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยเหลือในการแก้ปัญหาข่าวปลอม โดยเมื่อกุมภาพันธ์ 2565 ได้มีการจัดการประกวดนวัตกรรมต่อต้านข่าวปลอมระดับอุดมศึกษา FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic ทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ได้แก่ ทีมบอท เป็นการผสมผสานทีมจากนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีไอเดียสุดเจ๋ง “Check-on” หรือ “เช็คก่อน” ซึ่งพัฒนาเครื่องมือ Extension เมื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอ่านข่าวในเว็บหรือเห็นภาพต่างๆ แล้วสงสัยว่าจริงหรือไม่ ให้คลุมดำที่ข้อความ คลิกขวา จะมีปุ่ม Check หน้าต่างของ Check-On จะขึ้นมาแล้วประมวลผลความน่าเชื่อถือจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ อาทิ Cofact ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ต่อต้านข่าวลวง เป็นต้น
.
ดังนั้นการแก้ปัญหาเฟคนิวส์ในผู้สูงวัยนั้น ต้องทำคู่ขนานกันไปทั้งเรื่องของการปลูกจิตสำนึกเพื่อให้รู้เท่าทัน การปรับพฤติกรรมเพื่อเข้าใจโลกออนไลน์ รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆให้ช่วยตรวจสอบข่าวปลอมด้วย เชื่อว่าถ้าทำได้ทั้งสามด้านปัญหาดังกล่าวจะค่อย ๆ ลดลงไป
.
#FakeNews    #ข่าวปลอม    #สังคมสูงวัย

.

เเหล่งที่มา       https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ