อย่าให้ “เพศสภาพ” กลายเป็นสิ่งกีดกันให้คนเข้าถึง “ความยุติธรรม”

อย่าให้ “เพศสภาพ” กลายเป็นสิ่งกีดกันให้คนเข้าถึง “ความยุติธรรม”

อย่าให้ “เพศสภาพ” กลายเป็นสิ่งกีดกันให้คนเข้าถึง “ความยุติธรรม”
.
คุณเชื่อไหมว่า แม้บางครั้งเราตกเป็นเหยื่อ ก็ถูกการเลือกปฏิบัติจากทางเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้าถึงอำนาจความยุติธรรม เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องตลก ในบางครั้งเมื่อเหยื่อความรุนแรงเป็นเพศสภาพผู้หญิงหรือ LGBT มักจะถูกมองด้วยอคติ ว่ามีส่วนให้เกิดเหตุดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นกรณีการทะเลาะวิวาท หรือการล่วงละเมิดทางเพศ เพียงเพราะว่าเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ
.
ดังนั้น ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ประจำประเทศไทย (FES) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดโครงการเสวนา “สร้างเสริมกระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อทุกเพศสภาพ” โดยในเวทีเน้นเรื่องสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เท่าเทียมและปราศจากอคติ
.
เรืองรวี พิชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา (GDRI) พูดถึงหลักการ “กระบวนการยุติธรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความแตกต่างทางเพศสภาพ” ที่เป็นหัวใจสำคัญว่าการประกันว่ากฎหมาย สถาบันความยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม และผลลัพธ์ของความยุติธรรมจะไม่เลือกปฏิบัติกับใครก็ตามบนพื้นฐานของเพศและเพศสภาพ (Gender identities) จำเป็นต้องมีมุมมองในเรื่องของสิทธิมนุษยชน การกำหนดเจตจำนงของตนเอง (Self-determination) ความเสมอภาคทางเพศ (Gender equality) ความอ่อนไหวทางเพศ (Gender sensitive) และสิทธิตามกฎหมายที่เท่าเทียมกันของผู้หญิง ผู้ชายและทุกเพศสภาพ
.
สิ่งที่เรืองรวีชี้ว่าเป็นปัญหาคือการถูกละเมิดทางเพศเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางครั้งในกระบวนการสืบสวนสอบสวนมีการถามหลายๆ ครั้ง หรือ ไม่มีฉากกั้น ต้องเผชิญหน้ากับคู่กรณี หรืออาจถูกข่มขู่ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นก็คือ การออกแบบยุติธรรมที่ทำให้เหยื่อร็สึกปลอดภัยและกล้าพูดข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บหลักฐานที่ควรมีในโรงพยาบาลทุกแห่ง ไม่ต้องวิ่งไปเฉพาะที่ที่มีแพทย์ OSCC ถึงเวลาหรือไม่ต้องมีแพทย์นิติเวช ประจำ 24 ชั่วโมง หรือ มีบ้านพักฉุกเฉิน มีนักสังคมสงเคราะห์คอยดูแลผู้เสียหายและให้คำแนะนำทันที่เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
.
สอดคล้องกับมุมมองของ ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด พูดถึงบทบาทของอัยการในการดำเนินคดีทางเพศไม่ต้องการให้ผู้เสียหายเจ็บช้ำจากการดำเนินคดีที่ล่าช้า เนื่องจากการสอบสวนซ้ำซาก ดังนั้นหากอัยการอยู่ร่วมสอบปากคำได้ตั้งแต่ครั้งแรก นำข้อเท็จจริงมาต่อสู้คดีจนจบกระบวนการ จะช่วยลดการตอกย้ำรอยแผลของผู้เสียหาย เพราะต้องยอมรับว่าบางคดีกว่าจะจับผู้ต้องหาได้อาจใช้เวลาหลายปี การมาให้ปากคำใหม่จะย้ำบาดแผล เพราะผู้เสียหายบางคนอาจก้าวไปต่อแล้ว หรือ มีครอบครัวใหม่แล้ว หากให้กลับมาเล่าถึงเหตุการณ์อีกอาจเกิดความไม่สบายใจเพราะไม่อยากให้คนในครอบครัวรู้
.
เรื่องบาดแผลในทางร่างกายวันเวลาอาจจะทำให้หายไปได้ แต่บาดแผลทางจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ลืมเลือนได้ยากจึงไม่ควรฟื้นฝอยหาตะเข็บ นพ.วิบูลย์ ทองด้วง รองประธานศูนย์ OSCC โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เล่าถึงการรักษาความลับทางการแพทย์ของเหยื่อว่า โรงพยาบาลให้ความสำคัญกับระบบ OSCC เมื่อผู้เสียหายมาถึงโรงพยาบาล ต้องปิดบังชื่อ เวชระเบียนป้องกันการรับรู้ตัวตนจากภายนอก เป็นเรื่องความลับ แต่อย่าทำให้แตกต่างจนผู้ป่วยคนอื่นรู้สึก อย่างไรก็ตามแพทย์ทุกคนสามารถเก็บหลักฐานผู้เสียหายได้ ซึ่งบางเวลาแพทย์นิติเวช ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งแต่ละแผนกประสานร่วมมือกัน
.
ความคิดเห็นเหล่านี้เป็นความคิดเห็นสำคัญไม่ว่าจะมาจากมุมแพทย์ ฝ่ายยุติธรรม และผู้ช่วยเหลือเหยื่อ ที่จะทำให้เหยื่อรู้สึกมีความหวังต่อความยุติธรรมทางสังคม โดยการเลิกตีตราบาปกับเหยื่อ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจเพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ
.
#กระบวนการยุติธรรม  #ความเท่าเทียมทางเพศ

เเหล่งที่มา : Curious People | Facebook

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ระบุข้อความ