คำว่า “แก่” พูดเบาๆก็เจ็บ รู้จัก Ageism สำคัญอย่างไรถึงขนาด UN ผลักดันเป็นวาระโลก?

คำว่า “แก่” พูดเบาๆก็เจ็บ รู้จัก Ageism สำคัญอย่างไรถึงขนาด UN ผลักดันเป็นวาระโลก?

คำว่า “แก่” พูดเบา ๆ ก็เจ็บ รู้จัก Ageism สำคัญอย่างไร

ถึงขนาด UN ผลักดันเป็นวาระโลก?

.
เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นล้วนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ปี 2565 นี้เป็นปีแรกที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเป็นทางการ นั่นแปลว่าแนวโน้มอัตราเฉลี่ยประชากรสูงวัยของไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อร่างกายเราชราลงสิ่งหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือความไม่สะดวกในการใช้ชีวิต และเมื่อเราไม่สามารถทำอะไรเหมือนสมัยเรี่ยวแรงดี อาจจะทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองนั้นด้อยค่าลงไปได้
.
มิหนำซ้ำการที่เราไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างสมัยพละกำลังยังดี กลายเป็นสิ่งที่ถูกด้อยค่าจากผู้อื่นด้วยยิ่งทำให้รู้สึกแย่ลงทุกวันๆ ซึ่งการ “เหยียดอายุ” มีส่วนทำให้สุขภาพจิตใจแย่ลง มีผลวิจัยจากองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO พบว่าการเหยียดอายุในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แย่ลง เพิ่มภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมและความเหงา คุณภาพชีวิตลดลง และเกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มีการคาดการณ์ว่าทัศนคติเชิงลบนี้เป็นต้นตอของโรคซึมเศร้าในผู้คนราว 6.3 ล้านคนทั่วโลกในกลุ่มผู้สูงวัย
.
แล้วอะไรคือการเหยียดอายุ?(Ageism) สิ่งนี้คือทัศนคติแบบเหมารวม การเลือกปฏิบัติในสังคม และตัดสินด้วยอคติไปแล้วว่าเพราะวัยต่างๆนั้นควรจะมีคุณลักษณะอย่างไร ในกรณีนี้อาจเป็นไปได้ทั้งผู้อาวุโสที่ใช้วัยในการกดทับคนที่อ่อนอาวุโกว่า หรือ คนที่แข็งแรงใช้ทัศนคติกดทับคนชราด้วยมองส่าวัยที่ร่วงโรยลงนั้นเป็นภาระของคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ในออฟฟิศนั้นส่วนมากจะเกิดในกลุ่มคนที่มีอายุมากสุด และกลุ่มคนที่มาอายุน้อยที่สุด
.
แต่ถ้าหากเจาะจงในกลุ่มคนสูงวัย เรามักจะเห็นการล้อเลียนผ่านสื่อต่างๆ เช่น มุกการส่งสติกเกอร์สวัสดีวันจันทร์, การแชร์ข่าวโซดามะนาวรักษาโรคมะเร็งได้ในกลุ่มคนสูงวัย หรือคำด่าต่างๆที่บ่งบอกช่วงวัยที่แฝงไปด้วยอคติ เช่น แก่ก็อยู่ส่วนแก่ทำไมต้องออกมาเกะกะด้วย หรือ ทำไมอายุขนาดนี้ออกมาขับรถขับก็ช้าไม่ยอมไปเข้าวัดเข้าวาสักที เป็นต้น
.
ในกลุ่มผู้สูงวัยโยเฉพาะกลุ่มเบบี้บลูมเมอร์นั้น มักจะเกิดมาในยุคของการสร้างชาติสมัยใหม่ของในแต่ละประเทศ ผ่านยุคที่ยากลำบากหลังจากสงครามโลกครั้งที่2 และ เป็นวัยทำงานในยุคที่โลกอยู่ท่ามกลางสงครามเย็นระหว่างค่ายโลกเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐฯ และโลกสังคมนิยมที่นำโดยสหภาพโซเวียต ลักษณะของคนกลุ่มนี้จึงผ่านยุคที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อที่มีแผนเป้าหมายที่เชื่อกันว่าจะมีความสุขในยามเกษียณอายุ
.
คนคน Gen B คือคนมีอายุประมาณ 60 ขึ้นไป ลักษณะนิสัยจะเป็นคนจริงจัง เคร่งครัดเรื่องขนมธรรมเนียนประเพณี เป็นเจ้าคนนายคน ชีวิตทุ่มเทให้กับการทำงาน มีความอดทนสูง ประหยัดอดออม ซึ่งมักถูกจัดเป็นพวก “อนุรักษนิยม” ดังนั้นเราควรต้องทำความเข้าใจความแตกต่างของช่วงวัย เพื่อที่จะได้เห็นถึงใจเขาใจเรา กลุ่มคนสูงวัยเหล่านี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าเมื่อได้ทำงาน เพราะผ่านยุคที่ทำงานหนัก และจะรู้สึกด้อยค่าเมื่อไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม
.
รายงานจากสหประชาชาติ “The Global report on ageism” ซึ่งเผยแพร่เมื่อ มีนาคม 2021 ระบุว่า เราจะพบคนที่มีทัศนคติแบบเหยียดอายุ (Ageist) ในทุกๆ สองคนบนโลก ซึ่งนั้นนำไปสู่ความถดถอยของสุขภาพกายและสุขภาพใจ และระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทำให้สังคมต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายพันล้านดอลลาร์ในแต่ละปีทั้งเพื่อค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียโอกาสที่ผู้สูงอายุจะยังเป็นแรงงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เราจะเห็นได้จากการที่หลายประเทศเลื่อนอายุการเกษียณ หรือการจัดงานประเภทที่สามารถให้ผู้สูงวัยไปทำงานได้ เช่น พนักงานเก็บค่าทางด่วนในสิงคโปร์ หรืองานอาสาสมัครต่างๆ
.
ทางออกที่ดีที่สุดต่อปัญหาของการเหยียดวัย อาจจะเป็นการเปิดใจให้กว้าง เพื่อทำความเข้าใจในข้อแตกต่าง เพราะ Ageism เป็นอคติ (Bias) อย่างหนึ่งและเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติต่อผู้อื่น ซึ่งถ้าให้เทียบง่ายๆ Ageism ก็คงไม่แตกต่างจากอคติที่มีต่อเชื้อชาติหรือเพศ

#สังคมสูงวัย   #ageism    #การเหยียดวัย

.

เเหล่งที่มา       https://www.facebook.com/curiouspeople.me

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ